กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน เพื่อตำบลสุขภาวะอย่างยั่งยืน
รหัสโครงการ 63-L3032-02-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการมัสยิดประจำตำบลยะรัง
วันที่อนุมัติ 18 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 กรกฎาคม 2563 - 1 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลเล๊าะ เจ๊ะแฮ
พี่เลี้ยงโครงการ นายการียา ยือแร
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานขยะ , แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

นับตั้งแต่ภาครัฐให้มีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นด้วยการจัดตั้งอบต. หรือ องค์การบริหารส่วนตำบล ทำให้ความเปลี่ยนแปลง ต่อการพัฒนาท้องถิ่นเกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในเรื่องของความเจริญต่าง ๆ ซึ่งจากการติดตามผลพบว่าความเจริญในการพัฒนาท้องถิ่นภายใต้การบริหารของอบต. เกิดขึ้นในขอบข่าย 3 ประการ คือ เน้นกิจกรรมพื้นฐาน สาธารณูปโภค และกิจกรรมทางเศรษฐกิจ         ปัจจุบันอบต. มีมากกว่า 6,000 แห่ง ภารกิจของอบต. ตาม พ.ร.บ. การกระจายอำนาจในเรื่องที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้งานของอบต. จึงเป็นงานที่ใกล้ชิดกับชุมชนและคน ในชุมชนมากกว่าหน่วยงานอื่นใดทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้เองงานของอบต. จึงจำเป็นต้องขยายวงกว้างงออกไปให้ครอบคลุมคนในชุมชนอย่างครบวงจรของชีวิต โดยเฉพาะในเรื่องของสุขภาพภาพพลานามัย         เท่าที่ผ่านมามีข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ระบุถึงปัญหาที่ อบต. ไม่สามารถเข้าถึงงานทางด้านสุขภาพอนามัยได้ดีเท่าที่ควรอันเกิดมาจากสาเหตุ 3 ประการ ได้แก่ 1.ประชาชนยังไม่เห็นถึงความสำคัญที่เกี่ยวกับปัญหาด้านสุขภาพ 2.การบริหารจัดการที่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของอบต. ขาดความรู้ความเข้าใจในระบบงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ 3.บุคลากรด้านงานสุขภาพมีจำนวนน้อยและขาดนักวิชาการภายนอกมา เผยแพร่ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพให้กับประชาชนและเจ้าหน้าที่ หนทางในการแก้ปัญหานี้จึงน่าจะอยู่ที่อบต. ควรต้องทำงานร่วมกับองค์กรอื่นด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 720 100,000.00 0 0.00
29 ก.ค. 63 กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจง ตัวแทน คณะกรรมการมัสยิด ผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่ อบต.ยะรัง 30 4,000.00 -
4 ส.ค. 63 กิจกรรมที่ 2 ลงพื้นครั้งที่ 1 ที่เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล และชี้แจงการดำเนินงานในพื้นที่ 120 16,950.00 -
5 ส.ค. 63 กิจกรรมที่ 3 ลงพื้นที่ครั้งที่ 2 เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล การหาปัญหา ความต้องการ ในพื้นที่ กับ คณะกรรมการมัสยิด 120 13,600.00 -
6 ส.ค. 63 กิจกรรมที่ 4 ลงพื้นที่ครั้งที่ ๓ เพื่อการดำเนินการสนับสนุน สรุปผลการดำเนินงานที่ได้รับ และหาแนวทางที่จะ ในพื้นที่ กับ คณะกรรมการมัสยิด 120 13,600.00 -
10 ส.ค. 63 กิจกรรมที่ 5 ลงพื้นที่ชี้แจงสร้างข้อตกลง 300 47,925.00 -
11 ส.ค. 63 กิจกรรมที่ 6 จัดประชุมสรุปโครงการ 30 3,925.00 -
  1. จัดประชุมชี้แจง ตัวแทน คณะกรรมการมัสยิด ผู้นำชุมชน และ จนท.อบต. จำนวน ๓๐ คน ๒. ลงพื้นที่ครั้งที่ ๑ เพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูล และ ชี้แจงการดำเนินงานในพื้นที่ กับ คณะกรรมการมัสยิด ทั้ง ๑๕ คน ทั้ง ๗ มัสยิดที่ขึ้นทะเบียน ร่วมกับ ผู้นำชุมชนในพื้นที่ ๖ คน และเจ้าหน้าที่ อบต. ๙ คน รวม ๑๒๐ คน ๓. ลงพื้นที่ครั้งที่ ๒ เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล การหาปัญหา ความต้องการ ในพื้นที่ กับ คณะกรรมการมัสยิด ทั้ง ๑๕ คน ทั้ง ๗ มัสยิดที่ขึ้นทะเบียน ร่วมกับ ผู้นำชุมชนในพื้นที่ ๖ คน และเจ้าหน้าที่ อบต. ๙ คน รวม ๑๒๐ คน ๔. ลงพื้นที่ครั้งที่ ๓ เพื่อการดำเนินการสนับสนุน สรุปผลการดำเนินงานที่ได้รับ และหาแนวทางที่จะ ในพื้นที่ กับ คณะกรรมการมัสยิด ทั้ง ๑๕ คน ทั้ง ๗ มัสยิดที่ขึ้นทะเบียน ร่วมกับ ผู้นำชุมชนในพื้นที่ ๖ คน และเจ้าหน้าที่ อบต. ๙ คน รวม ๑๒๐ คน ๕. ให้ คณะกรรมการมัสยิด ๑๕ คน ร่วมกับผู้นำชุมชน ๖ คน และ จนท.อบต. มัสยิดละ ๒ คน รวม ๑๔ คน ทำกิจกรรม ทำความเข้าใจในพื้นที่ กับ สัปปบุรุษในพื้นที่ ๒๕ คน ทุกวันศุกร์ สัปดาห์ละ ๑ ครั้ง เป็นระยะเวลา ๔ สัปดาห์ จำนวน ๓๐๐ คน
    ๖. จัดประชุมสรุปโครงการ และ หาแนวทางพัฒนาในครั้งต่อไป ตัวแทน คณะกรรมการมัสยิด ผู้นำชุมชน และ จนท.อบต. จำนวน ๓๐ คน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. คณะกรรมการมัสยิดและผู้นำชุมชน สามารถ เป็นแกนนำ ในการวิเคราะห์ และ หาแนวทางแก้ไขของปัญหาในพื้นที่เองได้ ๒. เกิดความร่วมมือของผู้นำชุมชน คณะกรรมการมัสยิด และ ชุมชน ในการร่วมมือ ร่วมใจ กับการจัดการปัญหาในพื้นที่ของตนเองได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2563 00:00 น.