กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง
วันที่อนุมัติ 17 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 33,710.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กลุ่มดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยุโป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.597,101.283place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

รัฐบาลให้ความสําคัญกับการที่ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และมีนโยบายด้านการดูแลสุขภาพ ผู้สูงอายุทุกกลุ่มมาอย่างต่อเนื่อง โดยพบว่าประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้น จาก 4 ล้านคน (ร้อยละ6.8 ) ในปี 2537 เป็น 10 ล้านคน (ร้อยละ 14.9 ) ในปี 2557 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 20.5 ล้านคน (ร้อยละ 32.1) ในปี 2583 และในปี 2558 กระทรวงสาธารณสุขดําเนินการประเมินคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ จํานวน 6,394,022 คน พบว่าเป็นกลุ่มติดสังคม ประมาณ 5 ล้านคนหรือร้อยละ 79 และเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง กลุ่มติดบ้านติดเตียงจําเป็นต้องสนับสนุนบริการ ด้านสุขภาพและสังคม ประมาณ 1.3ล้านคน หรือร้อยละ 21 ในปี 2559 รัฐบาลได้มุ่งเน้นในการดูแลผู้สูงอายุที่มี ภาวะพึ่งพิง ทั้งกลุ่มติดบ้าน และกลุ่มติดเตียง โดยมีเป้าหมายสําคัญคือทําอย่างไรจะป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุที่ยัง แข็งแรงมีการเจ็บป่วยจนต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิง และทําอย่างไรผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงจะได้รับการดูแลอย่าง เหมาะสม จากจํานวนและสัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นของประเทศไทย ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงด้านระบาดวิทยาของ การเจ็บป่วยของประชาชนจากโรคติดต่อแบบเฉียบพลันเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง นํามาซึ่งภาวะทุพพลภาพ ไม่สามารถ รักษาให้หายขาดได้ ต้องได้รับบริการดูแลแบบต่อเนื่อง ในขณะที่ศักยภาพของครัวเรือนในการดูแลผู้สูงอายุถดถอยลง และจากขนาดครัวเรือนที่เล็ก มีการเคลื่อนย้ายของวัยแรงงานจากชนบทสู่เมือง สตรีมีบทบาทในการทํางานนอกบ้าน มากขึ้น ตลอดถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมจากสังคมชนบทไปสู่สังคมเมืองมากขึ้น โดยหากเปรียบเทียบสัดส่วนของ ประชากรวัยทํางานต่อประชากรวัยสูงอายุ 1 คน ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงสภาพของภาวะพึ่งพิงนั้น พบว่า จากเดิมที่มี ประชากรวัยทํางานจํานวนประมาณ 4.5 คนคอยดูแลประชากรวัยสูงอายุ 1 คน ซึ่งอีกประมาณ 14 ปีข้างหน้า สัดส่วนดังกล่าวจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยคงเหลือประชากรวัยทํางานจํานวนเพียงแค่ 2.5 คนที่ดูแลประชากรวัย สูงอายุ 1 คนส่งผลให้ปัญหาในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ทุพลภาพปรากฏต่อสังคมยิ่งขึ้น ภาพผู้สูงอายุที่นอน ติดเตียงหรือติดบ้านและขาดผู้ดูแล ช่วยเหลือตนเองไม่ได้หรือทําได้จํากัด ภาพผู้สูงอายุสมองเสื่อมถูกทอดทิ้ง ภาพ ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้และต้องอยู่บ้านคนเดียวเพราะลูกหลานต้องออกไปทํางานในช่วงกลางวัน แม้ใน ครอบครัวที่มีผู้ดูแล ก็เป็นภาระของผู้ดูแลไม่น้อย โดยเฉพาะเมื่อผู้สูงอายุได้จากไปแล้วอาจส่งผลต่อการเสียโอกาสใน ด้านต่างๆทางสังคมของผู้ดูแลได้ ขณะที่ระบบบริการสาธารณสุขและบริการด้านสังคมที่ผ่านมา อยู่ในภาวะตั้งรับ สามารถให้บริการแก่กลุ่มผู้มีภาวะพึ่งพิงได้อย่างจํากัด และเป็นในรูปการสงเคราะห์ชั่วครั้งคราว ไม่ต่อเนื่อง ในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนในชุมชนนั้น ผู้ที่สมควรได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จําเป็น คือ ผู้พิการ และ ผู้สูงอายุ ติดบ้านติดเตียง หรือ ผู้ที่อยู่ในระยะจําเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ คือ บุคคลที่ยังไม่ถูกประเมินเป็นผู้ พิการ แต่มีข้อจํากัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจําวัน ซึ่งจําเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูหรือช่วยเหลือให้มี สมรรถภาพด้านสุขภาพ เพื่อให้ข้อจํากัดดังกล่าว ลดลงหรือหมดไป จํานวนผู้สูงอายุ และคนพิการมีอัตราที่เพิ่มขึ้นทุก ปี ด้วยงบประมาณที่มีอยู่จํากัดสําหรับการดําเนินการฟื้นฟูสมรรถภาพให้กับคนใน ชุมชนที่มีความจําเป็น ทําให้ ผู้สูงอายุ และคนพิการจํานวนหนึ่งยังไม่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพที่มีความจําเป็นในสุขภาพ การใช้ชีวิตประจําวัน รวมทั้งด้านสังคมเท่าที่ควร และผู้ดูแลประจําส่วนใหญ่ไม่ได้รับการฝึกทักษะในการดูแลที่ถูกต้อง ไม่มีผู้ดูแลอยู่ประจํา บางครั้งถูกทอดทิ้งอยู่ตามลําพัง จึงทําให้ผู้พิการและผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย เช่น กล้ามเนื้อลีบ ข้อติด แผลกดทับ เป็นต้น จากสภาพปัญหาดังกล่าวชุมชนร่วมกับอาสาสมัครดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ได้เห็นความสำคัญ จึงได้จัดการบริการฟื้นฟูสมรถถภาพผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง และอบรมให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพ เพื่อให้ผู้พิการและผู้ป่วยกลุ่มดงกล่าว ได้รับการดูแลต้อเนื่องจนสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในระดับหนึ่ง หรือในบางนรายอาจจะสามารถกลับมาดำเนินชีวิตประกอบอาชีพโดยตนเองได้ตามศักยภาพ ในที่สุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่่อให้ผู้พิการด้านการเคลื่อนไหวหรือผู้ป่วยติบ้าน ติดเตียง ได้รัลการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพที่ถูกต้อง 2.เพื่่อให้ผู้พิการด้านการเคลื่อนไหวหรือผู้ป่วยติบ้าน ติดเตียง สามารถทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองได้
  1. ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงได้รับการฟื้นฟูสภาพมีระดับพัฒนาการทางด้านร่างกายที่ดีขึ้น 2.ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงได้รับการฟื้นฟูสภาพ สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 30 33,710.00 0 0.00
17 ก.พ. 63 กิจกรรม อบรมให้ความรู้ผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง 30 5,400.00 -
17 ก.พ. 63 2.ฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง 0 28,310.00 -
  1. จัดประชุม ชี้แจงคณะกรรมการ 2. ประเมินและคัดกรองภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุติดบ้าน/ติดเตียง ที่มีปัญหาทางด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว และมีความประสงค์เข้าร่วมโครงการ 3. ฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงโดยทีมอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (CG) และนักกายภาพ 4. ให้ความรู้และสอนเกี่ยวกับการดูแลและช่วยเหลือผู้สูงอายุและผู้พิการติดเตียงแก่ญาติหรือผู้ดูแล 5. จัดทําเตียงเพื่อทํากายภาพผู้ป่วย 6. สรุปผล/รายงานผล/เผยแพร่ผลการดําเนินงานแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงได้รับการฟื้นฟูสภาพจนสามารถทํากิจวัตประจําวันได้ 2. ผู้ดูและผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงได้รับการพัฒนาทักษะเรื่องการดูแลที่ถูกต้อง 3. ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงและผู้ดูแลมีสุขภาพจิตดีขึ้น 4. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการระบบดูแลสุขภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2563 10:16 น.