โครงการรณรงค์และพ่นหมอกควันเพื่อควบคุมป้องกันไข้เลือดออก ตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาสปี ๒๕๖๓
ชื่อโครงการ | โครงการรณรงค์และพ่นหมอกควันเพื่อควบคุมป้องกันไข้เลือดออก ตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาสปี ๒๕๖๓ |
รหัสโครงการ | 63-L2475-1-07 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูมุง |
วันที่อนุมัติ | 17 มิถุนายน 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กรกฎาคม 2563 - 15 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 30,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายเชาวลิต ภู่ทับทิม |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 245 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 350 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 1115 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 117 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ ในแต่ละปีมีผู้ป่วยและตายด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม รัฐบาลจึงได้เล็งเห็นความสำคัญ และได้นำปัญหาโรคไข้เลือดออกมากำหนดออกมาเป็นนโยบายในการดำเนินงาน โดยที่สถานบริการสุขภาพทุกแห่งร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการรณรงค์ให้กำจัดยุงลายทุกๆ ๗ วัน ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุกปีแต่อัตราป่วยก็ยังไม่ลดลงเท่าที่ควร โดยในปีพ.ศ.. ๒๕๖๒ อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกยังคงทวีความรุนแรงเหมือนเดิมสำหรับในตำบลช้างเผือก มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ข้อมูล จากงานระบาดของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส ณ วันที่๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๒จำนวนผู้ป่วยมี …๘…ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ …๑๗๗.๗๘...ต่อแสนประชากร ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานค่อนข้างมาก (เกณฑ์มาตรฐาน ๕๐ ต่อแสนประชากร)ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในตำบลช้างเผือก และในสภาพปัจจุบัน ยังมีแนวโน้มการแพร่ระบาดของไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องจากหลักการและเหตุผลดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูมุง จึงมีแนวคิดที่จะแก้ไขปัญหาเพื่อควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ให้ครอบคลุมทุกหลังคาเรือนและทุกหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูมุง จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์และพ่นหมอกควันเพื่อควบคุมป้องกันไข้เลือดออก ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 ก.ค. 63 - 15 ก.ย. 63 | รณรงค์และพ่นหมอกควันเพื่อควบคุมป้องกันไข้เลือดออก ตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาสปี ๒๕๖๓ | 3340 | 30,000.00 | ✔ | 30,000.00 | |
รวม | 3,340 | 30,000.00 | 1 | 30,000.00 |
ประชุม อสม.และผู้ปฎิบัติงาน ชี้แจงวิธีการพ่นหมอกควัน -พ่นหมอกควัน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ประชาชนและองค์กรในหมู่บ้านให้ความร่วมมือกันในการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ในบ้านและบริเวณบ้านของตนเอง
2.ประชาชนเกิดจิตสำนึกในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในชุมชน
3. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2563 00:00 น.