กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กกำพร้าเด็กด้อยโอกาส สุขภาพใจสุขภาพกายดีชีวีมีสุข
รหัสโครงการ 63-02-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ มัสยิดใหม่นาโต๊ะขุน
วันที่อนุมัติ 9 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 กุมภาพันธ์ 2563 - 15 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2563
งบประมาณ 15,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ มัสยิดใหม่นาโต๊ะขุน
พี่เลี้ยงโครงการ นายสมนึก อาดตันตรา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.855,99.927place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานความปลอดภัยทางถนน , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 มี.ค. 2563 15 ก.ย. 2563 2 มี.ค. 2563 15 ก.ย. 2563 15,050.00
รวมงบประมาณ 15,050.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ได้ให้ความหมายของคำว่า “เด็ก” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรสและคำว่า“เด็กกําพรา” หมายความวา เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไมปรากฏบิดามารดาหรือไมสามารถสืบหาบิดามารดาไดโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 มีหลักการสำคัญคือ การระดมทรัพยากรทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมดูแล ปกป้อง คุ้มครองเด็ก เพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็ก และส่งเสริมหน้าที่ความรับผิดชอบของครอบครัว ชุมชน ภาครัฐ ภาคเอกชน ในการร่วมมือกันคุ้มครองเด็ก โดยในมาตรา 23 กล่าวคือ “ผู้ปกครองต้องให้การอุปการะเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนและพัฒนาเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตนตามสมควรแก่ขนบธรรมเนียมประเพณีและ วัฒนธรรมแห่งท้องถิ่นแต่ทั้งนี้ต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานขั้นต่ำตามที่กำหนดในกฎกระทรวงและต้องคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตนมิให้ตกอยู่ในภาวะอันน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ” โดยเด็กต้องอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนและสังคมนั้นและต้องได้รับการเลี้ยงดูให้มีสุขภาพที่ดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ รวมถึงได้เรียนรู้ด้านจริยธรรม ด้วยสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันของประเทศไทยเกิดการชะลอตัว ค่าครองชีพ เครื่องอุปโภคบริโภคมีราคาสูงรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายทำให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล ไม่มีเวลาดูแลเอาใจใส่ เด็กกำพร้าทำให้เด็กกำพร้าขาดโอกาสในการออกมาทำกิจกรรมในตำบลบางรายอาจเกิดความน้อยใจและถ้าไม่ได้รับการชี้นำแนวทางที่ถูกต้องอาจก่อให้เกิดปัญหาสังคมในภายภาคหน้า กอปรกับอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่๖) พ.ศ.๒๕๔๖ มาตรา ๖๗ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดังนี้ (๖) ส่งเสริมพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และคนพิการ ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเด็กกำพร้าในตำบลให้ดีขึ้นและครอบคลุมทุกพื้นที่ของตำบลคลองมานิงองค์การบริหารส่วนตำบลคลองมานิงจึงได้จัดทำโครงการเด็กกำพร้า สุขภาพใจ สุขภาพกายดี ชีวีมีสุข (3 อ.) ประจำปี พ.ศ.2560เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตและสร้างกำลังใจแก่เด็กกำพร้าส่งผลให้เด็กกำพร้ามีกำลังใจในการดำเนินใช้ชีวิตประจำวันในสังคมต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่ออบรมให้ความรู้แก่เด็กกำพร้าให้มีความรู้เรื่อง “การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาด้านสุขอนามัย ของเด็กกำพร้า”

เด็กกำพร้ามีความรู้เรื่องสุขอนามัย

0.00
2 พื่อสร้างขวัญ กำลังใจให้กับกลุ่มผู้เด็กกำพร้าในตำบลเห็นคุณค่าของชีวิตและพร้อมที่จะดำรงชีวิตต่อไป

เด็กกำพร้ามีขวัญและกำลังใจในการดำเนินชีวิต

0.00
3 ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพ ก่อให้เกิดความปรองดอง สมานสามัคคีในหมู่เด็กกำพร้าผู้ดูแลประชาชนและหน่วยงานที่จัดการฝึกอบรมในตำบล

การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างหน่วยงานฝึกอบรม วิทยากรและผู้เข้ารับการฝึกอบรม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ธีดำเนินการ (บรรยายเพิ่มเติม) เขียนโครงการ / เสนอโครงการ/ ขออนุมัติโครงการ ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ ขอรายชื่อเด็กกำพร้าในตำบลแป-it ประสานงานกับผู้รับผิดชอบงานสวัสดิการผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส เพื่อกำหนดแผนการปฏิบัติงาน ขอรับการสนับสนุนเจ้าหน้าที่จาก ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านติดต่อวิทยากร ดำเนินการตามโครงการ สรุปและรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กกำพร้ามีความรู้เรื่องสุขอนามัยโดยการโภชนาการต่างๆและการออกกำลังกาย 2.เด็กกำพร้ามีความรู้ในการในการปรับตัวเข้ากับสังคม 3.ผู้เด็กกำพร้าในตำบลมีขวัญ กำลังใจและเห็นคุณค่าของชีวิตและพร้อมที่จะดำรงชีวิตต่อไปในสังคมอย่างมีความสุข 4.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในตำบลได้รับรู้และรับทราบถึงปัญหาและความต้องการของผู้พิการ 5. มีการบูรณาการทางความคิดระหว่างหน่วยงานต่างๆ และระหว่างหน่วยงานกับประชาชน เพื่อแก้ไขปัญหาและให้ความช่วยเหลือแก่เด็กกำพร้าและผู้ดูแล 6. ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพ ก่อให้เกิดความปรองดอง สมานสามัคคีในหมู่เด็กกำพร้าผู้ดูแลประชาชนและหน่วยงานที่จัดการฝึกอบรมในตำบ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2563 15:52 น.