กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการประชาชนตำบลบาโงยซิแน ใส่ใจการคุ้มครองผู้บริโภค ปี2563
รหัสโครงการ 63-L4147-02-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. ตำบลบาโงยซิแน
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 45,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรอมียะ ยามิงหม๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6 ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร
40.00
2 ร้านชำในเขตพื้นที่รับผิดชอบได้รับการตรวจ ไม่จำหน่ายยาอันตราย ร้อยละ 80
75.00
3 ร้านชำในเขตพื้นที่รับผิดชอบได้รับการตรวจ ไม่พบสารที่เป็นอันตราย ร้อยละ 90
100.00
4 ร้านชำในเขตพื้นที่รับผิดชอบได้รับการตรวจ ไม่จำหน่ายเครื่องสำอางที่พบสารที่เป็นอันตราย ร้อยละ 80
85.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสถานการณ์การกระจายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่เหมาะสม และการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ถูกต้อง มีการเผยแพร่ในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในร้านชำ พบว่าในบางพื้นที่มีร้านชำจำหน่ายยาอันตรายที่ไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้าน มีการจำหน่ายเครื่องสำอางที่ไม่ผ่านมาตรฐาน มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์หมดอายุ การดำเนินงานด้านส่งแสริมสุขภาพและป้องกันโรค พบว่ากลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคอื่นๆ ในชุมชน มีรายงานการใช้ผลิตภัณฑ์ที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ในชุมชนเป็นจำนวนมาก

จากการสำรวจร้านชำในตำบลบาโงยซิแน ปี 2563 จำนวน 6 หมู่บ้าน มีร้านชำ จำนวน 20 ร้าน พบการจำหน่ายยาที่ไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้าน ยาแก้อักเสบ หรือยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) และยาชุดจำนวน 5 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 25.00 พบจำหน่ายเครื่องสำอางที่ไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 3 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 15.00 พบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์หมดอายุ จำนวน 7 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 35.00 ซึ่งทำให้ประชาชนมีความเสี่ยงและอันตรายจากการใช้ยาทำให้เกิดการดื้อยา เป็นการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผลและเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์

ทั้งนี้ ชุมชนตำบลบาโงยซิแน และโรงพยาบาลส่งเสริมส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงยซิแน จึงได้เสนอแนวคิด “การแก้ไขปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภค โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างยั่งยืน” ขึ้น โดยภาคีเครือข่ายในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดกระบวนการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืนและต่อเนื่อง จึงได้จัดทำโครงการประชาชนตำบลบาโงยซิแน ใส่ใจการคุ้มครองผู้บริโภค ปี 2563

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพของแกนนำ/ผู้ประกอบการ อสม. ประชาชนทั่วไป อย.น้อย ในด้านการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน
  1. แกนนำ/ผู้ประกอบการ อสม. ประชาชนทั่วไป มีความรู้ และนำไปปฏิบัติ ร้อยละ 80

  2. อย.น้อย มีความรู้ และสามารถตรวจโรงอาหารของโรงเรียนได้ ร้อยละ 80

0.00
2 เกิดการเฝ้าระวังและตรวจสอบร้านค้าและร้านจำหน่ายอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพในเขตพื้นที่ให้ได้ตามมาตรฐานสากล

1.ร้านชำในเขตพื้นที่รับผิดชอบได้รับการตรวจ ร้อยละ 100

2.ร้านชำในเขตพื้นที่รับผิดชอบได้รับการตรวจ ไม่พบสารที่เป็นอันตราย ร้อยละ 90

3.ร้านชำในเขตพื้นที่รับผิดชอบได้รับการตรวจ ไม่จำหน่ายยาอันตราย ร้อยละ 80

4.ร้านชำในเขตพื้นที่รับผิดชอบได้รับการตรวจ ไม่จำหน่ายเครื่องสำอางที่พบสารที่เป็นอันตราย ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 45,000.00 0 0.00
??/??/???? อบรมเชิงปฏิบัติการ แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค 0 14,000.00 -
1 เม.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 อบรมเชิงปฏิบัติการ แกนนำนักเรียน 0 14,000.00 -
1 เม.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 รณรงค์ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้โดย จนท./แกนนำ/แกนนำนักเรียน 0 3,000.00 -
1 เม.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 การตรวจร้านชำ ร้านก๋วยเตี๋ยว ร้านขายของสด และร้านขายอาหารประเภททอด 0 8,000.00 -
1 เม.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 มอบเกียรติบัตรและป้ายร้านที่ผ่านเกณฑ์ 0 6,000.00 -

อบรมเชิงปฏิบัติการ แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค
ค่าใช้จ่าย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มมื้อละ 25 บาท 2 มื้อ *50 คน เป็นเงิน 2,500 บาท
- ค่าอาหารอาหารกลางวันผู้เข้ารับการอบรม มื้อละ 70 บาท
1 มื้อ* 50 คน เป็นเงิน 3,500 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท 5ชม. เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าวัสดุและค่าใช้จ่ายในการอบรม (ปากกา สมุด กระเป๋าผ้าใส่เอกสาร ค่าถ่ายเอกสารประกอบการบรรยาย เป็นต้น) เป็นเงิน 5,000 บาท
รวม 14,000 บาท
อบรมเชิงปฏิบัติการ แกนนำนักเรียน
อบรมแกนนำนักเรียน จำนวน 50 คน
ค่าใช้จ่าย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มมื้อละ 25 บาท
2 มื้อ* 50 คน เป็นเงิน 2,500 บาท
- ค่าอาหารอาหารกลางวันผู้เข้ารับการอบรม มื้อละ 70 บาท* 1 มื้อ* 50 คน เป็นเงิน 3,500 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท* 5ชม. เป็นเงิน 3,000 บาท
-ค่าวัสดุและค่าใช้จ่ายในการอบรม (รายละเอียดมี ปากกา สมุด กระเป๋าผ้าใส่เอกสาร ค่าถ่ายเอกสารประกอบการบรรยายเป็นต้น) เป็นเงิน 5,000 บาท
รวม 14,000 บาท
รณรงค์ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้โดย จนท./แกนนำ/อสม./แกนนำนักเรียน
กิจกรรมย่อย จัดทำสื่อความรู้ เพื่อใช้ในการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ เรื่องการเลือกซื้ออาหารปลอดภัย การดูฉลากที่ถูกต้อง
ค่าใช้จ่าย
- ค่าแผ่นพับความรู้จำนวน 300 ชุดๆละ 10 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
การตรวจร้านชำ ร้านก๋วยเตี๋ยว ร้านขายของสด และร้านขายอาหารประเภททอด
ออกตรวจร้านในชุมชน 3 เดือน/ครั้งโดยแกนนำ และ จนท. ดังนี้
- ออกตรวจร้านชำ จำนวน 20 ร้าน
- ออกตรวจแผงลอยจำหน่ายอาหาร จำนวน 7 ร้าน
- ออกตรวจร้านจำหน่ายอาหารสด จำนวน 2 ร้าน
รวม 29 ร้าน
ค่าใช้จ่าย
- ค่าตอบแทนแกนนำ ในการออกตรวจร้าน จำนวน 4 คนๆละ 200 บาท จำนวน 10 วัน เป็นเงิน 8,000 บาท
รวม 8,000 บาท
มอบเกียรติบัตรและป้ายร้านที่ผ่านเกณฑ์
ค่าใช้จ่าย
- ค่าจัดทำป้ายอะคริลิก จำนวน 20 ป้ายๆละ 250 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับจัดทำเกียรติบัตร เป็นเงิน 1,000 บาท
รวม 6,000 บาท
รวมเป็นเงิน 45,000 บาท

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในเขตพื้นที่เป้าหมายได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยปราศจากสารเคมีและสิ่งปนเปื้อน
  2. ประชาชนมีความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง อันจะส่งผลให้มีสุขภาพแข็งแรงและปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ
  3. ร้านชำในพื้นที่เป็นร้านปลอดยาอันตราย
  4. ประชาชนในพื้นที่สามารถเลิกซื้อยาอันตรายกินเอง
  5. มีเครือข่ายเฝ้าระวังการขายยาอันตรายในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2563 16:16 น.