กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ อสม.ใส่ใจผู้สูงวัยสุขภาพดี หมู่ที่ ๕ บ้านโต๊ะยูด๊ะ ตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
รหัสโครงการ 60-50097-2-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลฉลุง
วันที่อนุมัติ 4 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1นางสาวสีตีฟาตี ม๊ะยามาสา 2นางรำลา ลารีนู3 นางสาวเยาวเรียะ ระสุโส๊ะ 4นางสาวมีด๊ะ บังคม 5นางสาวดารุณี ระสุโส๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฉลุง(บ้านทุ่ง)
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.725,100.035place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยมีข้อมูลประชากรผู้สูงอายุ ที่ชี้ให้เห็นว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยโครงสร้างทางอายุของประชากรนั้นเมื่อจำแนกประชากรออกเป็นกลุ่มอายุ 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือประชากรวัยเด็ก (อายุน้อยกว่า 15 ปี) วัยแรงงาน (อายุ 15-59ปี) และวัยสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) พบว่าในระหว่างปี พ.ศ.2553 – พ.ศ.2583 สัดส่วนของประชากรวัยเด็กและวัยแรงงานมีแนวโน้มลดลงในขณะทีสัดส่วนของประชากรสูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 13.2 ใน พ.ศ.2553 เป็นร้อยละ 32.1 ใน พ.ศ.2583 การที่สังคมไทยมีโครงการสร้างประชากรผู้สูงอายุเกินร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมดถือได้ว่าสังคมไทยเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุอย่างแท้จริง ประกอบกับในงบประมาณ 2560 นี้ ทางองค์การบริหารส่วนตำบลฉลุง ได้เล็งเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุในพื้นที่จึงได้สมัครเข้าร่วมโครงการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ของกระทรวงสาธารณสุข ทำให้อาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ตำบลฉลุง ซึ่งดูแลสุขภาพของประชาชนทุกกลุ่มวัยร่วมกับชุมชนอยู่แล้ว จึงได้จัดทำโครงการ อสม.ใส่ใจผู้สูงวัยสุขภาพดี บ้านโต๊ะยูด๊ะ เพื่อสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุทุกคนในพื้นที่ ตลอดจนเสริมสร้างทักษะในการดูแลสุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุ เพื่อก่อให้เกิดชมรมผู้สูงอายุและสร้างแกนนำผู้สูงอายุในหมู่บ้าน พร้อมทั้งจัดให้เกิดการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุเพื่อเกิดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มหมู่บ้านเดียวกัน จนขยายผลไปสู่ระดับตำบล และระดับอื่นๆ ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างทักษะในการดูแลสุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุมีทักษะในการดูแลสุภาพไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

2 เพื่อเสริมสร้างให้ผู้สูงอายุมีปฏิสัมพันธ์และตระหนักถึงความสำคัญในการอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมผู้สูงอายุและครอบครัว

ผู้สูงอายุมีปฏิสัมพันธ์และสามารถอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมผู้สูงอายุและครอบครัวไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

3 เพื่อให้ผู้สูงอายุ ครอบครัว ชุมชน ได้มีส่วนร่วมและให้ความสำคัญในด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุ ครอบครัว ชุมชนได้มีส่วนร่วมในด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

4 เพื่อให้เกิดชมรมผู้สูงอายุและสร้างแกนนำผู้สูงอายุในหมู่บ้าน

1.ผู้สูงอายุในพื้นที่สมัครเป็นสมาชิกกลุ่มผู้สูงอายุไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 2.มีแกนนำผู้สูงอายุที่จะดำเนินกิจกรรมผู้สูงอายุระดับหมู่บ้านไม่น้อยกว่า 10 คน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำโครงการฯ ขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าองค์การบริหารส่วนตำบลฉลุง
  2. จัดหาคณะทำงานในชุมชนประกอบด้วยแกนนำกลุ่มต่างในหมู่บ้านที่มีจิตอาสาจำนวน 15 คน
  3. ประชุมคณะทำงานแบ่งงานรับผิดชอบพร้อมวางแผนการดำเนินกรรมการฯโดยมีทีมสุขภาพ รพ.สต.ต.ฉลุง รับผิดชอบประจำหมู่บ้านร่วมเป็นคณะทำงานด้วย
  4. จัดเตรียมเอกสาร เครื่องมือในการดำเนินการคัดกรองสุขภาพกายและสุขภาพจิตผู้สูงอายุ และการรับสมัครสมาชิกกลุ่มผู้สูงอายุ
  5. ดำเนินการคัดกรองสุขภาพกายและสุขภาพจิตผู้สูงอายุ และการรับสมัคร สมาชิกผู้สูงอายุ
  6. สมาชิกกลุ่มผู้สูงอายุดำเนินกิจกรรมสร้างแกนนำกลุ่มโดยคัดเลือกกันเอง
  7. ประชุมสรุปผลการดำเนินทบทวนกิจกรรมปัญหาอุปสรรค แก้ไข ดำเนินการต่อ
  8. สรุปผลโครงการฯส่งเจ้าของงบประมาณ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมัทักษะในการดูแลสุขภาพไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
  2. ผู้สูงอายุมีปฏิสัมพันธ์และสามารถอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมผู้สูงอายุและครอบครัวไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
  3. ผู้สูงอายุ ครอบครัว ชุมชนได้มีส่วนร่วมในด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
  4. ผู้สูงอายุในพื้นที่สมัครเป็นสมาชิกกลุ่มผู้สูงอายุไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
  5. เกิดแกนนำกลุ่มสูงอายุในหมู่บ้าน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2560 08:55 น.