กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปลูกผักสวนครัวตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนพีระยานาวินคลองหินวิทยา ยะลา
วันที่อนุมัติ 24 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 31 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 5,465.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงเรียนพีระยานาวินคลองหินวิทยา ยะลา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยุโป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.597,101.283place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันผักที่นำมาใช้ปรุงอาหารให้กับเด็กโรงเรียนพีระยานาวินคลองหินวิทยา ยะลา เป็นผักที่จัดซื้อจากท้องตลาด ซึ่งผักส่วนใหญ่มีการปนเปื้อนสารเคมี โดยปกติก่อนการปรุงแม่ครัวก็จะล้างทำความสะอาดอย่างดี แต่อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถชะล้างสารตกค้างออกได้ทั้งหมด ส่งผลให้เด็กในวัยก่อนเรียนอยู่ในภาวะความเสี่ยงทางด้านสุขภาพอย่างน่าเป็นห่วงทั้งนี้เนื่องจากเด็กบริโภคพืชผักและผลไม้ที่ไม่ปลอดภัยทำให้มีการสะสมสารพิษภายในร่างกายอาจก่อให้เกิดภาวะความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและการเกิดโรคชนิดต่าง ๆ ได้  ซึ่งเป็นการบั่นทอนทรัพยากรมนุษย์ระยะยาวหากเด็กรับประทานผักมีสารเคมีปนเปื้อน แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการรณรงค์ส่งเสริมในเรื่องการลดละเลี่ยงเลิกการใช้สารพิษในการเกษตรแต่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงชินกับรูปแบบเดิมโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยทางด้านสุขภาพของผู้บริโภคการปลูกพืช ผักสวนครัวที่ไร้สารพิษตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทำให้ผู้บริโภคมีสุขภาพร่างกายที่ดีสมาชิกในครอบครัวมีกิจกรรมร่วมกันใช้เป็นอาหารในครัวเรือนลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนพึ่งพาตนเองและสามารถดำเนินชีวิตให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ลดความเสี่ยงจากสารเคมีสะสมในร่างกาย เพื่อให้สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง จากการได้รับประทานผักปลอดสารพิษ ในปริมาณที่เพียงพอ ครัวเรือนเป็นจุดเริ่มต้นของภาวะโภชนาการที่ดี นำมาสู่สุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง มีพัฒนาการสมวัยจึงจัดทำโครงการปลูกผักสวนครัวตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้เด็กได้รับประทานผักปลอดสารพิษ กระตุ้นเตือน และสร้างความตระหนักให้ครัวเรือนเห็นถึงความสำคัญของการบริโภคอาหารปลอดภัย เพื่อส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับกับเด็กและผู้ปกครองได้ตระหนักถึงโทษของการบริโภคผักปนเปื้อนสารเคมีทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายเป็นการปลูกฝังค่านิยมที่ดีฝึกอาชีพและความรับผิดชอบของเด็ก และดำเนินรอยตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 90 5,465.00 0 0.00
1 ม.ค. 63 - 31 ธ.ค. 63 ปลูกผักพืชสวนครัว/พืชสมุนไพร 90 5,465.00 -

1 ให้ความรู้เรื่องการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2 ปลูกผักพืชสวนครัว/พืชสมุนไพร 3 เลือกชนิดผัก เช่น ผักกาดขาว, ผักคะน้า, ผักบุ้ง, มะเขือ, พริกชี้ฟ้า, ผักกวางตุ้ง, โหระพา, บวบ, มะระจีน, แตงกวา, ถั่วฝักยาว เป็นต้น
4 ปรับพื้นที่ และดำเนินการปลูกผักสวนครัว โดยไม่ใช้สารเคมี 5 ให้ครูจัดแบ่งเวรให้กับผู้ปกครองในการช่วยกันดูแลผักในแปลงปลูก 6 ครูจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการบริโภคผักสดในห้องเรียน เพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญของผักและรับประทานผักเพิ่มขึ้น 7 นำพืชผักที่ได้จากโครงการไปประกอบอาหารกลางวันให้กับเด็กในโรงเรียน 8 มีการประเมินความพึงพอใจในการทำกิจกรรมจากกลุ่มผู้ปกครอง และประเมินผลเด็กด้วยการให้เด็กสื่อด้วยภาพเขียน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 เด็กได้รับประทานผักปลอดสารพิษจากโครงการ และผู้ปกครองนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้กับครัวเรือน 2 เด็กและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการปลูกผักปลอดสารพิษและสามารถปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน 3 เด็กและผู้ปกครองมีทัศนคติและจิตสำนึกที่ดีต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการดำเนิน ชีวิตวิถีไทย 4 โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับเด็กเล็กและผู้ปกครองในการนำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวัน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2563 10:08 น.