กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลนาโยงใต้
รหัสโครงการ 63-L1497-04-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานเลขาฯ กองทุน
วันที่อนุมัติ 30 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 45,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธวัฒ จันเซ่ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโยงใต้ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.571,99.669place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2562 30 ก.ย. 2563 45,000.00
รวมงบประมาณ 45,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 19 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 โดยประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2561 เป็นต้นไป ข้อ 10 กำหนดว่า “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ ดังนี้ (4) เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่งในแต่ละปีงบประมาณนั้น หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับเงินเพิ่มตามข้อ 7 วรรคสองอาจสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้อีกไม่เกินร้อยละ 5 กรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเพื่อหาครุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยตรง ให้สนับสนุนได้ในวงเงินตามความจำเป็น และครุภัณฑ์ที่จัดหาได้ให้เป็นทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ประกอบกับหลักเกณฑ์การรับเงิน การเก็บรักษาเงิน การจ่ายเงิน การจัดทำบัญชีและรายงาน หมวดที่ ๓ ค่าตอบแทนการประชุม ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และค่าใช้จ่ายอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้       1. ค่าตอบแทนในการประชุมสำหรับกรรมการหรือที่ปรึกษา ไม่เกินครั้งละ 400 บาทต่อคน เดือนหนึ่งไม่เกิน 800 บาท
      2. ค่าตอบแทนในการประชุมสำหรับอนุกรรมการ ไม่เกินครั้งละ 300 บาทต่อคน เดือนหนึ่งไม่เกิน 600 บาท
      3. ค่าตอบแทนในการประชุมสำหรับคณะทำงาน ไม่เกินครั้งละ 200 บาทต่อคน เดือนหนึ่งไม่เกิน 400 บาท       4. ค่าตอบแทนในการประชุมสำหรับบุคคลภายนอกซึ่งเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการกองทุนหรือคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน ให้เบิกจ่ายค่าตอบแทนได้เท่ากับกรรมการ หรืออนุกรรมการ หรือคณะทำงาน แล้วแต่กรณี       5. ค่าตอบแทนสำหรับเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพที่เข้าร่วมประชุม หรือคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน ให้เบิกจ่ายในอัตราเท่ากับกรรมการหรืออนุกรรมการ หรือคณะทำงาน แล้วแต่กรณี       6 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของกรรมการ ที่ปรึกษา อนุกรรมการ คณะทำงาน และเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ให้เบิกจ่ายได้ในอัตราไม่เกินระเบียบของทางราชการโดยอนุโลม ทั้งนี้ โดยการอนุมัติของประธานกรรมการ       ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาโยงใต้ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และบรรลุวัตถุประสงค์ โดยคำนึงถึงสถานการณ์คลังของกองทุนฯ จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาโยงใต้ ขึ้นในครั้งนี้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้มีการพิจารณาโครงการที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ตลอดจนรับทราบและติดตามผลการดำเนินงานโครงการของกองทุนฯ

จัดประชุมคณะกรรมการและที่ปรึกษากองทุนฯ และบันทึกรายงานการประชุมทุกครั้ง

100.00
2 เพื่อให้มีการรายงานสถานะการเงินทุกไตรมาสตลอดจนทบทวนปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ ติดตามการบันทึกรายงานผ่านกระบบออนไลน์ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน

การบันทึกรายงานผ่านระบบออนไลน์ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ขัั้นตอนการวางแผน 1.1ร่วมประชุมวางแผน กำหนดร่างวาระการประชุม จำนวนคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการและคณะทำงาน 1.2กำหนดวันประชุมตลอดปีงบประมาณ 2.ขั้นตอนการดำเนินงาน 2.1ติดต่อประสานงานกับคณะกรรมการเพื่อกำหนดนัดหมาย 2.2จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินงาน 2.3จัดเตียมค่าใช้จ่ายในการประชุม เช่น ค่าตอบแทนกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน อาหารว่างและเครื่องดื่ม 2.4จัดเตรียมสถานที่ในการประชุม 3.ดำเนินการจัดประชุมตามแผนงานและวาระที่กำหนด 3.1จัดประชุมคณะกรรมการและที่ปรึกษากองทุนฯ และบันทึกรายงานการประชุมทุกครั้ง 3.2จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ
4.เบิกเงินค่าตอบแทนการประชุมเพื่อจ่ายให้กับคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนฯที่เข้าร่มประชุม 5.เบิกเงินค่าเดินทางไปราชการตามระเบียบของทางราชการฯ ตามที่จ่ายจริงให้แก่ คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนฯ 6.จัดซื้อวัสดุสำนักงาน อุปกรณ์และเครื่องเขียนที่จำเป็นต้องใช้ในสำนักงานเลขานุกองทุนฯ 7.สรุปผลการประชุมและมติคณะกรรมการ คณะอนุกรรม คณะทำงาน ในการดำเนินงานและบริหารจัดกองทุนฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มีการพิจารณาโครงการที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ตลอดจนรับทราบและติดตามผล การดำเนินงานโครงการของกองทุนฯ 2.มีการรายงานสถานะการเงินทุกไตรมาส ตลอดจนทบทวนปัญหาสาธารณุสขในพื้นที่ ติดตามการบันทึกรายงานผ่านระบบออนไลน์ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน 3.การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาโยงใต้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2563 12:40 น.