กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ร้านชำคุณภาพ อาหารปลอดภัย ลดการใช้โฟม รพ.สต.บ้านควนถบ
รหัสโครงการ 63-L3359-1-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนถบ
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 11,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนถบ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพญาขัน อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.652,100.107place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 65 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับ ดูแลและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นต้น ซึ่งในส่วนของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพเหล่านี้มีผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน เช่น ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ตลอดจนผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้บริโภคจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ ลอกเลียนแบบ เจือปนสารอันตรายลงไป หรือหากบริการสุขภาพนั้นไม่ได้มาตรฐานจะทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบต่อสุขภาพอย่างร้ายแรงได้ ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นร้านที่ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยและซื้อสินค้ามากที่สุด เนื่องจากเป็นร้านที่อยู่ในหมู่บ้าน สะดวกในการซื้อสินค้า และเป็นร้านที่จำหน่ายสินค้าหลากหลายชนิด เช่น ยา เครื่องสำอาง อาหารสำเร็จรูป เครื่องปรุงรส อาหารแปรรูป บุหรี่และแอลกอฮอล์ แต่จากการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคพบว่า การใช้เครื่องอุปโภค บริโภคที่ไม่ได้มาตรฐานจากร้านขายของชำในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่ไม่ได้คุณภาพ จำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชน และยังจำหน่ายยาบางชนิดที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเลือกผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่มีคุณภาพ ความรู้เรื่องประเภทของยาแต่ละชนิดที่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ และจำหน่ายให้กับร้านค้าในชุมชน
รวมทั้งร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ถึงแม้จะมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ให้ได้มาตรฐานด้านสุขาภิบาล และมีโครงการอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) แล้วก็ตาม แต่ยังมีพิษภัยจากสารเคมีที่ปนเปื้อนมากับอาหารหรือแฝงมากับภาชนะบรรจุอาหาร คือ “โฟม” ที่นิยมใช้กัน เนื่องจากสะดวก ราคาถูก และหาซื้อได้ง่าย ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค และขยะประเภทโฟมมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และต้องใช้เวลาในการย่อยสลายซึ่งสร้างปัญหาในการกำจัด เนื่องจากต้องใช้พลังงานต้นทุนการกำจัดสูง เปลืองพื้นที่ฝังกลบ และขบวนการกำจัดโฟม อาจทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน และภาวะโลกร้อนได้  ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ตรวจสอบและเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนถบ จึงได้จัดทำโครงการร้านชำคุณภาพ อาหารปลอดภัย ลดการใช้โฟม รพ.สต.บ้านควนถบ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านชำสามารถเลือกผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องสำอางที่มีคุณภาพจำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชน

ผู้ประกอบการร้านชำในพื้นที่มีความรู้ และทักษะในการเลือกสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐานที่ถูกต้อง และใช้สินค้าที่มีความปลอดภัย ไม่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อพัฒนาร้านชำให้ผ่านเกณฑ์คุณภาพ

ร้านชำพัฒนาผ่านเกณฑ์คุณภาพ ร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง และตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร ลดการใช้โฟมของร้านจำหน่ายอาหาร และแผงลอยในพื้นที่เป้าหมาย

มีร้านอาหารและแผงลอย จำหน่ายอาหารปลอดภัย ลดการใช้โฟม  ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.สำรวจข้อมูลร้านอาหาร แผงลอย และร้านชำ ในพื้นที่หมู่ 1 2 4 6 ตำบลพญาขัน ในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านควนถบ และสำรวจข้อมูลนักเรียนประถมปีที่5 และ 6 โรงเรียนวัดควนถบ     2.ประสานกลุ่มเป้าหมาย และวิทยากรให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย     3.จัดอบรมให้ความรู้แก่อสม. ,อาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภค ผู้ประกอบการร้านอาหาร ร้านชำ แผงลอย เรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาหาร ยา เครื่องสำอางที่ปลอดภัย อันตรายจากการใช้โฟม แนะนำการเลือกซื้อ เลือกจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพ และการจัดร้านขายของชำให้ได้ตามเกณฑ์คุณภาพ 1.    4.จัดอบรมให้ความรู้นักเรียนชั้นประถมปีที่5 และ 6 โรงเรียนวัดควนถบ เรื่องการบริโภคอาหารและการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อนำความรู้ใช้ในครอบครัวและเผยแพร่ในชุมชน     5.ตรวจแนะนำร้านชำ ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร เพื่อปรับปรุงและพัฒนาด้านสุขาภิบาล ให้ได้ตามมาตรฐาน โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภค     6. ติดตามการใช้โฟมบรรจุอาหาร” ในร้านอาหาร/แผงจำหน่ายอาหาร     7.สรุปและประเมินผลการดำเนินการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากการใช้ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพเพิ่มขึ้น และร้านค้าผู้จำหน่ายอาหารลดการใช้โฟมบรรจุอาหาร

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2563 15:23 น.