กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนบาโงยซิแนใส่ใจ ควบคุม ป้องกันโรคนำโดยแมลง ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L4147-05-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ทีม SRRT ตำบลบาโงยซิแน
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุพงศ์ ดอคา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 6400 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 50 /ประชากรแสนคน
733.11
2 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)
45.00
3 1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรีย
46.79

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อซึ่งมียุงลายบ้านและยุงลายสวนเป็นแมลงพาหะนำโรคที่สำคัญ การระบาดของโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำ ให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่างๆ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เพิ่มจำนวนประชากรของยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรคได้เป็นอย่างดี การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ ควรต้องเตรียมพร้อมควบคุมการจัดยุงลายก่อนจะถึงช่วงฤดูการระบาดของโรค เพื่อลดจำนวนประชากรของยุงลายในพื้นที่ และเพื่อทราบความเสี่ยงการเกิดโรคในพื้นที่ต่อไป ปัจจัยการระบาดที่สำคัญที่ทำให้มีการระบาดและมีการขยายพื้นที่ออกไปอย่างกว้างขวาง ได้แก่ การเพิ่มจำนวนของประชากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีชุมชนเมืองเพิ่มขึ้น มีการเคลื่อนไหวของประชากร และมียุงลายมากขึ้นตามการเพิ่มของภาชนะขังน้ำ การที่มนุษย์สร้างการคมนาคมที่สะดวกขึ้นทั้งทางบกและทางอากาศ การเดินทางมากขึ้นทั้งภายในและต่างประเทศ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเดงกี่ เป็นไปอย่างรวดเร็ว

จากรายงานเฝ้าระวังสถานการณ์ไข้เลือดออก ข้อมูล ณ วันที่ 25 ธันวาคม 2561ข้อมูลจากกลุ่มโรคติดต่อนำโดยยุงลาย สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลงกรมควบคุมโรค สถานการณ์ไข้เลือดออกในปี 2562 มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก (Dengue fever: DF, Denguehemorrhagic fever: DHF, Dengue shock syndrome : DSS) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 สะสมรวม 128,964 รายอัตราป่วย 194.51 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 133 ราย ในพื้นที่เขต 12 พบผู้ป่วย 9,628 รายอัตราป่วย 109.10 ต่อประชากรแสนคน ผู้ป่วยเสียชีวิต 10 ราย สงขลา 4 ราย สตูล 0 ราย ตรัง 0 ราย พัทลุง 1 ราย ปัตตานี 0 ราย นราธิวาส 4 ราย ยะลา 1 ราย และสำหรับพื้นที่จังหวัดยะลา พบผู้ป่วย 1,438 ราย อัตราป่วย 271.42 ต่อประชากรแสนคน ข้อมูลจากรายงาน 506 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 พื้นที่อำเภอยะหา พบผู้ป่วยจำนวน 102 ราย ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต พื้นที่ตำบลบาโงยซิแน พบผู้ป่วยจำนวน 45 ราย อัตราป่วย 733.11 ต่อแสนประชากร ไม่พบผู้เสียชีวิต

และข้อมูลสถานการณ์โรคไข้มาลาเรีย ปี 2562 พบผู้ป่วยจำนวน 711 ราย จังหวัดยะลาพบผู้ป่วยจำนวน 129 ราย อำเภอยะหา พบผู้ป่วยจำนวน 79 ราย และตำบลบาโงยซิแน พบผู้ป่วย จำนวน 6 รายอัตราป่วย 46.79 ต่อแสนประชากร ไม่มีผู้เสียชีวิต

จากปัญหาดังกล่าวจึงนำเข้าสู่การทำเวทีประชาคมหมู่บ้าน เพื่อสะท้อนถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้ชุมชนเห็นความสำคัญของปัญหา และจากการทำเวทีประชาคมเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พบว่าสาเหตุส่วนใหญ่พบว่าประชาชนยังไม่ตระหนักและให้ความสำคัญกับการควบคุมป้องกันแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ประกอบกับบริบทชุมชน เป็นชุมชนกึ่งเมือง มีประชากรหนาแน่น

ชุมชนตำบลบาโงยซิแน และโรงพยาบาลส่งเสริมส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงยซิแน จึงได้เสนอแนวคิด “การแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือด และโรคนำโดยแมลง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างยั่งยืน” ขึ้นโดยภาคีเครือข่ายในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดกระบวนการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืนและต่อเนื่อง จึงได้จัดทำโครงการชุมชนบาโงยซิแนใส่ใจ ควบคุม ป้องกันโรคนำโดยแมลง ปี 2563

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนปลอดภัยจากโรคติดต่อนำโดยแมลง

เพื่อให้ประชาชนปลอดภัยจากโรคติดต่อนำโดยแมลง

733.11 50.00
2 เพื่อให้มีการพัฒนาบ้านสะอาด รอบบ้านน่ามอง ลดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในชุมชนสถานที่ราชการ มัสยิดและโรงเรียน
  1. ลดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในชุมชนให้ค่า HI ให้เหลือไม่เกินร้อยละ 10
  2. จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนสถานที่ราชการศูนย์เด็กมัสยิดมีค่าเท่ากับร้อยละ 0 (CI = 0)
12.00 10.00
3 เพื่อให้หลังคาเรือนที่มีผู้ป่วยได้รับการพ่นหมอกควันและการเฝ้าระวังโดยรอบรัศมี100 เมตรจากบ้านที่เกิดโรค
  1. ทุกหลังคาเรือนที่มีผู้ป่วยได้รับการพ่นหมอกควันและการเฝ้าระวังโดยรอบรัศมี100 เมตรจากบ้านที่เกิดโรค
45.00 10.00
4 เพื่อให้แกนนำสาธารณสุข อสม. และประชาชนที่สนใจได้รับความรู้ และสามารถนำไปปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้อื่นได้

ร้อยละ 70 ของแกนนำสาธารณสุข อสม. และประชาชนที่สนใจได้รับความรู้ และสามารถนำไปปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้อื่นได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 100,000.00 0 0.00
1 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 ฝึกอบรมให้ความแก่แกนนำประชาชน นักเรียน อสม. 0 23,600.00 -
1 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ 0 9,000.00 -
1 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 การทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายและกำจัดตัวเต็มวัย 0 34,900.00 -
1 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุ และตัวเต็มวัย บ้านผู้ป่วย และบ้านสงสัยป่วย 0 32,500.00 -

ฝึกอบรมให้ความแก่แกนนำประชาชน นักเรียน อสม.
1.อบรมให้ความรู้แก่แกนนำประชาชน และ อสม.
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มมื้อละ 25 บาท* 2 มื้อ 50 คน เป็นเงิน 2,500 บาท
- ค่าอาหารอาหารกลางวันผู้เข้ารับการอบรม มื้อละ70 บาท
1 มื้อ* 50 คน เป็นเงิน 3,500 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท* 5ชม. เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าวัสดุในการอบรม (แฟ้ม สมุด ปากกา ไฟฉาย เป็นต้น) เป็นเงิน 5,000 บาท
รณรงค์ประชาสัมพันธ์
1.ดำเนินการรณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายทุกหลังคาเรือนโดยประชาชน อสม. ผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในพื้นที่ ทุกสัปดาห์
2.จ่ายสารเคมีกำจัดลูกน้ำยุงลายทุกครัวเรือน โรงเรียนทุกโรง มัสยิด และสุเหร่าทุกแห่ง
3.อสม./แกนนำ สำรวจลูกน้ำยุงลายในเขตรับผิดชอบ และส่งแบบสำรวจทุกเดือน
- ค่าจัดซื้อสารเคมีกำจัดลูกน้ำ (ทรายอะเบท) จำนวน 3 ถัง* 3,000 บาท เป็นเงิน 9,000 บาท
การทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายและกำจัดตัวเต็มวัย
1.ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายและกำจัดตัวเต็มวัย ในพื้นที่ตำบลบาโงยซิแน จำนวน 1,318 หลังคาเรือน มัสยิดและสุเหร่า 6 หมู่บ้าน โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 4 แห่ง
2.การจัดหาซื้อโลชั่นกันยุง
3.เน้นการใช้สมุนไพร ในการป้องกันยุงกัด โดยการรณรงค์ให้ปลูกตะไคร้หอมโดยเฉพาะบ้าน อสม. และบ้านเรีอนประชาชน
ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุ และตัวเต็มวัย บ้านผู้ป่วย และบ้านสงสัยป่วย
1.สำรวจลูกน้ำ ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลายและกำจัดตัวเต็มวัย บ้านผู้ป่วยและรัศมีรอบบ้านผู้ป่วย 100 เมตร โดยพ่นหมอกควัน กรณีพบผู้ป่วยและผู้ที่สงสัยโรคไข้เลือดออกและมาลาเรีย ที่ได้รับการแจ้งจากทีม SRRT ระดับอำเภอ (กรณีพบผู้ป่วย 1 ราย จะมีการพ่นหมอกควัน จำนวน 3 ครั้ง Day 1, Day 3 และ Day 7 ในบ้านผู้ป่วย และรัศมี 100 เมตร)

ค่าใช้จ่าย
- ค่าตอบแทนแกนนำพ่นหมอกควันบ้านผู้ป่วย และสงสัยป่วย และรัศมีรอบบ้าน 100 เมตร จำนวน 25 ราย (คิดจาก ร้อยละ 50 จากจำนวนผู้ป่วย ปี 2562) *3 ครั้ง *300 บาท เป็นเงิน 22,500 บาท
- ค่าตอบแทนแกนนำ สำหรับเจาะสไลด์เพื่อตรวจเชื้อมาลาเรีย 10 ราย (ผู้ป่วย 1 ราย เจาะเลือดค้นหา 50 ราย) (คิดจากจำนวนผู้ป่วยปี 2562) *200 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
- ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงในการพ่นหมอกควันบ้านผู้ป่วยและรัศมีรอบบ้านผู้ป่วย 100 เมตร เป็นเงิน 8,000 บาท
รวม 32,500 บาท
รวมเป็นเงิน 100,000 บาท

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สามารถลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคติดต่อนำโดยแมลง
2.ประชาชน นักเรียน อสม. มีความรู้ความเข้าใจในการควบคุม และป้องกันโรค จนสามารถดำเนินการควบคุม และป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลงได้เองอย่างต่อเนื่อง
3.สามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดและเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2563 16:56 น.