กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ควบคุมป้องกันไข้มาลาเรีย หมู่ที่ 5-7 ตำบลดุซงญอ
รหัสโครงการ 63-L2476-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านกาเต๊าะ
วันที่อนุมัติ 11 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 16,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอนุ พันธ์โภชน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.123,101.643place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3518 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้มาลาเรีย(คน)
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมาลาเรียพบมากในเขตพื้นที่มีอุณหภูมิเหมาะสมที่ทำให้เชื้อแบ่งตัวได้แก่ เขตร้อน แต่การกระจายของเชื้อโรคอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากโลกมีอุณหภูมิเพิ่มมากขึ้น และการเคลื่อนย้ายของประชากร สำหรับประเทศไทยจะพบเชื้อได้ทั่วไป ยกเว้นกรุงเทพฯ เชื้อมีมากในป่าเขาในจังหวัดตามแนวชายแดนของประเทศไทยพบว่ามีเชื้อ พี.ฟาลซิปารัม (P.falciparum) 70% พี.ไวแวกซ์(P.vivax) 50% ตัวพาหะที่นำโรคมาลาเรียคือยุงก้นปล่อง (ตัวเมีย) ซึ่งเรียกอย่างนี้เพราะว่าเวลาที่ยุงกัดคน มันจะเกาะโดยยกก้นขึ้นทำมุมกับผิวหนัง 45 องศา ในเมืองไทยพบยุงก้นปล่องที่สำคัญ 2 ชนิด คือ
1. Anopheles Dirus พบในป่าทึบ ชอบวางไข่ตามแอ่งน้ำนิ่งขังตามธรรมชาติ เช่น แอ่งหินในป่าทึบ นิสัยชอบกัดเลือดคน มากกว่าสัตว์อื่น ออกหากินตอนดึกถึงเช้ามืด และไม่ชอบเกาะฝาบ้าน 2. Anopheles Minimus พบตามชายป่า ชอบวางไข่ในลำธาร น้ำใสไหลเอื่อยๆ หลังจากกัดคน แล้วจะเกาะที่ฝาบ้าน แต่ในปัจจุบันมีการปรับตัวคือหลังจากกัดคนแล้วจะไม่เกาะฝาบ้านและจะกัดคนนอกบ้านมากขึ้น โดยเฉพาะตอนหัวค่ำ ไข้มาลาเรียยังคงเป็นปัญหาด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน จังหวัดนราธิวาสเป็นจังหวัดหนึ่งซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซีย ซึ่งแต่ละปีจะมีการอพยพเคลื่อนย้ายของประชากร ประกอบกับประชาชนที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดน มีอาชีพเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้มาลาเรีย และสภาพพื้นที่ตามแนวชายแดนเอื้อต่อการระบาดของโรคมาลาเรียก็นับเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ส่งผลอย่างยิ่งต่อการบั่นทอนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในทุกมิติสุขภาพ ทั้งนี้เพราะด้วยพยาธิสภาพของโรคสามารถเกิดได้กับทุกกลุ่มอายุ และมีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที รวมทั้งสามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วถึงยากต่อการควบคุมป้องกัน
จากรายงานระบาดวิทยา ของ ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ ๑๒.๔ จังหวัดนราธิวาส สถานการณ์ไข้มาลาเรียของตำบลดุซงญอ ในปี พ.ศ. 2559-๒๕61 พบผู้ป่วยคิดเป็นอัตรา 158.21 และ 73.83 ต่อแสนประชากร ในปี 2561 ไม่พบผู้ป่วย ส่วนใหญ่จะพบผู้ป่วยในพื้นที่หมู่ที่ 5 - 7 เป็นพื้นที่ที่พบไข้มาลาเรียซ้ำซาก ( Hard core ) เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นป่าเขา และประชาชนประกอบอาชีพเกี่ยวข้องกับป่าเป็นส่วนใหญ่และมีการป้องกันตนเองไม่ดีเท่าที่ควร จึงทำให้มีการระบาดของโรคมาลาเรียกระจายในตำบลดุซงญอ จากการสอบสวนโรคผู้ป่วย พบว่าส่วนมากตอนกลางคืนไม่นอนกลางมุ้ง ยังไม่มีการป้องกันตัวเองด้วยวิธีอื่น ดังนั้นจากสภาพปัญหาดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาเต๊าะ จึงได้บูรณาการร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ จัดทำโครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้มาลาเรีย หมู่ที่ 5 – 7 ตำบลดุซงญอ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ขึ้น เพื่อควบคุมและป้องกันโรคดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้มาลาเรียระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้มาลาเรีย (คน)

50.00 3518.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 7036 16,900.00 2 16,900.00
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 ประชาสัมพันธ์โครงการ 3,518 700.00 700.00
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมพ่นเคมีฆ่ายุงป้องกันไข้มาลาเรีย 3,518 16,200.00 16,200.00
  1. จัดประชุม อสม. และองค์กรที่เกี่ยวข้องในพื้นที่
  2. จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ และแผ่นพับโรคมาลาเรีย
  3. ออกหน่วยแพทย์ให้บริการรักษาพยาบาลเบื้องต้นและเจาะเลือดค้นหาเชื้อมาลาเรียโดย
    หน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง ฯ และอสม.
  4. กิจกรรมพ่นเคมีฆ่ายุงก้นปล่องที่เป็นสาเหตุให้เกิดไข้มาลาเรีย
  5. สนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงกัด
  6. อสม.ดำเนินกิจกรรมป้องกันการระบาดของโรคในหมู่บ้านเป้าหมาย
  7. สรุปผลการดำเนินงานโครงการจัดส่งรายงานผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรีย
  2. มีการประสานงานระหว่างองค์กรภาครัฐ, ชุมชนและในการควบคุมป้องกันไข้มาลาเรีย ส่งผล ให้ลดการแพร่กระจายของโรคในทุกพื้นที่
  3. ประชาชนมีความตระหนักในการป้องกันโรคไข้มาลาเรียของประชาชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2563 10:25 น.