กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างสุขภาพชีวิตเกษตรกร ปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัยตำบลดุซงญอ
รหัสโครงการ 63-L2476-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ดุซงญอ
วันที่อนุมัติ 11 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 8,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฮาสเม๊าะ อามิง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.123,101.643place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เกษตรกรมีความเสี่ยงเกิดโรคจากสารเคมี
200.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประชากรไทยส่วนมากมีอาชีพพื้นฐานอยู่ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบผู้มีรายได้น้อย แต่ทำงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ จากสภาพอากาศที่ร้อนจัด ท่าทางการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการปวดหลังและกล้ามเนื้ออักเสบ รวมทั้งการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมีพิษแบบเฉียบพลันและเรื้อรังตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษและปริมาณที่ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทางโดยการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวมถุงมือและรองเท้าบูทป้องกันขณะทำงานกับสารเคมี การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีสารปนเปื้อน พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีที่รั่วซึม ฉีดพ่นสวนทิศทางลมทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมีโดยไม่อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ซึมเปื้อนทันทีเป็นต้น การใช้สารเคมีในเกษตรกร เริ่มจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเกษตรที่พึ่งพาตนเองและธรรมชาติ การผลิตเพื่อบริโภค เป็นการผลิตการเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อการค้า การผลิตที่เน้นปริมาณ โดยมิได้คำนึงถึงคุณภาพและความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารเคมีชนิดต่าง ๆ ซึ่งสารเคมีนี้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ จากระดับเล็กน้อยจนถึงระดับรุนแรง ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารเคมี โดยสามารถรับเข้าสู่ร่างกายได้ทางสัมผัสทางผิวหนัง การสูดดม การบริโภคอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนสารเคมี และการรั่วซึมของสารเคมี ซึ่งอาจก่อให้เกิดการเจ็บป่วยเฉียบพลัน เช่น อาการคลื่นไส้อาเจียน เวียนหัว ปวดกล้ามเนื้อ ท้องร่วง หายใจติดขัด ตาพร่ามัว และเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน อัมพฤตอัมพาต โรคผิวหนัง การพิการ และการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น และสถิติเกี่ยวกับการเจ็บป่วยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่บันทึกไว้ในแต่ละปีอาจเป็นเพียงตัวเลขขั้นต่ำ แต่มีการประเมินผู้ป่วยจริงอาจอยู่ที่ 200,000 – 400,001 คนต่อปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับปริมาณการนำเข้าและการใช้สารเคมีในประเทศ
จากการดำเนินการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ ในปี พ.ศ. 2562 มีการดำเนินงานในเกษตรกรและไม่ได้เป็นเกษตรกรจำนวน 200 คน โดยมีกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคที่เกิดจากการสัมผัสสารเคมี, กิจกรรมเจาะเลือดตรวจคัดกรองโดยใช้กระดาษทดสอบเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส ทั้งที่เป็นเกษตรกรและไม่ได้เป็นเกษตรกร แต่ใช้สารเคมีศัตรูพืชได้รับการเจาะเลือดตรวจคัดกรองโดยใช้กระดาษทดสอบเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส และกิจกรรมคัดกรองประเมินความเสี่ยง (แบบ นบก. 1) ซึ่งพบว่า ผลปกติ 252 คน มีความเสี่ยง จำนวน 27 คน ไม่ปลอดภัย จำนวน 21 คน ถึงแม้ว่าจะมีการปฏิบัติตัวป้องกันสารเคมีเป็นอย่างดี จากการสัมภาษณ์ (แบบ นบก.1) พบว่าส่วนใหญ่ที่พบความเสี่ยงต่ำอยู่ จึงมีความจำเป็นจะต้องดูแลสุขภาพของเกษตรกรและผู้ใช้สารเคมีศัตรูพืชให้ปลอดภัยจากโรคภัยที่เกิดจากการสะสมของสารเคมีในร่างกาย และส่งเสริมวิธีธรรมชาติในการกำจัดศัตรูพืชทดแทนสารเคมีให้มากขึ้น ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ จึงได้บูรณาการร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ จัดทำโครงการเสริมสร้างสุขภาพชีวิตเกษตรกร ปลอดโรคผู้บริโภคปลอดภัยตำบลดุซงญอ ขึ้น เพื่อให้กลุ่มเกษตรมีความรู้ เกิดความตระหนัก และการดูแลสุขภาพตนเองโดยใช้วิธีธรรมชาติ เช่น การใช้สมุนไพรในการถอนพิษสารเคมี เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้เกษตรกรมีสุขภาพที่ดี พึ่งพาตนเองได้ และเพื่อผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดสารพิษ คุ้มครองผู้บริโภคต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปัญหาเกษตรกรมีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

จำนวนของเกษตรกรที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย(คน)

200.00
2 เพื่อแก้ไขปัญหาผู้บริโภคมีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

จำนวนผู้บริโภคที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย(คน)

200.00
3 3. เพื่อเฝ้าระวังภาวะสุขภาพของเกษตรกร และตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือดที่มีผล ต่อสุขภาพ
  1. ทำให้ทราบถึงสถานการณ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างในเลือดของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในเขตตำบลดุซงญอ
200.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 400 8,300.00 2 8,300.00
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 ประชาสัมพันธ์โครงการ 200 700.00 700.00
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมตรวจคัดกรองหาปริมาณโคลีนเอสเตอรเรสพร้อมอบรมให้ความรู้ 200 7,600.00 7,600.00
  1. จัดประชุมชี้แจงคณะทำงานที่รับผิดชอบในการจัดทำโครงการ ฯ เพื่อขอรับงบประมาณจากกองทุน ฯ อบต.ดุซงญอ
  2. ประชุม อสม.ในพื้นที่เพื่อร่วมกันกำหนดแผนงานการลงปฏิบัติในพื้นที่
  3. จัดการประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเกษตรกรทราบ เพื่อเตรียมกลุ่มเป้าหมาย และนัด วัน เวลา สถานที่ในการตรวจหาสารเคมีตกค้างในร่างกาย
  4. จัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ในการตรวจคัดกรอง ในการตรวจเลือด โดยใช้กระดาษเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส
  5. ตรวจคัดกรองโดยการสัมภาษณ์และใช้แบบฟอร์มที่กำหนดเพื่อประเมินความเสี่ยงทางกายและจิตใจ
  6. เจาะเลือดหาเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือด
  7. อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายในการใช้สมุนไพรจากธรรมชาติ
  8. สรุปผลการตรวจคัดกรองในการตรวจเลือดหาสารพิษตกค้างในร่างกาย และรายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทำให้ทราบถึงสถานการณ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างในเลือดของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในเขตตำบลดุซงญอ
  2. เกษตรกรและผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
  3. เกษตรกรมีความรู้ และตระหนักในการหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2563 11:22 น.