กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างสุขผู้สูงอายุ
รหัสโครงการ 63-L1523-1-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเมืองเพชร
วันที่อนุมัติ 27 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 20,540.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุณี จำนงค์
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวศศิมา โสะสะ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเมืองเพชร , พื้นที่หมู่ ๓ - หมู่ ๖ ตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.465place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 376 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คาดว่าในปี ๒๕๖๓ จะมีประชากรที่มี อายุตั้งแต่ ๖๐ ปีอยู่ราว ๑ ใน ๖ ของประชากรทั้งหมด กล่าวตามนิยามของสหประชาชาติ คือเมื่อประเทศใดมี ประชากร อายุ ๖๐ ปีขึ้นไป เกินร้อยละ ๑๐ หรือ ประชากรอายุ ๖๕ ขึ้นไป เกินร้อยละ ๗ ของประชากรทั้งหมด ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี ๒๕๖๗ หรืออีก 4 ปีข้างหน้า เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีผลกระทบต่ออัตราส่วนภาวะพึ่งพิง หรือภาระโดยรวมที่ ประชากรวัยทำงานจะต้องเลี้ยงดูประชากรวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น อาจนำไปสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงปัญหาในด้านสุขภาพของผู้สูงอายุด้วย เนื่องจากผู้สูงอายุมีภาวะด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลง มีความเสื่อมของร่างกาย อวัยวะต่างๆทั่วไปเริ่มอ่อนแอและเกิดโรคง่าย ภูมิต้านทานโรคน้อยลง รวมถึงมีการ เปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและสังคม จากการสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุในพื้นที่หมู่ ๓,๔,๕ และ ๖ ตำบลนาเมืองเพชรปี ๒๕60 –๒๕62 พบว่า ปี ๒๕60 มีผู้สูงอายุ จำนวน ๓60 คน อัตราร้อยละ ๑๓.99ปี ๒๕61 มีผู้สูงอายุ จำนวน ๓70 คน อัตราร้อยละ ๑4.50 ปี ๒๕62 มีผู้สูงอายุ จำนวน ๓76 คน อัตราร้อยละ ๑4.54โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเมืองเพชร ได้ตระหนักถึงคุณค่าและสุขภาพของผู้สูงอายุ รวมถึง เข้าใจสภาพปัญหาต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในทุกๆด้านดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการสร้างสุขผู้สูงอายุ และจัดกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้องกับสภาพของผู้สูงอายุ โดยมุ่งหวังให้เกิดการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองท้องถิ่น และหน่วยงานภาครัฐ ทั้งนี้ได้มุ่งเน้นในด้านการส่งเสริมสุขภาพ ของผู้สูงอายุ ให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพไม่เป็นภาระต่อสังคมและครอบครัวต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 (๑) เพื่อพัฒนาศักยภาพของแกนนำในการดูแลสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของ ผู้สูงอายุ (๒) ร้อยละ 5๐ ของผู้สูงอายุกลุ่มที่ ๑ (ติดสังคม) มีสุขภาพที่พึงประสงค์จำนวน 188 คน

(๑) ร้อยละ ๙5 ของผู้สูงอายุได้รับการประเมินการมีสุขภาพที่พึงประสงค์ จำนวน 357 คน (๒) ร้อยละ 5๐ ของผู้สูงอายุกลุ่มที่ ๑ (ติดสังคม) มีสุขภาพที่พึงประสงค์จำนวน 188 คน

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 626 20,540.00 0 0.00
1 เม.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมที่ 1. ประเมินคัดกรองการมีสุขภาพที่พึงประสงค์ ในผู้สูงอายุ จำนวน 376 คน 376 564.00 -
1 เม.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมที่ ๒.อบรมแกนนำผู้ดูแลผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาศักยภาพการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ จำนวน 100 คน 1 วัน 100 15,598.00 -
1 เม.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมที่ 3.กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ แกนนำผู้ดูแล ผู้สูงอายุ จำนวน 50 คน 50 1,250.00 -
1 เม.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมที่ 4.กิจกรรมสรรหา “ปลุกพลังวัยเก๋า” เพื่อคัดเลือกผู้สูงอายุที่เป็นบุคคลตัวอย่างด้าน สุขภาพ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 100 คน 100 3,128.00 -

1.สำรวจ จัดทำและปรับปรุงทะเบียนรายชื่อผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบให้เป็นปัจจุบัน 2.จัดเตรียมสถานที่ฝึกอบรม และประสานงานวิทยากร 3.ทีมหมอครอบครัวร่วมกับเครือข่าย อสม. ประเมินคัดกรองการมีสุขภาพที่พึงประสงค์ผู้สูงอายุ ประเมินวิเคราะห์สภาพปัญหา 4.กิจกรรมอบรม แกนนำผู้ดูแลผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาศักยภาพการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ตาม นโยบาย “ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย” 5.ทีมหมอครอบครัวร่วมกับ อสม.ติดตามเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ เพื่อประเมิน อาการและติดตามผลตามความจำเป็นของแต่ละคน 6.คัดเลือกแกนนำผู้ดูแลผู้สูงอายุ เข้าร่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์สุขภาพของ แกนนำผู้ดูแลผู้สูงอายุ หลังการอบรมพัฒนาศักยภาพ 1 เดือน 7.กิจกรรมสรรหา “ปลุกพลังวัยเก๋า” เพื่อคัดเลือกผู้สูงอายุที่มี ADL กลุ่ม 1 (ติดสังคม)เป็นบุคคลตัวอย่างด้านสุขภาพ 8.สรุปและรายงานผลการดำเนินงานต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาเมืองเพชร

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

แกนนำผู้ดูแลผู้สูงอายุมีศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี เกิดการเรียนรู้ประสบการณ์สุขภาพร่วมกัน อันจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2563 11:41 น.