กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพิชิตยุงลายป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา
รหัสโครงการ 60-L2483-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนานาค
วันที่อนุมัติ 8 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2560
งบประมาณ 21,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางละมัยยูโซ๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนานาค อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.142,102.07place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (21,500.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากรายงานระบาดวิทยาของ ตำบลนานาค ในปี 2559 พบว่า มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 11 รายคิดเป็นอัตราป่วย 40 ต่อแสนประชากรการระบาดของโรคจะมีการระบาดปีเว้นปี เนื่องจากชุมชนในปัจจุบันได้มีการขยายตัวมากขึ้น แต่ไม่มีการวางแผนควบคุมแมลงนำโรคโดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย จึงส่งผลให้เกิดการแพร่พันธุ์ของยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา ซึ่งโรคนี้มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสายพันธุ์อยู่ตลอดเวลา จากอดีตที่ผ่านมาการระบาดของไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยามักจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน แต่ปัจจุบันพบว่าโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยาสามารถเกิดได้ทุกฤดูกาล และนโยบายการพัฒนาบริการสาธารณสุขได้เปลี่ยนจากเชิงรับมาเน้นการให้บริการในเชิงรุกเพื่อส่งเสริมให้องค์กรในชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลและป้องกันสุขภาพของตนเองมากขึ้นขณะเดียวกันโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยาเป็นโรคที่ป้องกันได้หากประชาชนมีพฤติกรรมป้องกันโรคที่ถูกต้อง การสร้างพฤติกรรมการป้องกันโรคและปลูกจิตสำนึกในการป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยาให้ได้ผลดีนั้น จำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชน องค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน

อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยาลดลงจากค่ามัธยฐาน ๕ ปี ร้อยละ ๒๐ และแต่ละปีมีอัตราป่วยไม่เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากร

2 เพื่อลดอัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา

อัตราป่วยไข้เลือดออกตายไม่เกินร้อยละ ๐.๑๓

3 เพื่อสร้างกระแสความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยาในชุมชน

หมู่บ้านที่สำรวจลูกน้ำยุงลาย มีค่า HI

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 19,500.00 0 0.00
9 มิ.ย. 60 จัดทำป้ายไวนิล 0 0.00 -
13 มิ.ย. 60 จัดซื้อโลชั่นกันยุง 0 7,500.00 -
21 มิ.ย. 60 จัดซื้อสเปรย์ฉีดยุง 0 12,000.00 -

ขั้นที่ ๑ เตรียมการก่อนดำเนินงานตามโครงการ 1.ประสานงานเครือข่ายในการแต่งตั้งทีมคณะทำงานในพื้นที่ในการประชาสัมพันธ์
๒. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอทรัพยากรและงบประมาณสนับสนุนโครงการฯ ๓. จัดทำโครงการและแผนปฏิบัติการเพื่อเสนออนุมัติ

ขั้นที่ ๒ ดำเนินการตามโครงการ
๔. จัดกิจกรรมรณรงค์การสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ทุกหมู่บ้านและทุกหน่วยงาน ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.นานาค ๕. รณรงค์ทำ Big Cleaning Day ทั้งตำบลทุกวันศุกร์ และควบคุมการระบาดของโรคจากผู้ป่วยที่เกิดโดยการพ่นหมอกควัน

ขั้นที่ ๓ สรุปผลและวิเคราะห์ข้อมูล ๖.ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ ๗. รายงานผลตามโครงการให้ผู้บังคับบัญชาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทราบ

ขั้นที่ ๔ การประชาสัมพันธ์โครงการอย่างต่อเนื่อง ๘. ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโรคติดต่อ และโรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ๙. สนับสนุนสื่อความรู้ในการป้องกันโรคไข้เลือดออกทุกหน่วยงานในพื้นที่ ๑๐. ติดตามและสำรวจเก็บบันทึกค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑ ประชาชนเห็นถึงความสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา ๒ อัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกลดลง และไม่เป็นปัญหาสาธารณสุข

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2560 14:09 น.