กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลม่วงงาม
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงงาม
วันที่อนุมัติ 26 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 130,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมมาศ วิไลประสงค์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.347,100.476place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 11000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเรื้อรังเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตนเองหรือคนในครอบครัว เพราะต้องทนอยู่กับความเจ็บป่วยเป็นเวลานาน โรคเรื้อรังที่พบบ่อยคือ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือด และโรคถุงลมโป่งพอง โรคเรื้อรังมักต้องใช้เวลานานกว่าจะควบคุมอาการได้ บางโรคไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
  จาการรวบรวมข้อมูลของกองยุทธศาสตร์ แผนงานสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๒ พบว่า จังหวัดสงขลา มีจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ปี ๒๕๕๙-๒๕๖๑ (รวม ๔ โรค คือโรคความดันโลหิตสูง ,เบาหวาน,หัวใจขาดเลือด,หลอดเลือดสมอง และหลอดลมอักเสบ/ถุงลมโป่งพอง) ต่อประชากร ๑๐๐,๐๐๐ คน มีดังนี้ ปี พ.ศ. โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดลมอักเสบ/ ถุงลมโป่งพอง จำนวน อัตราป่วย จำนวน อัตราป่วย จำนวน อัตราป่วย จำนวน อัตราป่วย จำนวน อัตราป่วย ๒๕๕๙ ๒๔,๙๓๒ ๑,๗๗๓.๑๕ ๑๔,๖๕๘ ๑,๐๔๒.๔๗ ๘,๕๓๔ ๖๐๖.๙๓ ๖,๔๖๙ ๔๖๐.๐๗ ๕,๖๒๕ ๔๐๐.๗๕ ๒๕๖๐ ๒๕,๗๙๑ ๑,๘๒๖.๔๑ ๑๕,๒๑๘ ๑,๐๗๗.๖๗ ๙,๗๑๑ ๖๘๗.๖๙ ๖,๖๓๒ ๔๖๙.๖๕ ๖,๑๐๓ ๔๓๒.๑๙ ๒๕๖๑ ๓๐,๘๓๐ ๒,๑๗๒.๙๘ ๑๗,๘๔๔ ๑,๒๕๗.๖๙ ๑๑,๖๓๑ ๘๑๙.๗๘ ๗,๗๐๐ ๕๔๒.๗๒ ๖,๕๑๖ ๔๕๙.๒๖

    จากข้อมูลดังกล่าวพบว่า จำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับข้อมูลจาก HDC ตำบลม่วงงาม ซึ่งมีจำนวนและอัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปี ๒๕๕๙-๒๕๖๒ ต่อประชากร ๑๐๐,๐๐๐ คน ดังนี้ ปี พ.ศ. โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดลมอักเสบ/ ถุงลมโป่งพอง จำนวน อัตราป่วย จำนวน อัตราป่วย จำนวน อัตราป่วย จำนวน อัตราป่วย จำนวน อัตราป่วย ๒๕๕๙ ๘๖ ๗๑๘.๑๐ ๒๘ ๒๓๓.๘๐ ๑๗ ๐.๑๔ ๑๙ ๑๕๘.๖๕ ๘ ๖๖.๘๐ ๒๕๖๐ ๑๓๗ ๑,๑๔๓.๐๐ ๔๙ ๔๐๘.๘๑ ๑๔ ๐.๑๒ ๑๖ ๑๓๓.๔๙ ๙ ๗๕.๐๙ ๒๕๖๑ ๑๔๙ ๑,๒๓๙.๑๙ ๖๗ ๕๕๗.๒๒ ๙ ๐.๐๗ ๑๘ ๑๔๙.๗๐ ๕ ๔๑.๕๘ ๒๕๖๒ ๑๓๓ ๑,๑๐๒.๒๗ ๕๗ ๔๗๒.๔๐ ๑๔ ๐.๑๒ ๗ ๕๘.๐๑ ๓ ๒๔.๘๖
  ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าว พบจำนวนและอัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีแนวโน้มลดลงในกลุ่มโรคความดันโลหิตสูง,เบาหวาน,โรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดลมอักเสบ/ถุงลมโป่งพองตามลำดับ จากการคัดกรอง ทำกิจกรรมร่วมกันกับชุมชนและภาคีเครือข่ายในเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง เมื่อปี พ.ศ.๒๕๖๒ แต่ยังมีโรคหัวใจขาดเลือดที่ยังพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น     รพ.สต.ม่วงงามเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้มีการจัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลม่วงงามขึ้น เพื่อให้เกิดการวิเคราะห์ชุมชน ถอดบทเรียนหลังใช้มาตรการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพใน ปี พ.ศ.๒๕๖๒ เกิดกิจกรรม “เดิน-วิ่งริมเล”และเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของกิจกรรม ในหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ส่งผลให้ชุมชนเกิดความตระหนัก ร่วมกันดูแลสุขภาพประชาชน ส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพดี ไม่เจ็บด้วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ ๑ เกิดการวิเคราะห์ชุมชน/ ถอดบทเรียนหลังใช้มาตรการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ปี พ.ศ.๒๕๖๒ (๑๐ หมู่บ้าน)

ข้อที่ ๑ ทุกหมู่บ้านเกิดการวิเคราะห์ชุมชน/ถอดบทเรียนหลังใช้มาตรการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ปี พ.ศ.๒๕๖๒

0.00
2 ข้อที่ ๒ ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรม”เดิน-วิ่งริมเลม่วงงามเพื่อสุขภาพ”

ข้อที่ ๒ ประชาชนร้อยละ  ๘๐ มีส่วนร่วมในกิจกรรม”เดิน-วิ่งริมเลม่วงงามเพื่อสุขภาพ”

80.00
3 ข้อที่ ๓ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของกิจกรรมในหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ข้อที่ ๓ เกิดความต่อเนื่องของกิจกรรมในหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
20 ก.พ. 63 มหกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพ 500 67,400.00 -
1 มี.ค. 63 กิจกรรมคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 0 0.00 -
1 ก.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 กิจกรรม “ร่วมมือ ร่วมใจ ร่วมคิด ร่วมทำสู่ความยั่งยืน” 50 51,000.00 -
1 - 31 ส.ค. 63 กิจกรรม “เดินวิ่งริมเลม่วงงาม” 500 12,500.00 -
รวม 1,050 130,900.00 0 0.00

๑. คัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชากรอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ในชุมชนทั้ง ๑๐ หมู่บ้าน ๒. วิเคราะห์ถอดบทเรียนตามรอยมาตรการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันในแต่ละหมู่บ้าน หลังใช้มาตรการหมู่บ้าน ให้สามารถดำเนินกิจกรรมเพื่อสุขภาพได้อย่างต่อเนื่อง และยั่งยืนในชื่อกิจกรรม “ร่วมมือ ร่วมใจ ร่วมคิด ร่วมทำสู่ความยั่งยืน” โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ กรรมการหมู่บ้าน,แกนนำชุมชน อสม.และผู้นำชุมชน ๓. กิจกรรม “เดินวิ่งริมเลม่วงงาม”เพื่อสุขภาพ ระยะทางไป-กลับ ๑๐ กิโลเมตร เป็นการชักชวนให้ประชาชนทุกกลุ่มเข้ามาร่วมออกกำลังกาย ๔. จัดมหกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพโดยมีผู้นำชุมชน อสม. ผู้สูงอายุ ประชาชนทั่วไป รวมถึงภาคีเครือข่ายเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดกิจกรรมหมู่บ้านปรับเปลี่ยน ปิ่นโตสุขภาพ ชมรมออกกำลังกาย แปลงผักปลอดสารพิษ ผู้นำต้นแบบและหมู่บ้านต้นแบบอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ชุมชนเกิดความตระหนัก ร่วมกันดูแลสุขภาพร่วมกัน ส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2563 09:12 น.