กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ติดตามดูแลสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L3359-2-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนถบ
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 11,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1…นางนัยนา ยอดแก้ว 2…นางสุทิตย์ ภูมิลักษณ์ 3...นางจารึก สุขแดง 4…นางสุภาพ มั่นคง 5…นางวานิช หนูนิล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพญาขัน อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.652,100.107place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาสุขภาพด้วยโรคไม่ติดต่อมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่เป็นปัญหาอันดับสองของจังหวัดพัทลุง รองจากโรคเบาหวาน อันตรายจากโรคความดันโลหิตสูง ทำให้เป็นอัมพฤกษ์และอัมพาต พิการ เสียค่าใช้จ่าย และขาดรายได้ ก่อให้เกิดปัญหากับตนเอง ครอบครัว ชุมชน จากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โดยการวัดความดันโลหิตกลุ่มเป้าหมายผู้ที่มีอายุ 35 ขึ้นไปที่ยังไม่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ในหมู่ที่ 1 ,2 ,4 และ หมู่ที่ 6 ตำบลพญาขัน ในปี 2563 ผลการคัดกรอง พบกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มเสี่ยงสูง ร้อยละ 23 จะต้องได้รับการติดตามดูแล โดยการให้คำแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ.2 ส. และการติดตามวัดความดันโลหิตซ้ำตามเกณฑ์ที่กำหนดในแนวทางการดูแลกลุ่มเสี่ยง คือ กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงต้องได้รับการบริการวัดความดันซ้ำ เดือนละ 1 ครั้ง ในส่วนของกลุ่มเสี่ยงสูง ต้องได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิด ด้วยการวัดความดันโลหิตที่บ้าน และต้องวัดด้วยเครื่องวัดความดันโลหิตเครื่องเดิม วันละ 2 ครั้ง ตอนเช้าและตอนเย็น ติดต่อกัน 7 วัน โดยบุคคลในครอบครัว หรืออาสาสมัครสาธารณสุขในเขตรับผิดชอบ เมื่อครบกำหนดแล้วอาสาสมัครสาธารณสุข จะนำผลการวัดความดันโลหิตเพื่อส่งต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อการวินิจฉัย และหากพบว่า เป็นผู้ป่วยรายใหม่ อาสาสมัครสาธารณสุขจะติดตามให้มาพบแพทย์เพื่อรับยา และคำแนะนำ ในรายที่ค่าความดันโลหิตยังอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง หรือเสี่ยง จะให้การดูแลติดตาม วัดความดันโลหิตต่อเนื่องตามแนวทาง ทุก 1-3 เดือน พร้อมกับการให้คำแนะนำเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ต่อไป       จากแนวทางการดูแล กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มเสี่ยงสูงความดันโลหิต จึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์เครื่องวัดความดันโลหิตไว้ประจำที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อใช้ในการดูแล ติดตามกลุ่มเป้าหมาย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จึงได้จัดทำโครงการติดตามดูแลสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2563 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตซ้ำ เดือนละ 1 ครั้ง

กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตซ้ำตามเกณฑ์  ร้อยละ 80

0.00
2 กลุ่มเสี่ยงสูงได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้านวันละ 2 ครั้ง ตอนเช้าและตอนเย็น คนละ 7วันติดต่อกัน

กลุ่มเสี่ยงสูงได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้านร้อยละ 50

0.00
3 กลุ่มเสี่ยงสูงที่ผ่านการวัดความดันโลหิตที่บ้านได้รับการส่งต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อการวินิจฉัย

กลุ่มเสี่ยงสูงที่ผ่านการวัดความดันโลหิตที่บ้านเข้าถึงการวินิจฉัยร้อยละ 100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมชี้แจงการดำเนินงานตามโครงการ
  2. จัดซื้อครุภัณฑ์การแพทย์ เครื่องวัดความดันโลหิต ให้อาสาสมัครสาธารณสุข
  3. ออกติดตามวัดความดันโลหิต กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงสูงโรคความดันโลหิตสูง ตามเกณฑ์ที่กำหนด       -กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตซ้ำ เดือนละ 1 ครั้ง       -กลุ่มเสี่ยงสูงได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้านวันละ 2 ครั้ง ตอนเช้าและตอนเย็น คนละ 7วันติดต่อกัน
          -นำผลการวัดความดันโลหิตส่งต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อการวินิจฉัย
  4. ประเมินผลการดำเนินงานและสรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1. ผู้ป่วยรายใหม่ด้วยโรคความดันโลหิตสูงลดลง       2. มีการเข้าถึงการวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูงที่ถูกต้องและรวดเร็วขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2563 09:59 น.