กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์กำจัดเหาในโรงเรียนตำบลดุซงญอ
รหัสโครงการ 63-L2476-1-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านกาเต๊าะ
วันที่อนุมัติ 11 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 12,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอนุ พันธ์โภชน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.123,101.643place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 412 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็กนักเรียนในโรงเรียนตำบลดุซงญอ
412.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเหา เป็นโรคที่พบบ่อยมากในกลุ่มนักเรียนตั้งแต่ชั้นปฐมวัยจึงถึงประถมศึกษาโดยพบว่ามีนักเรียนติดเหาประมาณ 80-90 % โดยเฉพาะนักเรียนหญิงเกิดจากการไม่รักษาความสะอาดของร่างกาย เครื่องนอน ซึ่งโรคเหานับเป็นโรคที่น่ารังเกียจ สำหรับคนทั่วไป นอกจากนี้ก่อให้เกิดความรำคาญกับผู้ที่เป็นที่เป็นเนื่องจากมีอาการคันศรีษะแล้วยังทำให้เสียสมาธิในการเรียน เสียบุคลิกภาพ เนื่องจากการคันหนังศรีษะ และยังเป็นพาหะนำไปติดผู้อื่นต่อไป วิธีการรักษาเหา จะต้องทำการรักษาผู้ที่เป็นเหาและผู้ที่อยู่ใกล้ชิดควบคู่กันไป โดยต้องทำการควบคุมไม่ให้เหาแพร่กระจาย และป้องกันไม่ให้เกิดการติดเหาซ้ำ โดยใช้ยาเพื่อฆ่าเหา ยามีทั้งในรูปครีม เจล หรือโลชั่น ซึ่งวิธีการรักษาเหารูปแบบดังกล่าวเป็นวิธีที่ทำได้ง่าย และเห็นผลได้ชัดเจน นอกจากนี้ยังพบว่าใบน้อยหน่าสามารถกำจัดเหาได้ดีมาก โดยไม่เป็นอันตรายและไม่มีอาการแพ้เหมือนใช้สารเคมีซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ มาใช้ในการกำจัดเหา และอีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้ผู้ปกครองและนักเรียนได้รู้จักใช้ภูมิปัญญาและสมุนไพรท้องถิ่น ในการรักษาเด็กที่เป็นเหา และป้องกันโรคเหาลดการระบาดต่อไป ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาเต๊าะ จึงได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจัดทำโครงการรณรงค์กำจัดเหาในโรงเรียนตำบลดุซงญอ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ขึ้น เพื่อควบคุมและป้องกันโรคดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้แก่นักเรียนเกี่ยวกับโรคเหา การดูแลตนเองและรักษาโรคเหา

 

412.00
2 เพื่อรักษาและควบคุมการระบาดของโรคเหาในเด็กนักเรียน

 

412.00
3 เพื่อสร้างแกนนำที่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโรคเหาในนักเรียน

 

412.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้ความรู้แก่นักเรียนเกี่ยวกับโรคเหา การดูแลตนเองและรักษาโรคเหา

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อรักษาและควบคุมการระบาดของโรคเหาในเด็กนักเรียน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อสร้างแกนนำที่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโรคเหาในนักเรียน

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

2 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมให้ความรู้ 412.00 6,180.00 -
2 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมหมั่นสาง หมั่นสระ ห่างเหา 412.00 5,920.00 -
2 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ 412.00 700.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. จัดประชุม วางแผน ดำเนินงานและมอบหมายผู้ที่เกี่ยวข้อง
  2. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการกำจัดเหา
  3. ดำเนินกิจกรรมตามแผนงาน โครงการ 3.1 กิจกรรมให้ความรู้แกนนำที่มีส่วนร่วมในการกำจัดเหา 3.1.1 อบรมเชิงปฏิบัติการกิจกรรมเหาหายสบายหัวแก่แกนนำส่งเสริมสุขภาพ 3.1.2 ประเมินความรู้เรื่องโรคเหาสำหรับนักเรียนที่เป็นเหาและแกนนำนักเรียน 3.1.3 ให้ความรู้แก่แกนนำนักเรียนในโรงเรียนที่สนใจในการดูแลรักษาความสะอาด ของร่างกายและศรีษะ ที่จะช่วยป้องกันโรคเหาและลดการแพร่ระบาดต่อไป 3.1.4 สำรวจเหาและสอบถามพฤติกรรมการเป็นเหา 3.2 กิจกรรมหมั่นสาง หมั่นสระ ห่างเหา 3.2.1 ประสานโรงเรียนจัดทำหนังสือแจ้งการเป็นเหา โดยขออนุญาตผู้ปกครองกำจัดเหาและขอความร่วมมือผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรมกำจัดเหาทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน 3.2.2 ประชุมแกนนำส่งเสริมสุขภาพในการจัดหาสมุนไพรกำจัดเหา โดยวางแผนการดำเนินงานร่วมกับแกนนำส่งเสริมสุขภาพและจัดเตรียมสมุนไพรก่อนออกดำเนินการ 3.2.3 ประชุมนักเรียนแกนนำกำจัดเหาเพื่อวางแผนการดำเนินงานร่วมกับครูที่ปรึกษา 3.2.4 ดำเนินการสาธิตแก่นักเรียนแกนนำในโรงเรียนที่ต้องการกำจัดเหาในการสำรวจเหาก่อนกำจัดเหา เทคนิคการกำจัดเหาโดยใช้เวชภัณฑ์ยาอย่างถูกวิธี การใช้สมุนไพรกำจัดเหา 3.2.5 กำกับ ติดตามการดำเนินงานการกำจัดเหา ค้นหารายใหม่และกำจัดเหาซ้ำในรายที่ยังเป็นอยู่ 3.2.6 ส่งต่อเด็กที่เป็นเหาและกลับเป็นซ้ำให้ รพ.สต.ดุซงญอ หรือ อบต.ดุซงญอ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ออกตรวจเยี่ยมบ้านเด็กนักเรียน เพื่อให้ผู้ปกครองช่วยสังเกตและมีส่วนร่วมในการดูแลพฤติกรรมการรักษาความสะอาดตนเองที่บ้านและให้หายขาดจากโรคเหา 3.2.7 ครูประจำชั้นและครูผู้รับผิดชอบอนามัยโรงเรียน ดูแล ติดตาม พฤติกรรมการรักษาความสะอาดของเด็กนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งนักเรียนปลอดเหาและไม่กลับมาเป็นอีก
  4. สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองและนักเรียน สามารถดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายของตนเองได้ถูกต้อง
  2. ผู้ปกครองและนักเรียน สามารถนำสมุนไพรในท้องถิ่นมาใช้กับนักเรียนในการกำจัดเหาได้
  3. ไม่มีการเกิดเหาในนักเรียนรายใหม่
  4. นักเรียนมีสมาธิในการเรียนเพิ่มขึ้น มีบุคลิกภาพดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2563 12:13 น.