กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์หยอดวัคซีนโปลิโอในเด็กอยุ 0-5 ปี ตำบลดุซงญอ
รหัสโครงการ 63-L2476-2-22
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลดุซงญอ
วันที่อนุมัติ 11 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 2,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมูฮัมหมัดรุสดี เจ๊ะเง๊าะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.123,101.643place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 566 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็กที่มีอายุ0-5ปีควรได้รับวัคซีนโปลิโอ
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันมีประเทศที่ยังคงมีการระบาดของโรคโปลิโออยู่ (endemic counties) ใน 4 ประเทศ คือประเทศไนจีเรีย อินเดีย ปากีสถานและอัฟกานิสถาน โดยประเทศอินเดียและไนจีเรียยังคงมีผู้ป่วยจำนวนเท่า ๆ กับปีที่ผ่านมา และมีรายงานการกระจายเชื้อไปยังประเทศใกล้เคียงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพบว่ามีการกระจายเชื้อโปลิโอจาก endemic counties ไปยังประเทศที่เคยปลอดจากโรคโปลิโอ ทำให้กลับมีผู้ป่วยเกิดขึ้นใหม่ในอีก 19 ประเทศ สำหรับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ปลอดจากโปลิโอแล้วกลับมีการระบาดใหม่ ได้แก่ บังคลาเทศ เนปาล อินโดนีเซีย และพม่า ก็ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อโปลิโอจากไนจีเรียและอินเดีย ประกอบกับที่ประเทศไทยมีเด็กเล็กในกลุ่มเด็กด้อยโอกาส เด็กในกลุ่มแรงงานเคลื่อนย้าย อพยพทั้งที่เป็นเด็กไทยและเด็กต่างด้าว ที่อาจจะยังไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอตามระบบปกติ หรือยังได้รับไม่ครบถ้วนตามกำหนด ซึ่งนับเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อที่อาจแพร่ระบาดเข้ามาจากภายนอกประเทศไทย การระดมให้วัคซีนโปลิโอแก่เด็กกลุ่มเป้าหมายพิเศษ จึงเป็นมาตรการสำคัญที่ช่วยเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคโปลิโอในเด็กที่ยังมีภูมิคุ้มกันไม่พอที่จะป้องกันได้ เป็นกลวิธีสำคัญที่ช่วยลดโอกาสการเกิดโรค และการได้รับเชื้อที่อาจนำเข้ามาจากภายนอกประเทศ ในปี พ.ศ. 2558 สถานการณ์การเกิดโรคโปลิโอยังไม่น่าไว้วางใจ เนื่องจากมีปัญหาการระบาดข้ามประเทศจากประเทศที่มีโรคโปลิโอเป็นโรคประจำถิ่นไปยังประเทศที่ปลอดโรคแล้ว โดยพบการระบาดกลับมาใหม่ในประเทศทาจิกิสถาน ภายหลังพบผู้ป่วยโปลิโอรายสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2540 เป็นจำนวนมาก ทำให้ประเทศไทยที่เมื่อก่อนไม่พบผู้ป่วยโปลิโอมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 มีความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดได้ หากมีผู้ได้รับเชื้อเดินทางเข้ามาในประเทศ จึงต้องดำเนินมาตรการกวาดล้างโรคโปลิโออย่างเข้มแข็ง จนกว่าจะมั่นใจว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่มีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคโปลิโอ การรณรงค์ให้วัคซีนโปลิโอในประเทศไทย จึงยังคงต้องดำเนินการต่อไปเพื่อป้องกันเชื้อไวรัสโปลิโอที่อาจถูกนำเข้ามาจากภายนอกประเทศ
ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลดุซงญอ ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้บูรณาการร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านกาเต๊าะ จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์หยอดวัคซีนโปลิโอในเด็กอายุ 0 – 5 ปี ในตำบลดุซงญอ ขึ้น เพื่อรณรงค์และอบรมให้ความรู้แก่ อสม. ในการออกรณรงค์หยอดวัคซีนโปลิโอ ในเด็ก 0 – 5 ปี ให้ครอบคลุมในพื้นที่ตำบลดุซงญอต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์หยอดวัคซีนโปลิโอ ในเด็กอายุ 0 – 5 ปี ให้ครอบคลุมในพื้นที่ตำบลดุซงญอ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อรณรงค์หยอดวัคซีนโปลิโอ ในเด็กอายุ 0 – 5 ปี ให้ครอบคลุมในพื้นที่ตำบลดุซงญอ

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

2 มี.ค. 63 - 1 ก.ค. 63 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ 68.00 700.00 -
2 มี.ค. 63 - 1 ก.ค. 63 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 68.00 1,700.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. เขียนโครงการเสนอต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลดุซงญอ เพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการ
  2. การประชาสัมพันธ์
    • เน้นการประชาสัมพันธ์ผ่านบุคลากรสาธารณสุข อสม. และผู้นำชุมชน
    • แนะนำประชาชนให้ตรวจสอบดูประวัติการได้รับวัคซีนของบุตรหลาน จากสมุดบันทึกประวัติรับวัคซีน ถ้าพบว่าเด็กยังไม่ได้รับวัคซีนตามอายุที่กำหนดไว้ แนะนำให้ผู้ปกครองนำบุตรหลานมารับวัคซีนที่สถานบริการสาธารณสุข ตามวัน เวลา ที่สถานบริการกำหนดให้บริการวัคซีนแก่เด็กในพื้นที่
  3. ขั้นดำเนินการรณรงค์ ฯ รายละเอียดดังนี้
    • ประชุมเจ้าหน้าที่และ อสม. เพื่อซักซ้อมเตรียมการให้พร้อม
    • ตรวจสอบเป้าหมายตามแนวทางการกำหนดกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่รณรงค์
    • สำรวจกลุ่มเป้าหมาย พร้อมประชาสัมพันธ์ แจกบัตรนัด
    • แจ้งจำนวนกลุ่มเป้าหมายแก่ รพ.สต.ดุซงญอ และ รพ.สต.บ้านกาเต๊าะ เพื่อดำเนินการขอเบิกวัคซีน
    • ประสานขอความร่วมมือหน่วยงาน/องค์กร ทั้งภายในและภายนอกที่เป็นเครือข่ายสาธารณสุขเพื่อร่วมดำเนินการรณรงค์
    • ประชาสัมพันธ์นัดหมายบริการ
    • ตรวจสอบความพร้อม 1 สัปดาห์ก่อนออกดำเนินการรณรงค์ ฯ
    • ดำเนินการรณรงค์ให้วัคซีนแก่เด็กในพื้นที่ที่สำรวจไว้ ให้ได้ครอบคลุมทุกบ้าน
    • ออกติดตามเด็กตามรายชื่อที่สำรวจไว้ ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน
    • รวบรวมสรุปผลการดำเนินงาน เพื่อรายงานในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
  4. การนิเทศ ติดตามประเมินผล และควบคุมกำกับ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รายละเอียดดังนี้
    • การตรวจสอบความถูกต้องครอบคลุมของการกำหนดพื้นที่รณรงค์
    • การจัดเตรียมวัคซีนและสำรองวัคซีนไว้ในกรณีที่มีผู้มาขอรับบริการในพื้นที่นอกเขตรณรงค์
    • การประสานงานกับหน่วยที่เกี่ยวข้อง เช่น ครู อสม. ผู้นำชุมชน เป็นต้น
    • การสำรวจกลุ่มเป้าหมายก่อนดำเนินการรณรงค์ ฯ
    • การประชาสัมพันธ์แจ้งข่าวการรณรงค์ ฯ
    • การให้ความรู้ และทำความเข้าใจกับ อสม. และประชาชนในพื้นที่ที่ไม่เป็นกลุ่มเป้าหมายของการรณรงค์ ฯ
    • การจัดทำรายงานผลรณรงค์ ฯ ตามแบบฟอร์มต่าง ๆ ตามที่กำหนดให้ครบถ้วนถูกต้อง
  5. การประเมินผล

    • อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รายงานผลการดำเนินงานการติดตามเด็กตามรายชื่อที่สำรวจไว้
    • จัดส่งข้อมูลให้ รพ.สต.ดุซงญอ สรุปผลรายงานตามแบบ รง FP 6 เพื่อจัดส่งให้สำนักงานสาธารณสุขอำเภอจะแนะ
  6. สรุปผลการดำเนินงานเพื่อรายงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ดุซงญอ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ดำเนินการรณรงค์ให้วัคซีนโปลิโอแก่เด็กในกลุ่มเป้าหมายพิเศษ ได้ความครอบคลุมมากกว่าร้อยละ 90 และติดตามเด็กที่ยังไม่มารับวัคซีนให้ได้รับครบถ้วนทุกคน
  2. ลดอัตราการป่วยและพิการจากสาเหตุการได้รับเชื้อไวรัสโปลิโอ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2563 14:06 น.