กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ พลัง อสม.ร่วมใจช่วยกันทำบ้านปลอดบุหรี่ ในตำบลดุซงญอ
รหัสโครงการ 63-L2476-2-24
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลดุซงญอ
วันที่อนุมัติ 11 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 4,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมูฮัมหมัดรุสดี เจ๊ะเง๊าะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.123,101.643place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 54 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 54 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังควบคุมการบริโภคยาสูบและนักสูบหน้าใหม่
108.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาการสูบบุหรี่ในประเทศไทยทวีความรุนแรง โดยเฉพาะอายุของหน้าสูบหน้าใหม่ ที่ลดน้อยลงและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจสังคม อย่างกว้างขวางและเป็นเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ทำให้รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเป็นจำนวนมาก ถึงแม้ว่ารัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันรณรงค์เพื่อลดจำนวนผู้สูบบุหรี่โดยการใช้มาตรการหลายอย่าง ตั้งแต่การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบถึงปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นจากการสูบบุหรี่ การออกกฎหมายเกี่ยวกับบุหรี่และนโยบายขึ้นภาษีบุหรี่ แต่จากข้อมูลสถิติชี้ให้เห็นว่า การลดจำนวน ผู้สูบบุหรี่ไม่สามารถทำได้ในประชากรทุกกลุ่ม กลุ่มที่หน้าเป็นห่วงและต้องรีบดำเนินการแก้ปัญหา คือ กลุ่มเยาวชน ซึ่งเป็นอนาคตสำคัญของประเทศมีการสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น และกลุ่มสตรีที่พบว่า มีอัตราการสูบบุหรี่ลดลงช้า และมีอายุที่เริ่มสูบบุหรี่ที่เร็วขึ้น รวมทั้งพบว่าผู้ที่สูบบุหรี่ขณะอยู่ในบ้านกับสมาชิกในครัวเรือนทำให้ได้รับอันตรายจาการสูบบุหรี่ยังมีอันตรายจากการสูบบุหรี่ยังคงมีอัตราค่อนข้างสูง ผู้บริโภคยาสูบปัจจุบันอายุ 15 ปีขึ้นไป ระหว่างปี พ.ศ. 2547 - 2554 มีสัดส่วนของผู้สูบบุหรี่ม้วนเองอย่างละ 50% ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 พบว่ามีสัดส่วนของผู้สูบบุหรี่มวนเองในปี พ.ศ. 2560 ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปที่สูบบุหรี่เป็นประจำ นิยมสูบบุหรี่ที่ผลิตจากโรงงานสูงถึงร้อยละ 56 รองลงมาคือบุหรี่ม้วนเองร้อยละ 49.3 ส่วนประเภทอื่นมีร้อยละ 0.1
ด้วยเหตุนี้ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลดุซงญอ ได้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาการสูบบุหรี่ซึ่งยังมีอยู่เป็นจำนวนมากดังกล่าว และสมควรที่จะต้องดำเนินการแก้ไข จึงได้บูรณาการร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านกาเต๊าะ ในการจัดทำโครงการพลัง อสม. ร่วมใจช่วยกันทำบ้านปลอดบุหรี่ในตำบลดุซงญอ ขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและการปฏิบัติในการควบคุมยาสูบ บุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตอันดับต้นของคนไทย ที่สามารถป้องกันได้โดยการช่วยเหลือให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบและป้องกันจำนวนนักสูบหน้าใหม่ให้ห่างไกลจากการสูบต่อไปในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์ในชุมชนใช้สายด่วน 1600 ให้คำปรึกษาในการเลิกบุหรี่ได้

 

108.00
2 เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในชุมชน

 

108.00
3 เพื่อสร้าง/ขยายเครือข่ายเฝ้าระวังควบคุมการบริโภคยาสูบในหมู่บ้าน/ชุมชน

 

108.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 108 3,300.00 3,300.00
1 มิ.ย. 63 - 30 ต.ค. 63 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ 108 700.00 700.00
รวม 216 4,000.00 2 4,000.00
  1. ประชุมชี้แจงการขับเคลื่อนโครงการ แก่ แกนนำสุขภาพ คณะกรรมการมัสยิด ชมรมผู้สูงอายุ อสม. ผู้นำศาสนา และเยาวชนในพื้นที่
  2. เขียนโครงการเสนอต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลดุซงญอ เพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการ
  3. ประชาสัมพันธ์ผู้ที่สนใจและเชิญชวนผู้สูบบุหรี่ในหมู่บ้านเข้าร่วมโครงการ
  4. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขออนุเคราะห์เจ้าหน้าที่ร่วมดำเนินงานและเพื่อเป็นวิทยากรฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการลด เลิก สูบบุหรี่
  5. ประสานจัดหาสถานที่ดำเนินการตามโครงการ
  6. ดำเนินการตามโครงการ จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากพิษภัยของบุหรี่ ให้กำลังใจ และแนะนำการเลิกสูบบุหรี่ หรือระบบการบำบัด
  7. ติดตามการเลิกสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องทุก ๆ 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน โดยไม่กลับมาสูบบุหรี่อีก
  8. รวบรวม สรุปและรายงานผลการดำเนินงานโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดเครือข่ายภาคประชาชนเพื่อร่วมดำเนินงานเฝ้าระวังควบคุมการบริโภคยาสูบในหมู่บ้าน/ ชุมชน
  2. ผู้ที่สูบบุหรี่มีการลดจำนวนการสูบบุหรี่ลดลงอย่างต่อเนื่อง
  3. ชุมชนในเขตตำบลดุซงญอ เป็นชุมชนที่ห่างไกลจากโรคภัยที่มาจากการสูบบุหรี่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2563 14:15 น.