กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุจิตแจ่มใส ร่างกาย แข็งแรง ”
ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส



หัวหน้าโครงการ
นายอับดุลมูบิง ยูโซ๊ะ




ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุจิตแจ่มใส ร่างกาย แข็งแรง

ที่อยู่ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 63-L2476-3-31 เลขที่ข้อตกลง 31/2563

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2563 ถึง 31 กรกฎาคม 2563

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุจิตแจ่มใส ร่างกาย แข็งแรง จังหวัดนราธิวาส" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุจิตแจ่มใส ร่างกาย แข็งแรง



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุจิตแจ่มใส ร่างกาย แข็งแรง " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส รหัสโครงการ 63-L2476-3-31 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กรกฎาคม 2563 - 31 กรกฎาคม 2563 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 27,100.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ผู้สูงอายุ คือ มนุษย์ที่มีอายุอยู่ในช่วงปลายของชีวิต มีช่วงอายุอยู่ระหว่าง 60 ปีขึ้นไป ผู้สูงอายุเป็นผู้ที่ได้มีการสั่งสมวิชาความรู้ต่าง ๆ มามากมายตลอดชีวิต เมื่ออายุมากขึ้น สภาพร่างกาย จิตใจ ตลอดจนการดำรงอยู่ในสังคมของผู้สูงอายุ จะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากวัยอื่น เนื่องจากมีความเสื่อมของการทำงานระบบต่าง ๆ ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะระบบประสาท ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบขับถ่าย ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบกระดูก และกล้ามเนื้อ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ มักจะเกิดขึ้นช้า ๆ ในภาวะปกติอวัยวะของระบบต่าง ๆ ยังทำหน้าที่ได้อย่างปกติ แต่ในภาวะบีบคั้น ไม่ว่าจะเกิดจากทางอารมณ์ หรือทางร่างกาย หรือสังคม จะทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถรักษาสภาวะสมดุลของร่างกายไว้ได้ ทำให้เกิดอาการผิดปกติ และทำให้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ง่าย ผู้ที่ร่วงเข้าวัยผู้สูงอายุนั้น จำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ทั้งอาหารการกิน ความเป็นอยู่ การรักษาตัว การตรวจสุขภาพ สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย ตลอดจนการเอาใจใส่ของบุตรหลานเพื่อให้พวกเขาทั้งหลายสามารถดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีสภาวะจิตร่าเริงสดใสและไม่เป็นภาระของสังคม
วัยสูงอายุ เป็นวัยที่ไม่เพียงแต่มีการเปลี่ยนแปลงทางตรงด้านร่างกายเท่านั้น แต่มีการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ อารมณ์ และสังคมด้วย ซึ่งผลกระทบทั้งต่อผู้สูงอายุ ลูกหลาน และบุคคลใกล้ชิด วัยผู้สูงอายุจะเป็นวัยของการพัฒนาความมั่นคงทางใจหรือความสิ้นหวัง ขึ้นอยู่กับพัฒนาการอันเนื่องมาจากวัยก่อน ถ้าชีวิตดำเนินมาด้วยความเชื่อมั่นว่าตนได้กระทำสิ่งที่เหมาะสมเป็นประโยชน์ ทำให้บุคคลนั้นมีความสงบสุขทั้งกายและใจ แต่ถ้าช่วงชีวิตผ่านมาตนไม่รู้สึกว่าประสบความสำเร็จบุคคลนั้นจะเกิดความรู้สึกสิ้นหวัง ท้อแท้ เนื่องจากหมดโอกาสที่จะแก้ไขได้อีก ทำให้รู้สึกว่ามีชีวิตอยู่โดยปราศจากคุณค่า และสูญเสียศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จนอาจกลายเป็นโรคซึมเศร้า และคิดฆ่าตัวตายได้ในอนาคต ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี มีความคิด ความรู้สึก ความเข้าใจที่มีต่อตนเองในวัยสูงอายุที่ปรากฏและมีการเตรียมตัวช่วยให้เปลี่ยนวัยแห่งการสูญเสียเป็นวัยแห่งโอกาส ได้แก่ โอกาสทำในสิ่งที่ปรารถนา โอกาสเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม โอกาสพัฒนาส่งเสริมสุขภาพกายและจิต โอกาสเลือกวิถีทางดำรงชีวิตที่เหมาะสมและโอกาสเข้าถึงศาสนา มีทัศนคติต่อวัยสูงอายุ การที่ผู้สูงอายุมีความคิด ความเข้าใจ ความรู้สึกที่มีต่อตนเองในภาพรวมและในแต่ละคุณลักษณะได้แก่ ความสวยงาม ความสามารถ ความดี ความถูกต้อง ความภูมิใจในตนเองนั้นจะทำให้เกิดความพึงพอใจในชีวิต และเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณค่าทางสังคม ประสบความสำเร็จในชีวิต
โดยทั่วไปการจัดบริการด้านสุขภาพอนามัยสำหรับผู้สูงอายุ จะมุ่งแก้ปัญหาและสนองความต้องการของผู้สูงอายุทุกภาวะสุขภาพ โดยมีเป้าหมายคือการมีสุขภาพดีและคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีจะสามารถดูแลตนเองได้เป็นอย่างดี แต่ยังคงมีความจำเป็นที่จะได้รับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันความเจ็บป่วย เพื่อดำรงภาวะสุขภาพที่ดีไว้ บริการที่จัดให้ผู้สูงอายุในกลุ่มนี้ จะครอบคลุมการให้ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวต่าง ๆ การสนับสนุน ส่งเสริม ชี้แนะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม บริการต่าง ๆ เหล่านี้สามารถดำเนินการทั้งในสถานบริการและในชุมชน สำหรับผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย จะต้องการบริการรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสภาพ เพื่อให้หายจากโรคและกลับคืนสู่ภาวะปกติ การดำเนินการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค จะต้องดำเนินการอย่างทั่วถึง ครอบคลุมทุกพื้นที่ในตำบลดุซงญอ เพื่อให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ในตำบลสามารถเข้าถึงบริการได้
จากสภาพปัญหาผู้สูงอายุดังกล่าว ศูนย์ส่งเสริมฟื้นฟู และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส ตำบลดุซงญอ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ จึงได้มีแนวคิดจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุจิตแจ่มใส ร่างกายแข็งแรง ในตำบลดุซงญอขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์และรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและสังคม เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพและแก้ไขปัญหาสุขภาพได้ด้วยตนเอง และผู้สูงอายุได้รับการตรวจคัดกรองปัญหาสุขภาพเบื้องต้น โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่พร้อมทั้งส่งเสริมการมีสุขภาพจิตของผู้สูงอายุลดอาการซึมเศร้าดังกล่าวต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์และรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดอาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
  2. เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาสุขภาพได้ด้วยตนเอง
  3. เพื่อเป็นการตรวจสุขภาพและคัดกรองโรคเบื้องต้น หากพบความผิดปกติจะได้ให้คำแนะนำและ/หรือให้ไปตรวจรักษาต่อที่ รพ.สต.ในตำบลต่อไป
  4. เพื่อให้ความรู้ทางด้านสุขภาพอนามัยแก่ผู้สูงอายุและครอบครัว เพื่อให้ผู้สูงอายุปฏิบัติตัวได้ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลตนเอง และเพื่อให้คนในครอบครัวเข้าใจและปฏิบัติต่อผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม
  5. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการรวมกลุ่มในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ อันจะช่วยให้เกิดผลดีต่อผู้สูงอายุ ครอบครัว และสังคม ต่อไป

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ ตรวจและคัดกรองสุขภาพจิตผู้สูงอายุ
  2. กิจกรรมออกกำลังกาย
  3. กิจกรรมประชาสัมพันธ์
  4. กิจกรรมตรวจสุขภาพและคัดกรองผู้สูงอายุเบื้องต้น

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 120
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้สูงอายุได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์และรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดอาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
  2. ผู้สูงอายุมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้นและสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุข
  3. ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาสุขภาพได้ด้วยตนเอง
  4. คนในชุมชนเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุ
  5. ผู้สูงอายุได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุมากขึ้น
  6. สมาชิกในครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอาย

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ ตรวจและคัดกรองสุขภาพจิตผู้สูงอายุ

วันที่ 16 กรกฎาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ และเตรียมตัวข้าสู่วัยผู้สูงอายุ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ผู้สูงอายุได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์และรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดอาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

 

120 0

2. กิจกรรมตรวจสุขภาพและคัดกรองผู้สูงอายุเบื้องต้น

วันที่ 16 กรกฎาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ตรวจและคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุเบื้องต้น เช่น วัดความดันโลหิตสูง คัดกรองเบาหวาน ชั่งน้ำหนัก วัดเอว รณรงค์ลดพุง (โรคอ้วน) ตรวจสุขภาพฟัน (ฟันปลอม) คัดกรองโรคซึมเศร้า เป็นต้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ผู้สูงอายุมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้นและสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุข
  2. ผู้สูงอายุได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุมากขึ้น

 

120 0

3. กิจกรรมออกกำลังกาย

วันที่ 16 กรกฎาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

จัดกิจกรรมทางกาย การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ผู้สูงอายุมีสุขภาพอนมัยที่ดีขึ้นและสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุข
  2. ผูู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพและแก้ไขปัญหาสุขภาพได้้วยตนเอง

 

120 0

4. กิจกรรมประชาสัมพันธ์

วันที่ 16 กรกฎาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ประชาสัมพันธโครงวการให้กลุ่มเป้าหมายทราบ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ผู้สูงอายุได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์และรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดอาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
  2. ผู้สูงอายุมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้นและสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุข
  3. ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพและแก้ไขปัญหาสุขภาพได้ด้วยตนเอง

 

120 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์และรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดอาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
ตัวชี้วัด :
120.00

 

2 เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาสุขภาพได้ด้วยตนเอง
ตัวชี้วัด :
120.00

 

3 เพื่อเป็นการตรวจสุขภาพและคัดกรองโรคเบื้องต้น หากพบความผิดปกติจะได้ให้คำแนะนำและ/หรือให้ไปตรวจรักษาต่อที่ รพ.สต.ในตำบลต่อไป
ตัวชี้วัด :
120.00

 

4 เพื่อให้ความรู้ทางด้านสุขภาพอนามัยแก่ผู้สูงอายุและครอบครัว เพื่อให้ผู้สูงอายุปฏิบัติตัวได้ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลตนเอง และเพื่อให้คนในครอบครัวเข้าใจและปฏิบัติต่อผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม
ตัวชี้วัด :
120.00

 

5 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการรวมกลุ่มในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ อันจะช่วยให้เกิดผลดีต่อผู้สูงอายุ ครอบครัว และสังคม ต่อไป
ตัวชี้วัด :
120.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 120
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ 120
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์และรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดอาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุ (2) เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาสุขภาพได้ด้วยตนเอง (3) เพื่อเป็นการตรวจสุขภาพและคัดกรองโรคเบื้องต้น หากพบความผิดปกติจะได้ให้คำแนะนำและ/หรือให้ไปตรวจรักษาต่อที่ รพ.สต.ในตำบลต่อไป (4) เพื่อให้ความรู้ทางด้านสุขภาพอนามัยแก่ผู้สูงอายุและครอบครัว เพื่อให้ผู้สูงอายุปฏิบัติตัวได้ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลตนเอง  และเพื่อให้คนในครอบครัวเข้าใจและปฏิบัติต่อผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม (5) เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการรวมกลุ่มในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ อันจะช่วยให้เกิดผลดีต่อผู้สูงอายุ  ครอบครัว และสังคม ต่อไป

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ ตรวจและคัดกรองสุขภาพจิตผู้สูงอายุ (2) กิจกรรมออกกำลังกาย (3) กิจกรรมประชาสัมพันธ์ (4) กิจกรรมตรวจสุขภาพและคัดกรองผู้สูงอายุเบื้องต้น

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุจิตแจ่มใส ร่างกาย แข็งแรง จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 63-L2476-3-31

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายอับดุลมูบิง ยูโซ๊ะ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด