กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเยี่ยมบ้านและฟื้นฟูผู้ป่วย ติดเตียง ติดบ้าน ในตำบลดุซงญอ
รหัสโครงการ 63-L2476-3-35
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ
วันที่อนุมัติ 11 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 มิถุนายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 12,880.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุภาพร จิตราช
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.123,101.643place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 64 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน
64.00
2 เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงขาดความรู้ความเข้าใจการปฏิบัติต่อผู้ป่วย
44.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและการขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๓ กำหนดให้ภารกิจด้านการสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส การจัดสวัสดิการสังคมเป็นภารกิจที่ต้องถ่ายโอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประกอบกับนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญด้านสังคมและคุณภาพชีวิต ซึ่งเป็นหลักประกันด้านพื้นฐานของการบริการสาธารณะของรัฐ และเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอ ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และแก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน มาตรา 67 ข้อ 6 ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และคนพิการ ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลถือว่าเป็นบทบาทหน้าที่หลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ คนพิการ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุและคนพิการ ซึ่งผู้สูงอายุและคนพิการสามารถทำคุณประโยชน์ต่อสังคมควบคู่ไปกับลูกหลานคนรุ่นหลังและเป็นแบบอย่างการใช้ชีวิตในอนาคตอย่างมีความสุขและเพื่อเตรียมความพร้อมกรณีประเทศไทยจะเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์” ในปี พ.ศ. 2568 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้พัฒนาระบบบริการ และส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และคนพิการให้มีสุขภาพอนามัยและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เช่น มีระบบเฝ้าระวังสุขภาพ/สุขภาวะด้วยตนเองและครอบครัว การสร้างเครือข่ายการจัดการบริการผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้ด้อยโอกาสที่ทุพพลภาพ เข้าถึงการบริการด้านการแพทย์ตลอดทั้งปี ปัจจุบันพบว่าจำนวนผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้ด้อยโอกาสที่ทุพพลภาพมีเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี ในจำนวนนี้มีผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง และคนพิการถูกทอดทิ้ง ขาดการดูแล และผู้ด้อยโอกาสที่มีฐานะยากจนขาดการดูแลเอาใจใส่ในเรื่องความเป็นอยู่ สุขภาพที่ดีส่งผลกระทบถึงร่างกาย จิตใจ และคุณภาพชีวิตทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
ตำบลดุซงญอเป็นชุมชนใหญ่ มีผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้ป่วยติดเตียง จำนวน 13 ราย ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และผู้ป่วยติดบ้าน จำนวน 51 คน รวมทั้งหมด 64 คน ซึ่งเป็นปัญหาในการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย และจิตใจ การเยี่ยมบ้านเป็นการค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนและทำความเข้าใจกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยติดเตียง เพื่อที่จะได้หาแนวทางแก้ไขให้เหมาะสมกับวิถีของชุมชน การเยี่ยมบ้านและฟื้นฟูผู้ป่วยติดเตียง ถือเป็นการประเมินสุขภาพของประชาชน และการป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวบุคคล และการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะโรคแทรกซ้อนของการที่เกิดโรคขึ้นมาใหม่และเป็นการสร้างขวัญกำลังใจด้วย ผู้ป่วยนอนติดเตียงส่วนใหญ่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย และมีแนวโน้มผู้ป่วยจำนวนมากขึ้น บางรายมีแผลกดทับ บางรายต้องให้อาหารทางสายยาง การดูแลผู้ป่วยที่นอนติดเตียงที่บ้านจึงต้องอาศัยบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ พร้อมทั้งอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ที่มีความสะอาด สะดวก ปลอดภัย กับผู้ป่วย เป้าหมายสูงสุดต้องมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี สมเกียรติ มีศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบล จึงได้บูรณาการร่วมกับศูนย์ส่งเสริมฟื้นฟู และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส ตำบลดุซงญอ,โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านกาเต๊าะ ในการบริการสวัสดิการทางสังคมโดยการออกเยี่ยมบ้านและฟื้นฟูผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน กลุ่มผู้ป่วยต่าง ๆ ในตำบลดุซงญอ และได้เล็งเห็นว่าหากผู้ดูแลผู้ป่วยมีความรู้ มีทักษะการดูแลผู้ป่วยโดยการเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริง และได้รับการฟื้นฟูอย่างถูกต้องต่อเนื่องผู้ป่วยจะสามารถใช้ชีวิตประจำวัน และอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขและเสียชีวิตอย่างมีคุณค่า จึงได้จัดทำโครงการเยี่ยมบ้านและฟื้นฟูผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน ในตำบลดุซงญอขึ้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยนอนติดเตียง (Home Ward / Home Care) และเสริมสร้างความรู้ให้กับผู้ดูแลมากขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อดูแลสร้างเสริมสุขภาพ ฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน ในตำบลดุซงญอ

 

64.00
2 เพื่ออบรมเสริมความรู้ เพิ่มพูนทักษะผู้ดูแลผู้ป่วยนอนติดเตียง ในการดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี

 

44.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยนอนติดเตียง ติดบ้าน สามารถฟื้นฟู สมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ สามารถช่วยเหลือตนเองได้

 

64.00
4 เพื่อลงพื้นที่เยี่ยมบ้านติดตามอาการผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงในตำบลดุซงญอ

 

64.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 260 12,880.00 4 12,880.00
30 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมประชุมชี้แจงคณะทำงาน 44 1,100.00 1,100.00
30 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้ดูแล และ cg 82 4,180.00 4,180.00
30 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมเพื่อนเยี่ยมเพื่อน (ผู้สูงอายุ) 26 6,900.00 6,900.00
30 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ 108 700.00 700.00
  1. สำรวจข้อมูลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้องรัง คนพิการและผู้ด้อยโอกาสที่ทุพพลภาพ ที่ไม่สามารถออกไปข้างนอกได้ ทั้งหมด 8 หมู่บ้าน
  2. ประชุมคณะกรรมการศูนย์ ฯ, เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง อบต.ดุซงญอ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดุซงญอ รพ.สต.บ้านกาเต๊าะ เพื่อวางแผนดําเนินงานตามกิจกรรม
  3. เขียนโครงการนําเสนอ เพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลดุซงญอ
  4. ติดต่อประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขออนุเคราะห์เจ้าหน้าที่ร่วมดำเนินงาน
  5. ประสานติดต่อวิทยากรในการอบรมให้ความรู้เรื่องการนวดแผนไทย หรือกายภาพบำบัด
  6. ดำเนินการจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ดูแล และ cg เพื่อฟื้นฟูผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง
  7. ดำเนินการจัดทำตารางการลงเยี่ยม จัดเตรียมเอกสารและวัสดุอุปกรณ์ สำหรับการออกเยี่ยมผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้านกลุ่มเป้าหมาย
  8. ดำเนินการออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดเตียง และติดบ้าน และสำรวจค้นหาผู้ป่วยนอนติดเตียงรายใหม่ ในตำบลดุซงญอ
  9. สรุปผลการตรวจเยี่ยมและรายงานประเมินผลโครงการ โดยประเมินความพึงพอใจในการออกเยี่ยม และติดตามการดูแลตนเองของผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้านอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน สามารถลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเจ็บป่วยได้
  2. ผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน มีความรู้เรื่องการทำกายภาพบำบัดและการดูแลตนเองมากขึ้น
  3. ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน มีความรู้ในการทำกายภาพบำบัด และมีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้านอย่างถูกวิธีมากขึ้น
  4. ผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้านได้รับการลงเยี่ยมและการดูแลช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง
  5. ผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน ได้รับการส่งเสริมป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพ ทั้งร่างกายและจิตใจ
  6. เกิดการระดมความคิดเห็นและเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาของทุกภาคส่วน ในการดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ต่อไป
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2563 15:23 น.