กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชาวม่วงงามร่วมใจป้องกันมะเร็งปากมดลูกด้วยการคัดกรองเชิงรุก บุกถึงประตูบ้าน
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงงาม
วันที่อนุมัติ 26 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 86,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมมาศ วิไลประสงค์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.347,100.476place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในสตรีไทย ซึ่งมีผู้ป่วยรายใหม่ปีละประมาณ ๗,๐๐๐ คน ส่วนใหญ่พบในช่วงอายุ มากกว่า ๓๕ ปี ส่วนใหญ่ผู้ที่เป็นมักไม่มีอาการใดๆ จนกว่าจะกลายเป็นระยะที่ลุกลามแล้ว ซึ่งยากต่อการรักษาให้หายขาด อย่างไรก็ดี โรคนี้สามารถตรวจคัดกรองและสืบค้นได้ตั้งแต่เซลล์เริ่มผิดปกติ การดำเนินโรคแบบค่อยเป็นค่อยไป ใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน และปากมดลูกเป็นอวัยวะที่อยู่ในตำแหน่งที่สามารถตรวจวินิจฉัยได้ง่ายกว่าอวัยวะอื่น ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรกที่จะเป็นมะเร็ง หรือก่อนที่จะเป็นมะเร็งระยะลุกลาม การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจึงสามารถช่วยลดอุบัติการณ์ของโรคได้     จากข้อมูล HDC สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา อัตราการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ล่าสุด ปี พ.ศ.๒๕๖๒ ตำบลม่วงงามมีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๒,๑๑๗ คน กลุ่มเป้าหมายเข้ารับการคัดกรองเพียง ๑,๒๖๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๙.๘๕ ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ สตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปีต้องได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๘๐   ในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ รพ.สต.ม่วงงามจึงมีแนวทางในการดำเนินงานเชิงรุก เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้ครอบคลุม ผ่านเกณฑ์ โดยจัดทำโครงการชาวม่วงงามร่วมใจป้องกันมะเร็งปากมดลูก ด้วยการคัดกรองเชิงรุก บุกถึงประตูบ้าน ขึ้น เชื่อว่าหากกลุ่มเป้าหมายคือ สตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปี มีความรู้ เกิดความตระหนักถึงพิษภัยของโรค ร่วมกันเฝ้าระรังการเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก และได้รับการตรวจคัดกรองอย่างครอบคลุมทั่วถึง จะสามารถติดตามและส่งต่อกลุ่มเป้าหมายที่พบความผิดปกติให้ได้รับการตรวจวินิจฉัย รักษาโดยแพทย์เฉพาะทางได้อย่างรวดเร็ว ทันท่วงที ส่งผลให้อัตราการป่วยและตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกลดลง กลุ่มเป้าหมายมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ ๑ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ร่วมเฝ้าระวังการเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก

ข้อที่ ๑ กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้  ร่วมเฝ้าระวังการเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก ไม่น้อยกว่า ร้อยละ  ๘๐

80.00
2 ข้อที่ ๒ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก

ข้อที่ ๒ กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก ไม่น้อยกว่า ร้อยละ  ๘๐

80.00
3 ข้อที่ ๓ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการติดตามส่งต่อพบแพทย์ในรายที่พบความผิดปกติ

ข้อที่ ๓ กลุ่มเป้าหมายได้รับการติดตามส่งต่อพบแพทย์ในรายที่พบความผิดปกติ ร้อยละ ๑๐๐

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 - 31 มี.ค. 63 กิจกรรมประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการ 0 0.00 -
1 มี.ค. 63 - 30 เม.ย. 63 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย 50 86,000.00 -
1 พ.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 0 0.00 -
1 ส.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมติดตามและส่งต่อกลุ่มเป้าหมายที่พบความผิดปกติ 0 0.00 -
รวม 50 86,000.00 0 0.00

๑. ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการในเวทีประชุมสัญจรภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น แกนนำสุขภาพ เป็นต้น ๒. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนกลุ่มเป้าหมาย (สตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปี) เข้าร่วมกิจกรรม ๓. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก พร้อมทั้งเชิญชวนกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรอง ในชุมชนทั้ง ๑๐ หมู่บ้าน อย่างน้อยหมู่บ้านละ ๕๐ คน ๔. จัดบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสถานบริการและเชิงรุกในชุมชน โดยเจ้าหน้าที่และอสม.ติดตามกลุ่มเป้าหมายให้เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกถึงบ้านทุกราย ๕. ติดตามและส่งต่อกลุ่มเป้าหมายที่พบความผิดปกติ ๖. วิเคราะห์ สรุปผล/ ประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

อัตราการป่วยและตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกลดลง กลุ่มเป้าหมายมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2563 16:45 น.