กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 60-L7892
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำลอง
วันที่อนุมัติ 4 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 31 ธันวาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 45,415.40 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอนุสรณ์ขะมิโดย
พี่เลี้ยงโครงการ นายอะหมัดหลีขาหรี
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่าย ในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ตำบลนาทวี เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก จะเห็นได้ว่าอัตราการป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาด ของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน พฤษภาคม – ธันวาคม ของทุกปี ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยแนวคิด การตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและส่งแวดล้อม ดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำลอง จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ขึ้นเพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน

จำนวนผู้ป่วย/อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงหรือไม่มี

2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถดูแลป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออกได้

3 เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเอง ร่วมกันป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน

ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

4 เพื่อให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

5 เพื่อป้องกัน ควบคุมและลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

ผลการสำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลาย (HI,CI) ลดลง หรือ เท่ากับ ๐

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดประชุมประชาคม เพื่อทราบความต้องการของงประชาชน 2.เสนอโครงการของงบประมาณ 3.ชี้แจงโครงการ/ประสานงาน แก่ผู้เกี่ยวข้อง 4.จัดซื้อ จัดหาวัสดุอุปกรณ์ ในการดำเนินงาน 5.ประชาสัมพันธ์โครงการ 6.ดำเนินกิจกรรมตามแผนฯ - รณรงค์ให้ชุมชนร่วมมือกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในชุมชน - ประสาน อสม. ในพื้นที่ใส่เคมีทรายอะเบทในตุ่มน้ำใช้ในครัวเรือน และพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย - กรณีที่มีผู้ป่วยไข้เลือดออก มีการให้สุขศึกษาเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก สำรวจแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายและทำการพ่นหมอกควันรัศมี 100 เมตร นับจากบ้านผู้ป่วย รวมทั้งหมด ๓ ครั้ง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.จำนวนผู้ป่วย/อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงหรือไม่มี 2.ผลการสำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลาย (HI,CI) ลดลง หรือ เท่ากับ ๐ 3.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถดูแลป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออกได้ 4.ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ 5.ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2560 20:52 น.