กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการห่วงใย ใส่ใจ ดูแลสุขภาพผู้สูงวัยติดบ้าน ติดเตียง อบต.นาเกตุ ”
ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี



หัวหน้าโครงการ
นายพล อินทโกษี




ชื่อโครงการ โครงการห่วงใย ใส่ใจ ดูแลสุขภาพผู้สูงวัยติดบ้าน ติดเตียง อบต.นาเกตุ

ที่อยู่ ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 63-LNK-3-01 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 17 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 30 กันยายน 2563

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการห่วงใย ใส่ใจ ดูแลสุขภาพผู้สูงวัยติดบ้าน ติดเตียง อบต.นาเกตุ จังหวัดปัตตานี" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาเกตุ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการห่วงใย ใส่ใจ ดูแลสุขภาพผู้สูงวัยติดบ้าน ติดเตียง อบต.นาเกตุ



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการห่วงใย ใส่ใจ ดูแลสุขภาพผู้สูงวัยติดบ้าน ติดเตียง อบต.นาเกตุ " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี รหัสโครงการ 63-LNK-3-01 ระยะเวลาการดำเนินงาน 17 กุมภาพันธ์ 2563 - 30 กันยายน 2563 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 249,000.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาเกตุ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

วัยสูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีระของร่างกาย การทำหน้าที่ของร่างกายลดลงทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรค โดยเฉพาะโรคเรื้อรังซึ่งเป็นปัญหาทางสุขภาพที่สำคัญของผู้สูงอายุ (จีราพร ทองดีและคณะ, 2553 : 90) จากสถานการณ์ด้านโครงสร้างประชากรในปัจจุบันซึ่งมีประชากรรวม 64.5 ล้านคน พบว่า มีจำนวนผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 9.4 ล้านคน หรือคิดเป็น 14.57% ของประชากรรวม มีจำนวนผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวน 6.3 ล้านคน หรือคิดเป็น 9.77% ของประชากรรวม จากข้อมูลดังกล่าวเกิดผลกระทบ ทำให้เกิดความชุกเพิ่มมากขึ้นของโรคที่เกี่ยวเนื่องกับความเสื่อมถอยของอวัยวะ นอกจากนี้จะพบโรคของผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องการการดูแลระยะยาว ทำให้ค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพเพิ่มสูงขึ้นตามการสูงวัยของประชากร ส่วนผลทางด้านเศรษฐกิจและสังคม พบว่า อัตราการพึ่งพิงของประชากรสูงอายุต่อคนวัยทำงานของประเทศไทย ในปีพ.ศ. 2553 วัยทำงาน 100 คน ต้องดูแลผู้สูงอายุ 19.7 คน ซึ่งในปีพ.ศ. 2563 วัยทำงาน 100 คน ต้องดูแลผู้สูงอายุ 30.3 คน เมื่อพิจารณาถึงสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านบริการสุขภาพของภาครัฐ ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในปี 2553 รวมเท่ากับ 2.2% เป็นภาระค่าใช้จ่ายบริการสุขภาพของผู้สูงอายุ เท่ากับ 0.6% คิดเป็น 27% ของค่าใช้จ่ายด้านบริการสุขภาพทั้งหมด ซึ่งคาดการณ์ว่าในปี 2565 รวม เท่ากับ 2.8% เป็นภาระค่าใช้จ่ายบริการสุขภาพของผู้สูงอายุเท่ากับ 1.1% คิดเป็น 39% ของค่าใช้จ่ายด้านบริการสุขภาพทั้งหมด
นโยบายหลักในการบริหารประเทศภายในช่วงระยะเวลา 4 ปี ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ คือ นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต โดยการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตั้งแต่ในช่วงตั้งครรภ์ วัยเด็ก วัยเจริญพันธุ์ วัยบรรลุนิติภาวะ วัยชรา และผู้พิการ โดยสนับสนุนโครงการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ เพื่อดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ส่วนนโยบายความมั่นคงของชีวิตและสังคม ให้มีการเสริมสร้างให้ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะต่างๆ สำหรับรองรับผู้สูงอายุและคนพิการ สร้างความพร้อมในการเป็นสังคมผู้สูงอายุ พัฒนาบริการสุขภาพอนามัย ให้การสงเคราะห์ จัดการศึกษา จัดสวัสดิการ รวมถึงหาอาชีพให้แก่ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และสนับสนุนให้ผู้สูงอายุร่วมเป็นพลังขับเคลื่อนสังคมภายใต้หลักคิดที่ว่า ผู้สูงอายุเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์สูง สมควรให้มามีส่วนร่วมในการพัฒนาบ้านเมือง
การมีส่วนร่วมเป็นการที่กลุ่มบุคคลที่มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกขั้นตอนของโครงการหรือกิจกรรม เข้ามาร่วมกระทำกิจกรรมให้เกิดการพัฒนา และมีส่วนในการตัดสินใจ การกำหนดนโยบาย กำหนดวัตถุประสงค์และแผนงานร่วมกันกับผู้ที่เกี่ยวข้อง และปฏิบัติงานตามแผนงานของโครงการ รวมทั้งได้รับประโยชน์จากการมีส่วนร่วมในกระบวนการ หรือกิจกรรมนั้นๆทั้งทางตรงและทางอ้อม ในที่นี้คือการที่ผู้สูงอายุ ครอบครัวเข้ามีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดสวัสดิการ     เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามมาตรฐาน เพราะถ้ากิจกรรมการใดๆก็ตามที่มีผู้สูงอายุและครอบครัวที่มีความรู้สึกเป็นเจ้าของและร่วมกิจกรรมแล้ว กิจกรรมนั้นจะสำเร็จและดำรงอยู่ได้อย่างถาวร ในการมีส่วนร่วมต้องให้ผู้สูงอายุและครอบครัวมีความรู้มีความเข้าใจในกระบวนการนั้นอย่างถ่องแท้ สามารถมองเห็นและคาดหวังในผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อตนเองต่อครอบครัวต่อชุมชนอีกทั้งได้รับข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับตนเองหรือตรงกับปัญหาของตนเอง และแสวงหาหาแนวทางในการแก้ไขเพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลง จนเกิดการตัดสินใจเข้าร่วม ถือว่ามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินกิจกรรมให้สอดคล้องกับความเป็นจริงของชุมชนนำไปสู่ความยั่งยืนของกิจกรรม และการดำเนินการกิจกรรมนั้นจะประสบความสำเร็จ ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องศึกษาถึงวัตถุประสงค์ของนโยบายที่ได้รับ เพราะจะช่วยทำให้ผู้ปฎิบัติดำเนินกิจกรรมไปในแนวทางเดียวกันมาตรฐานการสงเคราะห์ผู้สูงอายุ มีความครอบคลุมในด้านการดูแลสุขภาพและการรักษาพยาบาล ในการจัดให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุเกี่ยวกับสุขภาพ มีการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพตามจำนวนเงินที่กฎหมายกำหนดเพื่อเป็นรายได้กับผู้สูงอายุ มีการจัดหาที่พักอาศัย ให้แก่ผู้สูงอายุตามความจำเป็น นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมในวันสำคัญต่างๆ มีการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ พาผู้สูงอายุไปสันทนาการ มีศูนย์ให้การช่วยเหลือและคุ้มครอง และมีเครือข่ายที่เกื้อหนุนในการจัดกิจกรรมต่างๆ เห็นได้ว่า กิจกรรมดำเนินการทั้งหมดเป็นการดูแลให้การช่วยเหลือแบบองค์รวม ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม เศรษฐกิจ รวมถึงครอบครัว แสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐที่เป็นผู้ให้ ผู้สูงอายุ รวมทั้งครอบครัว ชุมชน จึงจะทำให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆในการจัดสวัสดิการสำเร็จ แม้ว่าสังคมไทยจะมีนโยบายและแผนเกี่ยวกับผู้สูงอายุมาอย่างต่อเนื่อง แต่มีลักษณะเป็นนโยบายทั่วไปที่ใช้กับผู้สูงอายุในขอบเขตทั่วทั้งประเทศ ยังไม่มีแผนหรือนโยบายที่ใช้สำหรับจัดการกับปัญหาผู้สูงอายุในลักษณะเฉพาะพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งมีสถานการณ์ทางการเมืองที่มีความรุนแรงสูงและผู้คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม จึงอาจทำให้ไม่สามารถตอบสนองปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุได้อย่างครอบคลุมในมิติต่างๆ ของชีวิต องค์การบริหารส่วนตำบลนาเกตุ สามารถนำผู้สูงอายุในตำบล ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามมาตรฐานการสงเคราะห์ผู้สูงอายุอย่างครอบคลุมและทั่วถึง รวมทั้งเป็นแนวทางให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องนำไปให้การดูแลช่วยเหลือและจัดสวัสดิการผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ดำรงชีวิตในชุมชนและสังคมได้อย่างสันติสุข และยั่งยืน สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ตามอัตภาพไม่เป็นภาระแก่ผู้อื่น ซึ่งจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุต่อไปได้ โดยการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่แข็งแรง เคลื่อนไหลได้สะดวก ร่างกายแข็งแรงตามความเหมาะสมกับร่างกายที่สามารถดำเนินการได้ แต่ยังมีประชาชนอีกส่วนหนึ่งที่เป็นผู้สูงอายุที่ได้รับการเจ็บป่วยไม่สามารถดูแลตัวเองได้ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาเกตุ มีผู้สูงอายุติดบ้าน 62 คน ติดเตียง 9 คน และได้มีทีมงาน Long Term Care ประกอบด้วย Caregiver เป็นผู้ดูแล Caregiver มีหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านและติดสังคม ในการรักษาเบื้องต้น การดูแลให้ผู้สูงอายุกินอาหาร กินยาตามเวลาและจัดสถานที่อยู่อาศัยให้เหมาะสม สะอาด ปลอดภัยต่อผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุเหล่านี้มีปัญหาไม่มีแพมเพอร์สสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่ง 1 คน จะใช้ 2 ชิ้นต่อวัน และเครื่องเจาะเบาหวาน เครื่องวัดความดันที่มีอยู่ในศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุชำรุดไม่สามารถใช้การได้เนื่องจากชำรุดด้วยอายุการใช้งาน ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วนตำบลนาเกตุ จึงจัดทำโครงการห่วงใย ใส่ใจ ดูแลสุขภาพผู้สูงวัยติดบ้าน ติดเตียง อบต.นาเกตุ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ขึ้นมาเพื่อขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานของท่านต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อจัดให้ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงและผู้ด้อยโอกาสตำบลนาเกตุ มีกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่เหมาะสมกับการดูแลสุขภาพให้ร่างกายแข็งแรง สุขภาพดีต่อไป
  2. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลสุขภาพที่ถูกสุขลักษณะอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันสำหรับผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสตำบลนาเกตุ ในศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตำบลนาเกตุ
  3. เพื่อสนับสนุนให้มีเครื่องมือ อุปกรณ์สำหรับตรวจคัดกรองดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส ที่เหมาะสมใช้งานได้อย่างมีคุณภาพ และการส่งเสริมการป้องกันและการดูแลสุขภาพตนเอง เป็นต้น

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. สนับสนุนให้มีเครื่องมือ อุปกรณ์สำหรับตรวจคัดกรองดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส ที่เหมาะสมใช้งานได้อย่างมีคุณภาพ และการส่งเสริมการป้องกันและการดูแลสุขภาพตนเอง

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ทำให้ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงและผู้ด้อยโอกาสตำบลนาเกตุ มีกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่เหมาะสมกับการดูแลสุขภาพให้ร่างกายแข็งแรง สุขภาพดีต่อไป
  2. ผู้สูงอายุได้รับการดูแลสุขภาพที่ถูกสุขลักษณะอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันสำหรับผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสตำบลนาเกตุ ในศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตำบลนาเกตุ
  3. ส่งเสริมสนับสนุนให้มีเครื่องมือ อุปกรณ์สำหรับตรวจคัดกรองดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส ที่เหมาะสมใช้งานได้อย่างมีคุณภาพ และการส่งเสริมการป้องกันและการดูแลสุขภาพตนเอง เป็นต้น

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. สนับสนุนให้มีเครื่องมือ อุปกรณ์สำหรับตรวจคัดกรองดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส ที่เหมาะสมใช้งานได้อย่างมีคุณภาพ และการส่งเสริมการป้องกันและการดูแลสุขภาพตนเอง

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563

กิจกรรมที่ทำ

1.สำรวจสภาพปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงและผู้ด้อยโอกาสในพื้นที่ตำบลนาเกตุ ประชุมคณะกรรมการผู้สูงอายุ ผู้นำชุมชน แกนนำ เพื่อเขียนโครงการสนับสนุน 2.จัดทำโครงการเพื่อรับการสนับสนุนงบประมาณ 3.ขอรับการสนับสนุนการจัดกิจกรรมดูแลสุขภาพส่งเสริมคุณภาพชีวิต 4.ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส 5.ติดตามและประเมินผลความก้าวหน้าของโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.กลุ่มเป้าหมายได้รับการดูแลสุขภาพที่ถูกสุขลักษณะ อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน 2.กลุ่มเป้าหมายมีกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่เหมาะสม 3.สนับสนุนให้มีเครื่องมือ อุปกรณ์สำหรับตรวจคัดกรองดุแลสุขภาพ

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ส่งเสริมสนับสนุนให้มีเครื่องมือ อุปกรณืสำหรับตรวจคัดกรองดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสที่เหมาะสมใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและส่งเสริมการป้องกันและการดูแลสุขภาพตนเอง

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อจัดให้ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงและผู้ด้อยโอกาสตำบลนาเกตุ มีกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่เหมาะสมกับการดูแลสุขภาพให้ร่างกายแข็งแรง สุขภาพดีต่อไป
ตัวชี้วัด :
0.00

 

2 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลสุขภาพที่ถูกสุขลักษณะอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันสำหรับผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสตำบลนาเกตุ ในศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตำบลนาเกตุ
ตัวชี้วัด :
0.00

 

3 เพื่อสนับสนุนให้มีเครื่องมือ อุปกรณ์สำหรับตรวจคัดกรองดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส ที่เหมาะสมใช้งานได้อย่างมีคุณภาพ และการส่งเสริมการป้องกันและการดูแลสุขภาพตนเอง เป็นต้น
ตัวชี้วัด :
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อจัดให้ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงและผู้ด้อยโอกาสตำบลนาเกตุ มีกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่เหมาะสมกับการดูแลสุขภาพให้ร่างกายแข็งแรง สุขภาพดีต่อไป (2) เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลสุขภาพที่ถูกสุขลักษณะอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันสำหรับผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสตำบลนาเกตุ ในศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตำบลนาเกตุ (3) เพื่อสนับสนุนให้มีเครื่องมือ อุปกรณ์สำหรับตรวจคัดกรองดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส ที่เหมาะสมใช้งานได้อย่างมีคุณภาพ และการส่งเสริมการป้องกันและการดูแลสุขภาพตนเอง เป็นต้น

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) สนับสนุนให้มีเครื่องมือ อุปกรณ์สำหรับตรวจคัดกรองดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส ที่เหมาะสมใช้งานได้อย่างมีคุณภาพ และการส่งเสริมการป้องกันและการดูแลสุขภาพตนเอง

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการห่วงใย ใส่ใจ ดูแลสุขภาพผู้สูงวัยติดบ้าน ติดเตียง อบต.นาเกตุ จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 63-LNK-3-01

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายพล อินทโกษี )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด