กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมโภชนาการในเด็กวัย 4-12 ปี
รหัสโครงการ 60-L5200-3-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนเทศบาลตำบลนาทวี
วันที่อนุมัติ 25 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 31 มีนาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 49,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวเสาวณีย์ขวัญอ่อน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาทวี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.693,100.777place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโภชนาการที่ดี เป็นรากฐานสำคัญของการมีสุขภาพที่ดีตลอดชีวิตโดยเฉพาะในช่วงที่มีการเจริญเติบโตตั้งแต่ในครรภ์มารดาจนถึงวัยรุ่น เนื่องจากการเจริญเติบโตมีทั้งด้านสมองและร่างกาย หากขาดอาหาร สิ่งที่พบเห็นคือ เด็กตัวเล็ก ผอม เตีย ซึ่งเป็นการแสดงออกทางด้านร่างกาย แต่ผลที่เกิดขึ้นมิใช่แค่เพียงด้านร่างกายเท่านั้น ยังมีผลต่อการพัฒนาสมองด้วยทำให้สติปัญญาต่ำ เรียนรู้ช้า ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันเด็กในวัยเรียนอยู่ในภาวะความเสี่ยงด้านสุขภาพอย่างน่าเป็นห่วง เนื่องจากเด็กต้องบริโภคอาหารพืชผัก และผลไม้ที่ไม่ปลอดภัย ทำให้มีการสะสมสารพิษภายในร่างกายเป็นระยะเวลานาน อาจก่อให้เกิดภาวะความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและเกิดโรคชนิดต่างๆ ได้ และมีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก เมื่อเป็นผู้ใหญ่ประสิทธิภาพการทำงานจะต่ำ ส่งผลการพัฒนาประเทศในอนาคต กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมสุขภาพจิต ได้สำรวจไอคิว-อีคิว เด็กไทยปี 2559 เฉลี่ยประเทศอยู่ที่ 98.2 เพิ่มขึ้นจาก 5 ปีก่อน แต่ยังต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานสากล ไอคิวเด็กไทยพบว่าเกิน 100 ใน 42 จังหวัด ระดับสติปัญญา (ไอคิว) และระดับความฉลาดทางอารมณ์ (อีคิว) ประจำปี 2559 ในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทั่วประเทศ จำนวน 23,644 คน พบว่า คะแนนไอคิวเฉลี่ยอยู่ที่ 98.2 เพิ่มจากปี 2554 ที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 94 แต่ยังต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานสากล ซึ่งกำหนดไว้ที่ 100 โดยภาพรวมเด็กมีไอคิวอยู่ในเกณฑ์ปกติ 2 ใน 3 หรือร้อยละ 68 โดยเด็กที่มีไอคิวสูงเกิน 100 ขึ้นไป มีอยู่ 42 จังหวัด เด็กในเขตอำเภอเมือง มีไอคิว 101.5 นอกเขตอำเภอเมือง ไอคิวเฉลี่ย 96.9 ยังมีเด็กนักเรียนในอีก 35 จังหวัด ที่ไอคิวอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และเด็กที่มีระดับสติปัญญาบกพร่องหรือต่ำกว่า 70 ร้อยละ 5.8 ซึ่งเกณฑ์มาตรฐานสากลกำหนดว่าไม่เกินร้อยละ 2 ส่วนมากเป็นเด็กที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉีย งเหนือและภาคใต้ ในส่วนของกลุ่มของเขตสุขภาพที่ 12 (ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา สตูล ตรัง พัทลุง) มีไอคิวเพิ่มขึ้นจากปี 2554 โดยคะแนนไอคิวเฉลี่ยอยู่ที่ 94.76 ซึ่งยังต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานสากล เด็กวัยเรียน 4-12 ปี จะเจริญเติบโตและมีพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจ รวมทั้งการเรียนรู้อันเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะนำไปสู่ชีวิตที่มีคุณภาพในอนาคต ดังนั้นอาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะุถ่าเด็กในวัยนี้ได้รับอาหารไม่เพียงพอหรือไม่เหมาะสม จะส่งผลทำให้เก็กแคระแกรน สติปัญญาทึบ ไม่มีความพร้อมในการเรียน ประสิทธิภาพการเรียนรู้และการทำงานต่ำ และจากการประเมินภาวะโภชนาการ พบว่าเด็กโรงเรียนเทศบาลตำบลนาทวี ในปีการศึกษา 2559 จากเด็กทั้งหมด 426 คน มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ 18 คน คิดเป็นร้อยละ 4.23 น้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์ 56 คน คิดเป็นร้อยละ 13.15 ภาวะเสี่ยง 30 คน คิดเป็นร้อยละ 13.82 และเตั้ย 38 คน คิดเป็นร้อยละ 8.92 ในการจัดเตรียมอาหารกลางวัน โรงเรียนเทศบาลตำบลนาทวีได้มีการจ้างเหมาทำอาหารกลางวัน โดยวัตถุดิบทั่วไปในการปรุงอาหารหาซื้อมาจากตลาด หรือห้างสรรพสินค้าข้างเคียง ซึ่งวัตถุดิบของสดดังกล่าวได้มีการสุ่มตรวจจากสาธารณสุขอำเภอนาทวี ผลการสุ่มตรวจพบว่ามีสารพิษตกค้าง ดังนั้น โรงเรียนเทศบาลตำบลนทวี ได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสิรมโภชนาการในเด็กวัย 4-12 ปี และการปลูกผักสวนครัวไว้รับประทาน เนื่องจากพืชผักสวนครัวเป็นแหล่งรวมสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตของประเทศชาติต่อไป จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมโภชนาการสมวัยสำหรับนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลนาทวี ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจถึงภาวะโภชนาการในเด็กวัย 4-12 ปี

 

2 เพื่อติดตามเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กวัย 4-12 ปี ที่มีภาวะเสี่ยง

 

3 เพื่อส่งเสริมให้เด็กวัย 4-12 ปี มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย

 

4 เพื่อให้นักเรียนได้บริโภคผักสวนครัวที่ปลอดสารพิษ

 

5 เพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญของผักสวนครัว

 

6 เพื่อให้นักเรียนรู้จักพืชผักสวนครัวมากขึ้น

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจถึงภาวะโภชนาการในเด็กตามวัย
  2. เด็กวัย 4-12 ปี ที่มีภาวะเสี่ยง ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามโภชนาการ
  3. เด็กวัย 4-12 ปี มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย
  4. นักเรียนได้บริโภคผักสวนครัวที่ปลอดสารพิษ
  5. นักเรียนเห็นความสำคัญของพืชผักสวนครัว
  6. นักเรียนรู้จักพืชผักสวนครัวมากขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2560 10:01 น.