กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรุ่นจิ๋วรู้ไวขจัดภัยโรคติดต่อเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L5248-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปริก
วันที่อนุมัติ 17 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2563
งบประมาณ 19,740.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปรีติวัฒน์ หนูวิลัย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศมาโดยตลอด โดยเฉพาะในประเทศไทยที่เป็นเขตร้อนชื้น จะพบยุงลาย (Aedes aegypti) อาศัยอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้นจำนวนมาก เดิมทีระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกจะพบในกลุ่มเด็กอายุระหว่าง 5 – 9 ปี แต่ในปัจจุบันสามารถ พบได้ทุกกลุ่มอายุ จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกระดับประเทศ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 84,830 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 129.66 ต่อแสนประชากร พบผู้เสียชีวิต 109 ราย  คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.17 (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561) จังหวัดสงขลา พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 2,773 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 196.82 ต่อแสนประชากร พบผู้เสียชีวิต 2 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.08 ผู้ป่วยเป็นเพศชาย จำนวน 1,426 ราย เพศหญิง จำนวน 1,347 ราย และพบผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นนักเรียน จำนวน 1,594 ราย ในส่วนของอำสะเดาพบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 492 ราย มีอัตราป่วย 158.05 ต่อแสนประชากร (ข้อมูล ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2562) โดยตำบลปริกมีผู้ป่วยทั้งหมด 82 ราย เป็นผู้ป่วยในเขตเทศบาลตำปริก จำนวน 37 คน คิดเป็นอัตราป่วย 375.833 ต่อแสนประชากร เป็นผู้ป่วยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปริก 45 คน คิดเป็นอัตราป่วย 435.586 ต่อแสนประชากร และพบผู้ป่วยตำบลปริกส่วนใหญ่เป็นเด็กนักเรียน จำนวน 54 ราย เป็นนักเรียนในเขตเทศบาลตำปริก จำนวน 29 ราย และเป็นนักเรียนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปริก จำนวน 25 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2562) จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลปริก ปี 2562 พบว่าอัตราการป่วยไม่ลดลง การกระจายตัวของโรคส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มเด็กนักเรียน ส่งผลให้ตำบลปริกเป็นพื้นที่เสี่ยงสูง  มีอัตราป่วยลอยตัวอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นให้มีการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่อย่างต่อเนื่องดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ  ตำบลปริก จึงได้จัดทำโครงการรุ่นจิ๋วรู้ไวขจัดภัยโรคติดต่อเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปริก ปีงบประมาณ 2563 ขึ้น เพื่อเน้นให้กลุ่มนักเรียน มีความรู้ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก รวมทั้งสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำในโรงเรียนเป็นประจำต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้นักเรียนทราบบทบาทแกนนำนักเรียน (อสม.น้อย) ในโรงเรียน

1 อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง

0.00
2 2 เพื่อให้นักเรียนสำรวจลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนทุกสัปดาห์

2 ค่า CI ในโรงเรียน เท่ากับ 0

0.00
3 3 เพื่อให้อัตราป่วยไข้เลือดออกลดลง

3 ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1 ประชุมชี้แจงกลุ่มเป้าหมาย ผู้เกี่ยวข้อง 2 จัดทำโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติดำเนินการ 3 ประสานงานโรงเรียนเพื่อคัดเลือกแกนนำนักเรียน 4 จัดอบรมแกนนำนักเรียน (อสม.น้อย) ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปริก
  4.1 ทำแบบทดสอบก่อนการอบรม   4.2 ให้ความรู้เรื่อง การเฝ้าระวังป้องกันโรคไข้เลือดออก   4.3 กิจกรรมแบ่งกลุ่มฝึกสำรวจลูกน้ำยุงลายและคิดค่าดัชนีย์ลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน   4.4 ทำแบบทดสอบหลังการอบรม
5 แกนนำนักเรียน (อสม.น้อย) ลงสำรวจลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนทุกสัปดาห์ 6 เจ้าหน้าที่ รพ.สต.ปริก ลงสุ่มและติดตามผลการสำรวจลูกน้ำยุงลายทุกสัปดาห์ เพื่อเฝ้าระวังค่า CI ในโรงเรียน

    หมายเหตุ ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน Container Index : C.I. คือ ร้อยละของภาชนะที่พบลูกน้ำ คํานวณ จาก = (จํานวนหลังคาเรือนที่พบลูกน้ำ / จํานวนหลังคาเรือนที่สํารวจ) × 100 (ค่าที่คาดหวัง CI = 10)     5.7 สรุปผลกาดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 มีการพัฒนาต่อยอดการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในโรงเรียนโดย อสม. น้อย
2 เพื่อสร้างแกนนำ อสม. น้อย ดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในโรงเรียนต่อเนื่อง 3 อัตราป่วยไข้เลือดออกในกลุ่มวัยเรียนลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2563 10:04 น.