กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาเครือข่ายและศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)
รหัสโครงการ 60-L5248-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวถนน
วันที่อนุมัติ 7 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 31 ธันวาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 24,680.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางทิพย์ พรหมณี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวถนน อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 36 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำเนินงานด้านสาธารณสุข แบ่งรูปแบบการดำเนินงานออกเป็น 4 ด้าน คือ การส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรค การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งการดำเนินงานให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้านนั้น สามารถทำให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงได้แต่การที่จะทำให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้านนั้นเป็นเรื่องยากเพราะปัจจุบันบริบทของการเกิดโรคได้เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ ในอดีตการสาธารณสุขของไทยยังไม่ก้าวหน้าเท่าในปัจจุบันประชาชนมักเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่เกิดจากปฏิกิริยาของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสที่มากระทำต่อร่างกายเช่น ไข้หวัด อุจจาระร่วง เป็นต้นแต่ปัจจุบันเมื่อการสาธารณสุขเจริญก้าวหน้าขึ้นรวมทั้งวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปโรคที่เกิดขึ้นกับประชาชนจึงกลายเป็นโรคที่เกิดจากการไม่ดูแลพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ อุบัติเหตุ ฯลฯ อีกทั้งยังมีโรคติดต่อที่กลับมาเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญอีก เช่น โรควัณโรค เป็นต้นและที่สำคัญยังมีโรคติดต่อที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาสร้างปัญหาและเป็นภัยต่อสุขภาพของประชาชนเพิ่มขึ้นอีก คือ โรคเอดส์ โรคไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ 2009เป็นต้น การจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวทุกฝ่ายต้องผนึกกำลังสร้างค่านิยมด้านสุขภาพที่ถูกต้องและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนเน้นการสร้างสุขภาพและการป้องกันมากกว่าการซ่อมสุขภาพโดยส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้เข้ามามีบทบาทในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพของชุมชนได้เอง เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสุขภาพที่มีอยู่ในชุมชนให้เข้มแข็ง แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งสถานบริการสาธารณสุขต้องมีการจัดกิจกรรมที่สามารถพัฒนาและปฏิบัติการโดยเน้นเชิงรุก พัฒนารูปแบบที่เป็นนวัตกรรม ที่ใช้ความรู้นำมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ค่านิยมของประชาชน เกิดการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องทำให้ลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคทำให้ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืน อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)เป็นบุคคลที่สำคัญและมีบทบาทหน้าที่ ในการดำเนินงานและให้การช่วยเหลือเป็นผู้ประสานงานและเป็นตัวเชื่อมระหว่างภาครัฐกับประชาชนในชุมชนในการดำเนินงานกิจกรรมด้านสาธารณสุขดังกล่าวเพื่อแก้ไขปัญหาระดับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมาโดยตลอด แต่ในหลายปีที่ผ่านมานโยบายและการดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขจะแปรเปลี่ยนไปตามสภาวการณ์ทำให้อาสาสมัครสาธารณสุขต้องมีบทบาทหน้าที่และภารกิจเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งทำให้ในปัจจุบันอาสาสมัครสาธารณสุข ขาดแรงจูงใจ ความมั่นใจ ทักษะ วิชาการและองค์ความรู้ใหม่ ในการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขตามนโยบายและกิจกรรมที่แปรเปลี่ยนไป การพัฒนาศักยภาพเพิ่มพูนความรู้ทักษะวิชาการ และการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อเพิ่มสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง เครือข่ายบริการสุขภาพตำบลป่ายุบในได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเพื่อพัฒนาเครือข่ายและศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขขึ้นมาอันจะช่วยส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินกิจกรรมสาธารณสุขต่างๆ ในระดับพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้อาสาสมัครสาธารสุข เข้าร่วมอบรมพัฒนาศักยภาพและทักษะในการปฏิบัติงาน ฯร้อยละ 80
  1. จำนวนอาสาสมัครสาธารณสุขที่เข้ารับการอบรม
2 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวถนนให้มีศักยภาพในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
  1. ประเมินความรู้และทักษะของอาสาสมัครสาธารณสุข ก่อน – หลัง การอบรม
3 3 .เพื่อสร้างการบริการเชิงรุก ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้กลไกของอาสาสมัครสาธารณสุข

1.แบบรายงานผลการปฏิบัติงานของอสม.

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดประชุมชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่8 บ้านหัวถนนและหมู่ 9 บ้านยางเกาะ เพื่อชี้แจงผลการดำเนินงานของเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุข ปัญหาและอุปสรรคในรอบปีที่ผ่านมาและเพื่อวางแผนในการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุข
  2. จัดประชุมคณะกรรมการชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขระดับหมู่บ้าน เพื่อประเมินความรู้ ประเมินส่วนขาดและประเมินสมรรถนะของอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อสรุปปัญหา เพื่อแก้ไขและพัฒนา
  3. อบรมเชิงปฏิบัติการฟื้นฟูวิชาการและฝึกทักษะความรู้ให้อสม. ในงานด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ
  4. ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขระดับหมู่บ้าน กำหนดกิจกรรมด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ที่จะดำเนินงานในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุข
  5. ประเมินผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่
  6. รายงานผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อาสาสมัครสาธารณสุขได้รับการความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค รักษาฟื้นฟูสมรรถภาพ เพิ่มมากขึ้น
  2. ประชาชนจะได้รับการบริการด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพโดยอสม.ที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2559 11:58 น.