กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพฤติกรรมการประกอบอาหารของผู้ดูแลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตของผู้ป่วย ต.ควนสตอ อ.ควนโดนจ.สตูล
รหัสโครงการ 60-L5284-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 11 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 5,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซอฟียา ไมมะหาด
พี่เลี้ยงโครงการ นางสถาพร ภัทราภินันท์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.764,100.101place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สำหรับอำเภอควนโดน พบว่าในปี 2559 มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจำนวน 2,584 คน ผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 784 คน และในจำนวนนี้มีผู้ป่วยที่สามารถควบคุมโรคตวามดันโลหิตสูงได้ดีอยู่จำนวน 899 คน คิดเป็นร้อยละ 34.79 และควบคุมเบาหวานได้ดี จำนวน 88 คน คิดเป็น ร้อยละ 11.22 ซึ่งกลุ่มที่เหลือที่ไม่สามารถควบคุมได้มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาสูง ดังนั้นในการแก้ไขปัญหามีเป้าหมายที่จะพัฒนาคนให้มีความเข็มแข็ง ทั้งปัจเจกบุคคล ครอบครัว และชุมชน ให้มี ศํกยภาพในการดูแลและสร้างเสริมสุขภาพ มีการเรียนรู้ร่วมกัน มีส่วนร่วมในการสร้าง และจัดการ ระบบสุขภาพ ที่สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนของประชาชนในการดูแลสุขภาพของตนเองและชุมชน จากการศึกษาสุขภาวะของประชาชนในชุมชน พบว่าประชาชนป่วยเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมัน ในเส้นเลือด ภาวะเครียด และมีพฤติกรรม สุขภาพที่ไม่ถูกต้อง ดังนี้ รับประทานอาหารที่มีไขมัน อาหารที่มีรสหวาน ไม่ออกกำลังกาย การพัฒนาระบบสุขภาพ ตามองค์การอนามัยโลกที่จะรองรับการดูแลผู้ที่มีปัญหา สุขภาพเรื้อรังให้ได้ดีนั้นต้องประกอบด้วยหุ้นส่วน สำคัญ 3 ส่วนคือผู้ป่วยและครอบครัว ชุมชน และระบบบริการสาธารณสุข (สุพัตรา ศรีวนิชชากร และคณะ, 2552) ซึ่งแต่ละหุ้นส่วนมีบทบาทและการตอบสนองต่อบทบาทที่แตกต่างกันภายใต้ 60 วารสารเกื้อการุณย์ ปีที่ 21 ฉบับที่1 มกราคม-มิถุนายน2557 เป้าหมายเดียวกันคือคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวทั้งสามหุ้นส่วนจึงต้องมีการเชื่อมโยง และสนับสนุนซึ่งกันและกัน ความเจ็บป่วยเรื้อรัง เป็นความเจ็บป่วยที่มีอาการค่อยเป็นค่อยไป ระยะเวลาของการเจ็บป่วยและการดูแลรักษา ยาวนาน ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ต้องได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุนให้เพิ่มขีด ความสามารถในการปรับวิถีชีวิตให้เหมาะสมและรับผิดชอบในการดูแลตนเอง สร้างศักยภาพให้มีความสามารถ ดูแลจัดการตนเองและดูแลผลกระทบของความเจ็บป่วยเรื้อรังที่เกิดขึ้นกับบุคคล (สุพัตรา ศรีวนิชชากร และคณะ, 2552) การที่ผู้ดูแลผู้ป่วยได้เข้ามามีส่วนร่วมรู้ปัญหาและสาเหตุของปัญหา กำหนดวิธีการแก้ปัญหา วางแผนดำเนินการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง และพัฒนาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ญาติเป็นผู้ที่มีความสำคัญในการดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้รับ แรงสนับสนุนทางสังคม ได้รับความช่วยเหลือทางด้านข้อมูล ข่าวสาร วัตถุสิ่งของ หรือการสนับสนุนทางด้านจิตใจจากผู้ให้การสนับสนุนซึ่งอาจเป็นบุคคลหรือกลุ่ม บุคคล ที่เป็นผลให้ผู้รับได้ปฏิบัติไปในทางที่ผู้รับต้องการ แรงสนับสนุนทางสังคม อาจมามาก บุคคลในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ ญาติ พี่น้อง เพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน เพื่อนนักเรียน อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เฮาส์ (House,1981cited by Tilend,1985) กล่าวว่าแรงสนับสนุนทางสังคม เป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลซึ่งประกอบด้วย ความรักใคร่และห่วงใย ความไว้วางใจ ความช่วยเหลือ ด้านการเงิน สิ่งของ แรงงาน การให้ข้อมูล ข่าวสาร ตลอดจนการใช้ข้อมูลป้อนกลับ เพื่อการเรียนรู้และประเมินตนเอง โรงพยาบาลควนโดนจึงมีความประสงค์จะจัดทำโครงการพฤติกรรมการประกอบอาหารของผู้ดูแลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตของผู้ป่วย ต.ควนสตอ อ.ควนโดน จ.สตูล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ขึ้น โดยมุ่งเน้นศึกษาที่พฤติกรรมการประกอบอาหารของผู้ดูแลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตของผู้ป่วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. ศึกษาพฤติกรรมการประกอบอาหารของผู้ดูแลผู้ป่วยต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วย

 

2 2. ศึกษาพฤติกรรมการประกอบอาหารของผู้ดูแลผู้ป่วยมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตของผู้ป่วยหรือไม่ อย่างไร

 

3 3. ผู้ดูแลผู้ป่วยสามารถประกอบอาหารเฉพาะโรคได้ถูกต้องเหมาะสม

 

4 4. ผู้ดูแลผู้ป่วยสามารถคัดสรรวัตถุดิบและเครื่องปรุงในการประกอบอาหารที่เหมาะสม

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและ อสม. เพือการวางแผนในการดำเนินงาน
  2. สำรวจประชากรกลุ่มเป้าหมาย
  3. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการตรวจ/เนื้อหาในการจัดฐานการเรียนรู้
  4. จัดทำโครงการ เพื่อขออนุมัติ
  5. ประสานงานกับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
  6. จัดกิจกรรมฐานการเรียนรู้การประกอบอาหารเฉพาะโรคด้วยเมนูประจำถิ่นแก่ผู้ดูแล/รายละเอียดกลไกการเกิดโรคเรื้อรัง
  7. เจ้าหน้าที่ร่วมกับแกนนำสัมภาษณ์/ติดตาม/สังเกต พฤติกรรมการประกอบอาหารถึงก้นครัวและบันทึกข้อมูลตามแบบสอบถามก่อนและหลังดำเนินการ
  8. นัดผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมาตรวจสุขภาพในสภานบริการ/ในชุมชนเพื่อติดตามผล
  9. ประเมินผลและรายงานผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดัน รายเก่าสามารถควบคุมโรคได้ดี
  2. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดัน รายใหม่ลดลง
  3. นำข้อมูลมาวางแผนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อไป
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2560 13:50 น.