กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสตรียุคใหม่ใส่ใจมะเร็ง
รหัสโครงการ 63-L5248-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวถนน
วันที่อนุมัติ 17 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2563
งบประมาณ 31,430.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางทิพย์ พรหมณี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 36 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 137 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ ๒ ของโรคมะเร็งทั้งหมดของสตรีไทย รองจากมะเร็งเต้านม ปัจจุบันในประเทศไทยแต่ละปี จะพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณ ๑๐,๐๐๐ ราย และเสียชีวิตจากการเป็นมะเร็งปากมดลูก ๕,๐๐๐ ราย อัตราการเสียชีวิตของสตรีไทยเพิ่มขึ้นจาก ๗ คน/วัน เป็น ๑๔ คน/วัน สถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาพบแพทย์ เมื่อระยะของโรคมะเร็งนั้นได้เข้าสู่ในระยะลุกลามแล้ว การรักษาจึงเป็นไปได้ยาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ก่อให้เกิดปัญหาด้านสังคม และครอบครัวตามมาอย่างมากมาย แต่จะสามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรกร้อยละ ๓๐ – ๔๐สามารถป้องกันได้ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยง และหากได้รับการตรวจคัดกรอง มะเร็งที่เหมาะสมจะสามารถป้องกันและได้รับการรักษาได้ทันท่วงที และอาจลดการตรวจลงเหลือเพียงตรวจทุก ๒ – ๓ปีเมื่อผลตรวจคัดกรองปกติทุกครั้ง ๓ ครั้ง/๓ปีติดต่อกัน ดังนั้น ถ้าสามารถกระตุ้นให้สตรีกลุ่มเป้าหมาย ได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าว พร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค , อัตราการป่วยและอัตราการตายจากโรคมะเร็งลดลง
      โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวถนน จึงได้จัดทำโครงการสตรียุคใหม่ใส่ใจมะเร็งขึ้น เพื่อติดตามการตรวจสุขภาพอย่างต่อเนื่องของผู้รับบริการ เชิงรุกค้นหาเซลล์มะเร็งได้ในระยะเริ่มแรกและอบรมให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูก เพื่อให้สตรีในพื้นที่ตระหนักและเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรอง และเพื่อค้นหาความผิดปกติในระยะแรก เพื่อลดปัญหาการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1.เพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกในระยะแรก

สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี(สตรีอายุ 30-60 ปี จำนวน 456 คน) ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธีแปปสเมียร์ (Pap smear)  หรือวิธี HPV DNATestไม่น้อยกว่าร้อยละ 30ของกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด

0.00
2 ข้อที่ 2.สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60ปี มีความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและทัศนคติที่ดีเข้าร่วมการตรวจคัดกรองได้

แบบทดสอบหลังให้การอบรมจำนวน 137 ชุด สามารถถูกมากกว่า ร้อยละ80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1. เสนอโครงการเพื่อของบประมาณต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปริก 2. ประชุมชี้แจง รายละเอียดโครงการ แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำท้องถิ่น และอาสาสมัครสาธารณสุขรวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่ององค์ความรู้ วัตถุประสงค์โครงการและแนวทางการคัดกรอง 3. แบ่งพื้นที่กลุ่มเป้าหมายให้แก่ อสม.ผู้รับผิดชอบครัวเรือน ส่งกลุ่มเป้าเป้าหมายในพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเข้ารับการอบรมและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 4. ประชาสัมพันธ์การจัดทำโครงการ

ขั้นดำเนินการ 1. ดำเนินการอบรมให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มเป้าหมาย
2. ดำเนินการตรวจมะเร็งปากมดลูก ในกลุ่มเป้าหมาย
3. ส่งแผ่นสไลด์ ไปตรวจและอ่านผล จากโรงพยาบาลหาดใหญ่/ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 4. รับผลตรวจจากโรงพยาบาลหาดใหญ่/ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์และแจ้งผลการตรวจกับกลุ่มเป้าหมาย 5. บันทึกผลการทำในโปรแกรม ของสถาบันมะเร็ง และ โปรแกรม JHCIS ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวถนน 6. ส่งต่อในรายที่ผลการตรวจผิดปกติ และติดตามผลการรักษาภายหลังการส่งต่อในรายที่ผลการตรวจผิดปกติ 7. สรุปและประเมินผลโครงการรายงานผลต่อกองทุนสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปริก

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 -60 ปีในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก โดยวิธีแปปสเมียร์ (Pap smear) /หรือวิธี HPV DNA Test
  2. สตรีกลุ่มเป้าหมายทีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อพบแพทย์ต่อไป
  3. สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60ปี มีความรู้ เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก เพื่อส่งเสริมและป้องกันตนเองจากโรคมะเร็งปากมดลูก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2563 14:46 น.