กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมผู้สูงวัยสุขภาพดี ชีวีมีสุข
รหัสโครงการ 60-50094-2-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุตำบลควนโดน
วันที่อนุมัติ 24 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2560
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสอาด หมาดทิ้ง
พี่เลี้ยงโครงการ นางธิดาเหมือนพะวงศ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.814,100.06place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยเข้าสู่การเป็นสังคมสังคมผู้สูงวัยคือ มีประชากรอายุ 60 ปี คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด และผลสำรวจของสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่ผ่านมา พบว่าประเทศไทยมีจำนวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ข้อมูลจำนวนผู้สูงอายุจังหวัดสตูลจากการสำรวจและคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุจังหวัดสตูล มีผู้สูงอายุอาศัยอยู่ในจังหวัดสตูล จำนวน 32,949 คน เมื่อเทียบกับประชากรคิดเป็นร้อยละ 10.49 และการประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ พบว่าเป็นผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม จำนวน 30.46 คน (ร้อยละ 92.47 ) กลุ่มติดบ้าน จำนวน 2,116 คน (ร้อยละ 6.42) และกลุ่มติดเตียง จำนวน 366 คน (ร้อยละ 1.11) สำหรับพื้นที่ อำเภอควนโดนจังหวัดสตูลผู้สูงอายุจำนวน 2,665 คน เมื่อเทียบกับประชากรทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 13.33 ซึ่งถือว่าอำเภอควนโดนเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ จำนวนผู้สูงอายุในเขตตำบลควนโดนมีทั้งหมด 528 คน ติดบ้าน 8 คน (ร้อยละ 1.51) ติดเตียง จำนวน 2 คน (ร้อยละ 0.38) ปัญหาผู้ศุงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง หรือผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง คือการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพด้วยความยากลำบาก และในการดำเนินชีวิตประจำวันต้องพึ่งพาผู้ดูแลซึ่งบางคนขาดผู้ดูแลและพักอาศัยอยู่โดยลำพังในสภาพที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นเพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการดูแลของชุมชนในการดูแลของชุมชนในการออกเยี่ยมดูแลสุขภาพ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะที่ต้องได้รับการดูแลจึงต้องมีการพัฒนาระบบการดำเนินงานดูแลระยะยาวสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงเพื่อกลุ่มเป้าหม้ายมีสุขภาวะที่ดี หรือมีสุขภาพที่ดีขึ้น สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้โดยพึ่งพาน้อยที่สุด ซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงรู้สึกมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี และมีความสุข ดังนั้น การเตรียมการเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุและสภาพปัญหาของผู้สูงอายุมีภาวะพึ่งพิงจึงเป็นประเด็นสำคัญของพื้นที่ตำบลควนโดน ชมรมผู้สูงอายุ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมผู้สูงวัยสุขภาพดี ชีวีมีสุข ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2560

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ทั้งด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ

 

2 2. เพื่อเป็นการสร้างขวัญ และกำลังใจให้ผู้สูงอายุมีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่า

 

3 3. เพื่อสร้างแกนนำด้านการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ให้มีความรู้ ทักษะในการดูแล ส่งเสริม ฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติองค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน
  2. ประชุมคณะทำงาน กลุ่ม อผส, อสม. ชมรมผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลควนโดน
  3. สำรวจข้อมูลด้านสุขภาพผู้สูงอายุ และจัดทำฐานข้อมูลผู้สูงอายุทั้ง 3 กลุ่มให้เป็นปัจจุบัน
  4. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์แก่ผู้สูงอายุ คัดกรองภาวะสุขภาพ ตรวจสุขภาพช่องปาก พร้อมฝึกบริหารร่างกายโดยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
  5. อบรมฟื้นฟูแกนนำด้านการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และฝึกทักษะการเยี่ยมติดตาม ดูแลผู้สูงอายุที่บ้านในกลุ่มผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง
  6. สรุปกิจกรรมการดำเนินงานเสนอต่อผู้บริหาร/องค์การบริหารส่วนตำบล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบได้รับการดูแลสุขภาพทางกาย และจิตที่ดีสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข
  2. ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมของชุมชน มีการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพตนเอง
  3. ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่ป่วยด้วยโรคหรือได้รับอบัติเหตุที่เกิดจากการปฏิบัติตนที่ไม่ถูกต้อง
  4. แกนนำมีส่วนร่วมในการดูแล ส่งเสริม ฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2560 13:53 น.