กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.ในการควบคุม ป้องกันและค้นหาผู้ป่วยวัณโรคและโรคเรื้อน ตำบลนานาค ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L2483-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนานาค
วันที่อนุมัติ 8 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2560
งบประมาณ 6,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางละมัยยูโซ๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนานาค อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.142,102.07place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 43 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยมาเป็นเวลานาน ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียหายทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวงอุบัติการณ์ของวัณโรคเคยลดลงอย่างช้า ๆ ในอดีตแต่ในระยะหลังนี้กลับเพิ่มขึ้นเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคเอดส์และการดื้อยาดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขจึงให้วามสำคัญแก่แผนงานวัณโรคแห่งชาติในอันที่จะพัฒนายุทธศาสตร์ที่สำคัญในการควบคุมวัณโรคโดยการดำเนินงานควบคุมวัณโรคในระยะแรกได้เน้นไปที่การตรวจรักษาและการป้องกันโรคจากการทบทวนแผนงานวัณโรคแห่งชาติโดยคณะผู้เชี่ยวชาญวัณโรคจากองค์การอนามัยโลกมีข้อเสนอแนะที่ต้องเร่งรัดการดำเนินงานวัณโรค เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอัตราการรักษาหายและกินยาครบหรือที่เรียกว่าอัตราความสำเร็จของการรักษาวัณโรค (Treatment success rate) มากกว่าร้อยละ ๙๐แนวทางการรักษาที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก คือ การรักษาผู้ป่วยวัณโรค โดยมีพี่เลี้ยงคอยกำกับการกินยา ต่อหน้าทุกวัน ที่เรียกว่า DOTS ( Directly Observed Treatment System) ซึ่งองค์การอนามัยโลก(WHO)ได้ให้เสนอแนะให้ทุกประเทศทั่วโลก ใช้แนวทางการรักษาเพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จ ในการรักษาวัณโรคโดยพี่เลี้ยงหมายถึงเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. ญาติหรือบุคคลในครอบครัว เพื่อคอยดูแลผู้ป่วยวัณโรคให้กินยาทุกวัน ให้กำลังใจเพื่อให้ผู้ป่วยได้กินยาจนกระทั่งหายขาด ไม่เกิดปัญหาดื้อยาวัณโรคและการแพร่เชื้อวัณโรคในชุมชน จากการดูแลติดตามรักษาผู้ป่วยวัณโรคในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนานาค พบว่า มีผู้ป่วยวัณโรคเพิ่มขึ้นทุกปี และส่วนใหญ่บุคคลที่ป่วยเป็นวัณโรคจะเป็นผู้สัมผัสร่วมบ้านของผู้ป่วยวัณโรค จากการเยี่ยมบ้าน ได้พบปัญหาหลักคือ มีผู้ป่วยขาดยา เนื่องจากไม่มารับยาตามนัด การรักษาไม่ครบตามแผนที่กำหนดและขาดเครือข่ายในชุมชนในการดูแลผู้ป่วยและญาติให้ตระหนักในการรักษาวัณโรคและรับยาอย่างต่อเนื่องครบตามแผนการรักษาดังนั้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนานาค ได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อ จะพัฒนาศักยภาพเครือข่าย เช่น อสม. ญาติผู้ป่วย ในการดูแลผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพรวมทั้งการสร้างความตระหนักในระดับชุมชนและร่วมกันส่งเสริมป้องกันปัญหาของวัณโรคให้ลดน้อยลงต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม. ในการควบคุมป้องกันโรคและโรคเรื้อน

อสม.เขตรับผิดชอบตำบลนานาค เข้ารับการอบรม ร้อยละ ๑๐๐

2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคและโรคเรื้อนในชุมชน

คณะกรรมการและทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วระดับตำบล เข้ารับการอบรม ร้อยละ ๑๐๐

3 เพื่อสร้างความตระหนักของชุมชนในการควบคุมป้องกันโรควัณโรค อย่างจริงจังและต่อเนื่อง

-

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ขั้นเตรียมการ
๑.๑ ศึกษาผู้ป่วยวัณโรคเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ปัญหา
๑.๒ จัดทำโครงการเสนอกองทุนฯตำบลเพื่อขออนุมัติโครงการ
๑.๓ แต่งตั้งคณะกรรมการเครือข่ายการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรค ในรพ.สต.
๑.๔ ประชุมชี้แจงโครงการ ต่อคณะกรรมการฯ
๑.๕ ประสานงานกับอสม.ในพื้นที่เป้าหมาย
๑.๖ ประสานงานกับเครือข่ายชุมชนทุกภาคส่วน(อบต., ผู้ใหญ่บ้าน,อสม.,ญาติผู้ป่วยวัณโรค)
๒. ขั้นดำเนินการ
๒.๑ จัดประชุมวิชาการเรื่องการดูแลผู้ป่วยวัณโรค เพื่อสร้างความตระหนักในการดูแลผู้ป่วยวัณ โรค
๒.๒ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยวัณโรคระยะแพร่กระจายเชื้อ ๑ ครั้ง/เดือน
๓. ขั้นสรุปผล
๓.๑ ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามผลการดำเนินงาน และร่วมวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคในการ
ดำเนินงานและหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน
๓.๒ สรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน ๒. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง ๓. เพื่อสร้างความตระหนักของชุมชนในการควบคุมป้องกันโรควัณโรค อย่างจริงจังและต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2560 14:02 น.