กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในเด็กอายุ 0-3 ปี ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L5248-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวถนน
วันที่อนุมัติ 17 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2563
งบประมาณ 21,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางทิพย์ พรหมณี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพของทุกคน โดยเฉพาะในเด็กอายุ ๐ - ๓ ปี จากการสำรวจของกรมอนามัยปี 2562 สถานการณ์ฟันผุในเด็กไทย พบว่าเด็กเริ่มมีฟันผุตั้งแต่อายุ 9 เดือน และพบว่าเด็กอายุ 3 ปีฟันผุมากถึงร้อยละ 52 มีฟันผุเฉลี่ย 3 ซี่ต่อคน สาเหตุหลักของฟันผุในเด็กเล็กมาจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม เช่น การให้เด็กทานขนมหรือนมที่มีรสหวานเป็นประจำ การปล่อยให้เด็กหลับคาขวดนมหลังจากฟันขึ้นแล้ว หรือผู้ปกครองละเลยเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก โดยไม่ได้เริ่มแปรงฟันตั้งแต่น้ำนมซี่แรกขึ้นพบมากในกลุ่มเด็กต่างจังหวัด     การเกิดฟันผุในฟันน้ำนม นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้ว ยังมีผลเสียต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วย กล่าวคือ ฟันน้ำนมที่เสีย ถูกถอน หรือหลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นแทนที่อยู่ติดกัน รวน เก ล้ม เอียง เข้าหาช่องว่าง ทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นแทนตำแหน่งนั้นไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติ อาจขึ้นมาในลักษณะบิด ซ้อนกันหรือมีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะสมกับใบหน้าของเด็ก ซึ่งจะเป็นปมด้อยทำให้เด็กไม่กล้าในการแสดงออก     การแก้ไขปัญหาดังกล่าวทำได้โดยการใช้รูปแบบการให้บริการทันตกรรมครบวงจร การตรวจสุขภาพช่องปาก การให้สุขศึกษา บริการทันตกรรม การแปรงฟันที่ถูกวิธี การบำบัดรักษา และการติดตามประเมินผล ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องผู้บริหาร เครือข่ายอสม. และผู้ปกครองเด็ก งานทันตสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวถนน ได้ให้ความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในเด็กอายุ ๐ - ๓ ปีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ ๑. เพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพแก่เด็ก ๐-๓ ปี ในคลินิกสุขภาพเด็กดี
  1. เด็ก ๐-๓ ปี โดยได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก และผู้ดูแลเด็กได้รับการฝึกทักษะการแปรงฟัน       ร้อยละ  70
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

ขั้นเตรียมการ 1.จัดทำแผนและขออนุมัติจัดทำโครงการ 2.ขอความร่วมมือในการดำเนินงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3.เตรียมข้อมูล เอกสาร และวัสดุอุปกรณ์ ขั้นดำเนินงาน     1. จัดเตรียมพื้นที่เพื่อรองรับกิจกรรมตามโครงการ     2. จัดสิ่งสนับสนุนทางทันตสุขภาพ ได้แก่ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน แก้วน้ำ วัสดุอื่นๆที่ใช้ประกอบการอบรม 3 .จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก หมู่ที่ 8 บ้านหัวถนน และหมู่ที่ 9 บ้านยางเกาะ จำนวน 2 ครั้ง
4. ตรวจสุขภาพฟันและทาฟลูออไรด์วานิชในคลินิกเด็กดีพุธที่ 2 ของเดือน ๆ ละ 1 ครั้ง
    5. จัดบริการทันตกรรมตามสภาวะในช่องปาก,เคลือบฟลูออไรด์วานิชตามแผนงานโรงพยาบาลสะเดา     6. สรุปและประเมินผลโครงการ รายงานผลต่อกองทุนสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปริก

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก มีความรู้และทักษะในการดูแลเด็กเกี่ยวกับการทำความสะอาดช่องปากและการให้โภชนาการที่ถูกต้องสำหรับเด็กตามวัย
  2. มีกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในคลินิกสุขภาพเด็กดี โดยได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก และได้รับการทาฟลูออไรด์วานิชเพื่อป้องกันฟันผุ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2563 15:31 น.