โครงการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากตามกลุ่มอายุ ปีงบประะมาณ 2563
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากตามกลุ่มอายุ ปีงบประะมาณ 2563 |
รหัสโครงการ | 63-L5229-01-09 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลรัตภูมิ |
วันที่อนุมัติ | 5 กุมภาพันธ์ 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 24 กุมภาพันธ์ 2563 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 พฤศจิกายน 2563 |
งบประมาณ | 23,570.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ทพ.ครรชิต แซ่ลือ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.087,100.287place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพปีงบประมาณ 2561 ของจังหวัดสงขลา พบว่าเด็กอายุ 3 ปี ในอำเภอรัตภูมิ มีอัตราการเกิดโรคฟันผุร้อยละ 55.6 ในขณะที่เด็กกลุ่มอายุ 12 ปี มีฟันดีไม่มีผุ (cavity free) คิดเป็นร้อยละ 74.8 ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัญหาโรคฟันผุในทั้ง 2 กลุ่มอายุ ยังเป็นปัญหาที่ต้องดูแลอย่างต่อเนื่อง และต้องอาศัยการช่วยเหลือดูแลสุขภาพช่องปากจากบุคคลที่เกี่ยวข้องหลายๆ กลุ่มอายุ ซึ่งในแต่ละกลุ่มอายุ ก็ยังมีพฤติกรรมในการดูแลทันตสุขภาพที่ไม่เหมาะสมเช่นกัน การแก้ไขปัญหาจึงต้องอาศัยความร่วมมือจาก พ่อ แม่ ครู ผู้ปกครอง และผู้สูงอายุที่ดูแลบุตรหลาน โดยจะต้องมีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่ดีทางทันตสุขภาพ ตั้งแต่มารดาตั้งครรภ์ การเลี้ยงดูบุตร ตลอดจนครูพี่เลี้ยงเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และครูประจำชั้นในระดับประถมศึกษา นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้ป่วยโรคสำคัญ ได้แก่ โรคเบาหวาน กลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคในช่องปากและจำเป็นต้องได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสมอีกด้วย กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลรัตภูมิ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากตามกลุ่มอายุต่างๆ ของเครือข่ายอำเภอรัตภูมิขึ้น เพี่อลดการเกิดโรคฟันผุ ส่งเสริมทันตสุขภาพในกลุ่มอายุต่างๆ และช่วยให้หญิงตั้งครรภ์, ผู้ปกครอง, ครูพี่เลี้ยงเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, ผู้ป่วยเบาหวาน, ผู้สูงอายุ, ผู้พิการ ฯลฯ ได้มีความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมที่เหมาะสมในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดี ทั้งของตนเองและครอบครัว อันจะส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายสำคัญ คือ กลุ่มเด็กเล็กได้รับการใส่ใจดูแลสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสม นำไปสู่การแก้ปัญหาทันตสุขภาพอย่างยั่งยืนต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้กลุ่มหญิงตั้งครรภ์, เด็ก 0-5 ปี, ผู้ป่วยเบาหวาน, ผู้สูงอายุและผู้พิการ มีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น 2. เพื่อให้มีการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในกลุ่มอายุต่างๆอย่างต่อเนื่อง
|
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 23,570.00 | 0 | 0.00 | 23,570.00 | |
24 ก.พ. 63 - 30 ก.ย. 63 | กิจกรรมแม่ลุกฟันดี | 0 | 8,650.00 | - | - | ||
24 ก.พ. 63 - 30 ก.ย. 63 | กิจกรรมศูนย์เด็กเล็กฟันสวย | 0 | 5,700.00 | - | - | ||
24 ก.พ. 63 - 30 ก.ย. 63 | กืจกรรมส่งเสริมสุภาพช่องปากผู้สูงอายุและผู้พิการ | 0 | 7,560.00 | - | - | ||
24 ก.พ. 63 - 30 ก.ย. 63 | กิจกรรมเบาหวานฟันดี | 0 | 1,660.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 23,570.00 | 0 | 0.00 | 23,570.00 |
2.1 กิจกรรมแม่ลูกฟันดี (ผู้รับผิดชอบ ทพญ.มนรัตน์ หงษ์สวัสดิ์)
1. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับฝากครรภ์เชิญชวนหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการรายใหม่ทุกรายขึ้นทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมแม่ลูกฟันดี
2. จัดให้มีการให้ความรู้ทันตสุขศึกษาและสาธิตฝึกปฏิบัติทักษะการแปรงฟันทุกวันของโรงเรียนพ่อแม่ในสถานบริการ
3. หญิงมีครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากจากเจ้าหน้าที่ และได้รับการส่งต่อนัดหมายทาง ทันตกรรมตามความเหมาะสม
4. หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ได้รับการฝึกปฏิบัติทักษะการแปรงฟัน การใช้ไหมขัดฟันและควบคุมแผ่นคราบจุลินทรีย์
5. หญิงตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบคลินิกชุมชนวัดใหม่ทุ่งคา ได้รับการเยี่ยมหลังคลอด โดยแนะนำการดูแลสุขภาพช่องปากของแม่และเด็ก
6. ผู้ปกครองเด็ก 0-2 ปี ทุกรายได้รับการให้ความรู้และฝึกสอนแปรงฟันแก่ผู้ปกครองจากเจ้าหน้าที่ ในวันพุธที่ 2 ของทุกเดือน
7. เด็ก 0-2 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก แนะนำการใช้แปรงซิลิโคนหรือแปรงเด็กให้เหมาะสมตามกลุ่มอายุ พร้อมทาฟลูออไรด์วานิช ทุกครั้งที่มารับบริการฉีดวัคซีน
8. จัดกิจกรรมให้ผู้ปกครองฝึกตรวจช่องปากลูกน้อยในความดูแลของตนเอง โดยให้มีการตรวจสุขภาพช่องปาก และลงในแบบบันทึกการตรวจฟัน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อเพิ่มความตระหนักในการดูแลสุขภาพช่องปากลูกโดยผู้ปกครอง และหากตรวจพบฟันผุจะได้ส่งต่อหรือแก้ไขได้ทันท่วงที
9. มีการบันทึกในสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กทุกครั้งเพื่อติดตามดูแลการเปลี่ยนแปลงและนัดรับการรักษาอย่างเหมาะสมและมีการบันทึกในแฟ้มทันตสุขภาพหญิงตั้งครรภ์
10. ติดตามและประเมินผล
2.2 กิจกรรมศูนย์ฯเด็กเล็กฟันสวย (ผู้รับผิดชอบ ทพ.ครรชิต แซ่ลือ)
1. ประสานกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดใหม่ทุ่งคา เพื่อติดต่อเข้าทำกิจกรรม
2. ดำเนินกิจกรรมด้านทันตสุขภาพ ดังนี้
ครั้งที่ 1 ทันตบุคลากรออกเยี่ยมศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อเก็บข้อมูล รับทราบปัญหา และสังเกต
กิจกรรมการแปรงฟัน (ช่วงเวลา 9.00 น.-12.00 น.) การพัฒนาหลังจากผ่านการดำเนินกิจกรรมไปแล้วในปีงบประมาณ 2562
ครั้งที่ 2 ให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กเล็กและโภชนาการเด็ก 3-5 ปี แก่คุณครูทุกท่านใน
ศูนย์ (ช่วงเวลา 15.00น. - 16.00น.) และนัดประชุมอบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง
ครั้งที่ 3 จัดประชุมอบรมผู้ปกครอง (ช่วงเวลา 13.00 น.-14.30 น.) และให้ผู้ปกครองฝึกปฏิบัติทักษะ
การแปรงฟันในเด็ก
ครั้งที่ 4 และอื่นๆ จัดกิจกรรมพบปะผู้ปกครองขณะมารับเด็กหลังเลิกเรียน รายกลุ่มย่อย 4-5 คน/
ครั้ง โดยมุ่งเน้นกลุ่มเด็กที่มีความเสี่ยงโรคฟันผุสูง/เล่านิทานทันตสุขภาพให้เด็กนักเรียน เพื่อจูงใจให้ปรับพฤติกรรม (ตามเวลาที่เหมาะสม)
นัดตรวจสุขภาพช่องปากเด็กทุกคนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดใหม่ทุ่งคา บันทึกผล และคัดเลือกเด็กนัด
ทำ Smart Technique และทาฟลูออไรด์วานิช
สนับสนุนสื่อ, โปสเตอร์, ที่ครอบแปรงสีฟัน, แปรงสีฟัน และยาสีฟัน เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งกองทุน
แปรงสีฟัน ยาสีฟันในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
สรุป และประเมินผล
2.3 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุและผู้พิการ (ผู้รับผิดชอบ ทพญ.จิตา หน่อพรหม)
1.เจ้าหน้าที่ของคลินิกชุมชนวัดใหม่ทุ่งคา และทันตบุคลากรโรงพยาบาลรัตภูมิ ประสานชมรมผู้สูงอายุ
ในเขตรับผิดชอบเพื่อกำหนดวันและเข้าดำเนินกิจกรรม
2. จัดกิจกรรมการตรวจฟัน/อบรมให้ความรู้ทันตสุขศึกษาสาธิตและฝึกปฎิบัติทักษะการแปรงฟันและการดูแลฟันเทียมที่ถูกวิธีสำหรับผู้สูงอายุ
3. จัดกิจกรรมออกเยี่ยมบ้านตรวจฟัน ให้ความรู้ทันตสุขศึกษา สาธิตวิธีการดูแลสุขภาพช่องปากแก่ผู้พิการและผู้ดูแลผู้พิการที่บ้าน
4. ให้บริการนัดทำการรักษาทางทันตกรรมในรายที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก ผู้สูงอายุและผู้พิการที่ไม่มีฟันใช้งานให้บริการเข้าคิวในโครงการฟันเทียมพระราชทานที่กลุ่มงานทันตกรรม รพ.รัตภูมิ
5. ติดตามและประเมินผล
2.4 กิจกรรมเบาหวานฟันดี (ผู้รับผิดชอบ ทพญ.จิตา หน่อพรหม)
1. ประชุมเพื่อเตรียมออกหน่วยคัดกรองภาวะแทรกซ้อนสุขภาพช่องปากผู้ป่วยเบาหวาน(DM) ร่วมกับทีมสหวิชาชีพ
2. ประสานงานกับผู้รับผิดชอบงาน DM เพื่อส่งผู้ป่วยมาตรวจฟัน
3. ให้บริการตรวจฟัน/ให้ความรู้ทันตสุขศึกษาและวิธีการดูแลฟันเทียมในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและนัดมารักษาในรายที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก และบันทึกข้อมูล
4. ติดตามและประเมินผล
- หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ที่เข้าโครงการมีความรู้ทักษะและทัศนคติที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและบุตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสุขภาพช่องปากที่ดีและสนใจในการดูแลสุขภาพช่องปาก
- มีการประสานงานและสัมพันธภาพที่ดีระหว่างงานทันตสาธารณสุขและทีมบุคลากรของศูนย์พัฒนา เด็กเล็ก
- ชมรมผู้สูงอายุมีการดำเนินกิจกรรมทันตสุขภาพที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น
- ลดการสูญเสียฟันของผู้สูงอายุ และเพิ่มการบดเคี้ยวที่ดีในผู้สูงอายุที่ได้รับบริการฟันเทียม
- ผู้พิการและผู้ดูแลผู้พิการเกิดความตระหนักเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากและมีสุขนิสัยที่ดีในการดูแลความสะอาดช่องปาก สามารถดูแลสุขภาพช่องปากได้ถูกวิธี
- ผู้ป่วยเบาหวานสามารถนำความรู้ด้านทันตสุขภาพที่ได้ไปดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมและลดภาวะแทรกซ้อนในช่องปากจากโรคเบาหวาน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2563 16:14 น.