กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการออกกำลังกายเป็นหลักบริโภคผักปลอดสารพิษพิชิตโรคเรื้อรังในถนนสุขภาพหมู่ที่ 6ตำบลควนสตออำเภอควนโดนจังหวัดสตูล
รหัสโครงการ 60-L5284-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลควนโดน
วันที่อนุมัติ 11 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซอฟียา ไมมะหาด
พี่เลี้ยงโครงการ นางสถาพรภัทราพินันท์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.764,100.101place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 10,800.00
รวมงบประมาณ 10,800.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

บ้านปลักซิมปอ หมู่ที่๖ ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน เป็นชุมชนมุสลิมมีวิถีการดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างเรียบง่าย ประกอบอาชีพทำการเกษตร เช่น สวนยางพารา สวนผลไม้ และทำนา เพื่อเก็บไว้บริโภค ชาวบ้านตื่นนอนตั้งแต่เช้าตรู่ ก่อนได้ยินเสียงอาซานจากมัสยิด และเข้านอนก่อนเที่ยงคืน ในช่วงหลังตื่นจนถึงเข้านอนส่วนใหญ่จะรับประทานอาหารสามมื้อ มื้อเช้าจะรับประทานตั้งแต่เช้าก่อนไปทำงาน โรงเรียน หรือรับประทานหลังกลับจากสวนในช่วงสายๆ อาหารเช้าที่นิยมรับประทานข้าว เช่น ข้าวยำ ขนมทอดที่ผลิตขึ้นเองในหมู่บ้าน ข้าวเหนียวไก่ทอด และเครื่องดื่มร้อน เช่น ชาดำร้อน กาแฟดำร้อน(โกปี) โดยซื้อจากร้านน้ำชาในชุมชน หรือชุมชนใกล้เคียง อาหารมื้อเที่ยงจะรับประทานช่วงบ่ายๆ อาหารมื้อเย็นรับประทานหลังละหมาดตอนค่ำ ซึ่งอาหารทั้งสองมื้อนี้แม่บ้านมักจะปรุงเองโดยเฉพาะมื้อค่ำจะเป็นมื้อที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษเพราะเหนื่อยมาทั้งวันจากการทำงาน อาหารที่เน้นจะเป็นอาหารจำพวกแป้ง ไขมัน โดยเฉพาะแกงกะทิและจะรับประทานมากเป็นพิเศษ นอกเหนือจากการรับประทานอาหารที่บ้าน ชาวบ้านในชุมชนมักพบปะกันและรับประทาน ชา กาแฟ ขนมหวาน เช่นโรตี สม่ำเสมอตามร้านน้ำชาที่มีกระจายอยู่ทุกหมู่บ้าน สำหรับการออกกำลังกายยังไม่เป็นรูปแบบที่ชัดเจนมากนัก มีการออกกำลังกายเฉพาะกลุ่ม ส่วนใหญ่คิดว่าการทำงานออกแรงเป็นการออกกำลังกายไปในตัว ด้วยวิถีชีวิตดังกล่าวข้างต้นนับเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการจัดระบบการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในชุมชน โดยใช้เทคโนโลยี บุคลากร และทรัพยากร ที่มีอยู่ในชุมชน มาจัดกระบวนการสร้างความเข้าใจ และสร้างการมีส่วนร่วมและการร่วมมือจากภาคีทุกภาคส่วนในหมู่บ้าน มีการใช้แผนที่ทางเดินยุทธ์ศาสตร์ เป็นเครื่องมือในการบริหาร การเปลี่ยนแปลงและจัดทำแผนสุขภาพตำบล ที่มีความสัมพันธ์ในหลายมิติได้มีการปรับแนวคิดการสร้างสุขภาพตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีการบูรณาการทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานให้เข้มแข็ง เน้นกิจกรรมการป้องกันโรคเพื่อห่างไกลมะเร็ง และโรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญ เช่น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานผัก ผลไม้ปลอดสารพิษครึ่งหนึ่งของปริมาณอาหารในแต่ละมื้อเป็นประจำ ลดอาหารหวาน มัน เค็ม หลีกเลี่ยงจากสารก่อมะเร็งโดยส่งเสริมให้ประชาชนมีความสามารถพึ่นตนเองได้และมีทักษะในการดำรงชีวิตอย่างเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ และสามารถจัดบริการด้านสุขภาพอย่างเหมาะสม คุ้มค่า มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล นำไปสู่การปรับพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนทั้งในระดับบุคคลครอบครัวและชุมชน ซึ่งเป็นเป้าหมายสุดท้ายของการพัฒนาระบบบริการสุขที่พึงประสงค์ คือ สุขภาวะที่ยั่งยืน ด้วยวิถีชีวิตที่พอเพียงในที่สุด รพ.ควนโดน จึงได้จัดทำโครงการออกกำลังกายเป็นหลัก บริโภคผักปลอดสารพิษ พิชิตโรคเรื้อรัง ในถนนสายสุขภาพ ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนได้ออกกำลังกายด้วยวิธีการเดิน วิ่ง ปั่นจักรยานและผ้าขาวม้าในถนนสายสุขภาพ

 

2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนสามารถปลูกและบริโภคผักปลอดสารพิษที่ผลิตขึ้งเองในชุมชน

 

3 เพื่อสร้างรายได้เสริม/ลดรายจ่ายของครอบครัวให้คนในพื้นที่

 

4 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวตามหลัก ๓อ.๒ส. เพื่อการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ ๑. จัดทำโครงการเพื่อเสนอของบประมาณ ๒. จัดเตรียม กลุ่มเป้าหมาย สถานที่ ๓. จัดทำ/ติดตั้งป้ายถนนสายสุขภาพบ้านปลักซิมปอ ม.๖ ต.ควนสตอ

ขั้นดำเนินการ ๔. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนการเรียนรู้/เสริมสร้างพลังให้กับกลุ่มเสี่ยงในเรื่องการปฏิบัติตัวตามหลัก ๓อ.๒ส. เพื่อการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชน ๕. สาธิตเมนูอาหารพื้นบ้านเพื่อสุขภาพแก่กลุ่มแกนนำและกลุ่มเสี่ยง ๖. ร่วมปลูกผักปลอดสารพิษไว้บริโภคเองในถนนสายสุขภาพและแบ่งหน้าที่ร่วมกันรับผิดชอบในการดูแลผัก ๗. จัดรณรงค์และออกกำลังกายในถนนสายสุขภาพบ้านปลักซิมปอทุกวัน เวลา ๑๗.๐๐น.เป็นต้นไป ๘. จัดทำ/ติดตั้งป้ายถนนสายสุขภาพบ้านปลักซิมปอ ๑ ป้าย

ขั้นประเมินผล ๙. ประเมินความพึงพอใจ เฝ้าระวังสังเกตการเข้าร่วมกิจกรรมและสรุปผลการดำเนินงานเป็นระยะ ๑๐. สรุปผลการดำเนินงานเป็นระยะๆ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2560 14:09 น.