กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังความปลอดภัยจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ปีงบประมาณ 2563 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวถนน
รหัสโครงการ 63-L5248-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวถนน
วันที่อนุมัติ 17 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2563 - 31 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2563
งบประมาณ 28,755.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางทิพย์ พรหมณี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวถนน มีประชากรทั้งหมด 2,216 คน (ข้อมูล ณ. 1 กค 2562)ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ ๘๐ของพื้นที่ทั้งหมด ประกอบด้วยพื้นที่ทำสวนยางพารา ทำสวนผลไม้ และสวนผัก การทำเกษตรของประชาชนในพื้นที่ยังมีการพึ่งพาสารเคมีในการกำจัดแมลง มีทั้งกลุ่มออร์กาโนคลอไรน์, กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต,กลุ่มคาร์บาเมต และกลุ่มสารสังเคราะห์ไพรีทอยด์ และสารป้องกันและกำจัดวัชพืช ในการทำการเกษตร ซึ่งผลกระทบของสารเคมีต่างๆเหล่านี้เป็นอันตรายต่อสุขภาพมีพิษทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรังตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้นความเป็นพิษและปริมาณที่ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หากเกษตรกรไม่มีความรู้ ความเข้าใจ ในการใช้สารเคมีต่างๆ เหล่านี้ เช่น พฤติกรรมการทำงานของเกษตรกรที่ไม่ถูกต้อง การสัมผัสสารเคมีโดยไม่ใส่ผ้าปิดจมูก, ไม่สวมถุงมือ, ใส่เสื้อผ้าที่ไม่ปกปิด และไม่สวมรองเท้าบู๊ท เป็นต้น นอกจากนี้เกษตรกรสามารถสัมผัสสารเคมีโดยการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น การสูดหรือดมสารเคมีเข้าไปและถังภาชนะบรรจุสารเคมีที่รั่วซึมฉีดพ่นสวนทิศทางลมทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมี เป็นต้น เกษตรกรที่สัมผัสสารเคมีอาจส่งผลต่อสุขภาพทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตาซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมาเช่นโรคมะเร็งโรคต่อมไร้ท่อ, โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้น สารเคมีต่างๆ เหล่านี้ยังส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ทำให้ระบบนิเวศจะเปราะบางลงไม่สามารถรักษาสมดุลทางธรรมชาติ การระบาดของศัตรูพืชนับวันจะรุนแรงและถี่ขึ้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวถนน ซึ่งเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิ ตระหนักถึงความจำเป็นในการจัดกิจกรรมเพื่อดูแลสุขภาพเกษตรกรในชุมชน ประกอบด้วย การสำรวจข้อมูลเบื้องต้น การสัมภาษณ์ด้วยแบบประเมินความเสี่ยง การเจาะเลือดตรวจคัดกรองเพื่อสืบค้นความผิดปกติในระยะเริ่มแรกป้องกันและลดความสูญเสียจากผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับอันตรายจากการใช้สารจำกัดศัตรูพืช วิธีป้องกันโรคและการดูแลสุขภาพเบื้องต้นด้วยตัวเอง การวินิจฉัยและการรักษาเบื้องต้น การส่งต่อเพื่อการพบแพทย์เฉพาะทาง และการแนะนำการใช้สมุนไพรลดล้างพิษ ตลอดจนจัดกิจกรรมการให้คำปรึกษากับเกษตรกรเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้มีภาวะเสี่ยงจากการทำงานด้านเกษตรและป้องกันโรคอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้จากการปฏิบัติงานและสามารถนำความรู้ไปใช้กับตนเองได้

อย่างน้อยร้อยละ 80 กลุ่มผู้มีภาวะเสี่ยงจากการทำงานด้านการเกษตรในพื้นที่ได้รับความรู้ เพิ่มขึ้น และนำความรู้ไปปฏิบัติใช้

0.00
2 2 เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้มีภาวะเสี่ยงจากการทำงานด้านเกษตรได้รับการคัดกรองความเสี่ยงทางสุขภาพ

กลุ่มผู้มีภาวะเสี่ยงจากการทำงานด้านการเกษตรในพื้นที่ได้รับการคัดกรองสุขภาพ ในปีแรก จำนวน 150 คน

0.00
3 3 เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันภาวะสุขภาพของกลุ่มผู้ที่มีภาวะเสี่ยงจากการทำงานด้านเกษตร

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมชี้แจงวางแผนการดำเนินงานร่วมกับเจ้าหน้าที่และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเช่นอสม. ผู้นำหมู่บ้านฯลฯ
  2. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้กลุ่มเกษตรกรผู้มีภาวะเสี่ยงจากการทำงานด้านการเกษตรในพื้นที่ เช่น เกษตรกรชาวสวนยางพารา ปลูกผัก และอื่นๆ เข้าร่วมโครงการ
  3. จัดเตรียมวัสดุ/อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องติดต่อ และประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดต่อวิทยากรในการอบรม
  4. ให้ความรู้และคัดกรองสุขภาพกลุ่มผู้มีภาวะเสี่ยงจากการทำงานด้านการเกษตรในพื้นที่

- เอกสาร Pre-Test และ Post-Test - จัดอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริม ป้องกันโรค หรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ในการปฏิบัติงานในพื้นที่ จำนวน 2 ครั้ง   5. วิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำสภาวะสุขภาพของกลุ่มผู้มีภาวะเสี่ยงจากการทำงานด้านการเกษตรและส่งต่อผู้ที่มีผลผิดปกติเพื่อได้รับการรักษาที่ถูกต้อง - คัดกรองทางสุขภาพของกลุ่มผู้มีภาวะเสี่ยงจากการทำงานด้านการเกษตร (ใช้แบบคัดกรองโดยการตรวจเลือดใช้กระดาษทดสอบเอนไซม์โคลนเอสเตอเรส)ในพื้นที่ จำนวน 2 ครั้ง   6. สรุป-รายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บริหารและคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปริก

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้มีภาวะเสี่ยงจากการทำงานด้านเกษตร ได้รับความรู้ ความเข้าใจ สามารถป้องกันโรคอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้จากการปฏิบัติงานและสามารถนำความรู้ไปนำใช้กับตนเองได้
  2. กลุ่มผู้มีภาวะเสี่ยงจากการทำงานด้านการเกษตรได้รับการคัดกรองความเสี่ยงทางสุขภาพและได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
  3. เกิดการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพของกลุ่มผู้ที่มีภาวะเสี่ยงจากการทำงานด้านเกษตร
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2563 09:03 น.