กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L5248-1-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 17 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2563 - 31 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2563
งบประมาณ 323,320.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมโภช บุญฉลาด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 11798 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคไข้เลือดออก นับเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญของสาธารณสุขไทย ผู้ป่วยแต่ละปีพบได้จำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆซึ่งมียุงลายเป็นพาหนะนำโรค พบได้ทุกหนทุกแห่ง โดยเฉพาะในครัวเรือนและบริเวณที่พักอาศัย ยุงลายสามารถแพร่พันธุ์ได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะฤดูฝน ดังนั้นจึงมีโอกาสพบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปีและจากการเฝ้าระวังโรคพบว่าฤดูกาลมีผลทำให้สถานการณ์ของโรคเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย การดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก จึงต้องได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากประชาชนทุกครัวเรือนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ต้องตระหนักถึงปัญหาโรคไข้เลือดออกและต้องเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนในการเฝ้าระวัง รวมถึงการป้องกันและควบคุมโรคให้มีความยั่งยืนต่อไป โดยให้ชุมชนเป็นผู้ดูแลกันเองต่อไปอย่างเป็นรูปธรรม ในปี พ.ศ. 2562 มีผู้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกจังหวัดสงขลา จำนวน 1,882 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 188.20 ต่อแสนประชากร อำเภอสะเดา จำนวน 363 รายคิดเป็นอัตราป่วย 257.64 ต่อแสนประชากร และในพื้นที่ตำบลปริกจำนวน 127 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 582.63 ต่อแสนประชากร ข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอสะเดาเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2562จากเป้าหมายที่กำหนดไว้ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร ซึ่งดูจากปรากฏการณ์ของโรคแล้ว เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์แล้วนั้น ยังเกินเกณฑ์ที่กำหนดอยู่มาก จำเป็นต้องป้องกัน ดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก อย่างเข้มข้น จริงจังและต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักและเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหา จึงได้จัดทำโครงการ ควบคุม ป้องกันไข้เลือดออก ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน
  • จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
0.00
2 ข้อที่ 2เพื่อให้ประชาชนมีความตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

-  ประชาชน สถานประกอบการ ส่วนราชการ มีส่วนร่วมในการรณรงค์ป้องกันไข้เลือดออก ทั้งทางกายภาพ  ทางเคมี และทางชีวภาพ
-  พ่นทำลายยุงตัวแก่ประจำปี  (2  ครั้ง/ปี ) ในโรงเรียน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

1.การเตรียมการ 1.1 นำสภาพปัญหาและแนวโน้มการเกิดโรคเข้าปรึกษาหารือในที่ประชุมโดยประกอบด้วยเจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในพื้นที่ อสม. และผู้นำชุมชน 1.2 แต่งตั้งคณะทำงานทั้งในหน่วยงานและพื้นที่ดำเนินงาน 1.3 ขอความร่วมมือในการดำเนินงานจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอสะเดา

  1. การกำหนดแนวทางการปฏิบัติงาน องค์การบริหารส่วนตำบลปริก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในพื้นที่ อสม.และผู้นำชุมชนได้ร่วมกำหนดแนวทางในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกประจำปี 2563ในพื้นที่รับผิดชอบไว้ดังนี้ 2.1 ให้อสม.ออกเยี่ยมบ้านในละแวกรับผิดชอบทุกสัปดาห์ เพื่อค้นหา ผู้ป่วยรายใหม่หรือผู้ที่สงสัยว่าอาจจะเป็นโรคไข้เลือดออกแล้วรีบแจ้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพหรือองค์การบริหารส่วนตำบลปริกทันทีเพื่อจะได้รีบดำเนินการสอบสวนโรคและควบคุมโรคต่อไป 2.2 ในการสำรวจความชุมของลูกน้ำยุงลายในชุมชนของอสม.นั้นจะเน้นให้เจ้าของบ้านและสมาชิกในบ้านเห็นความสำคัญและมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 2.3 กรณีเกิดโรคขึ้นในพื้นที่รับผิดชอบของอสม.คนใดให้อสม.ที่รับผิดชอบบ้านในระยะรัศมี 100 เมตรจากบ้านผู้ป่วยร่วมกับเจ้าบ้านสำรวจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำและปรับปรุงสุขาภิบาลในบริเวณบ้านของตนเองทุกๆ 7 วันติดต่อกัน 4 สัปดาห์รวมทั้งแจ้งเจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุข เพื่อสอบสวนโรค และพ่นหมอกควันกำจัดตัวเต็มวัยของยุงลาย
  2. การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ 3.1 การดำเนินงานในโรงเรียน

- ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและรู้จักสังเกตลักษณะลูกน้ำยุงลายแหล่ง/ภาชนะที่อาจพบลูกน้ำยุงลายในชุมชน - ร่วมกับโรงเรียนในการจัดกิจกรรมนำนักเรียนลงศึกษาสภาพที่เป็นจริงในชุมชนและร่วมสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชนเพื่อใช้เป็นแนวทางในการป้องกันโรคไข้เลือดออก - สนับสนุนการจัดแผนการเรียนการสอนเรื่องโครงการป้องกันโรคไข้เลือดออก - สนับสนุนให้โรงเรียนมีแหล่งเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูงเพื่อจะได้นำไปปล่อยในภาชนะที่กักเก็บน้ำที่มีฝาปิดทั้งในโรงเรียนและบ้านของนักเรียน - ระหว่างโรงเรียนปิดภาคเรียน ให้ระบายน้ำออกจากภาชนะกักเก็บน้ำและขัดภาชนะให้เรียบร้อย หากไม่สามารถเทน้ำได้ให้ใส่ทรายอะเบทเพื่อป้องกันการวางไข่ของยุงลาย - การพ่นละอองฝอยและหมอกควันเพื่อกำจัดยุงลายตัวแก่พาหะนำโรคไข้เลือดออก 3.2 การดำเนินงานในชุมชน -จะเน้นให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกเช่นการร่วมสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำในบ้านของตนเอง,การร่วมจัดสัปดาห์รณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก - ใช้ทรายอะเบทและเคมีภัณฑ์อื่นๆในการควบคุมลูกน้ำยุงลาย - พ่นทำลายยุงตัวแก่ประจำปี (2 ครั้ง/ปี ) - กรณีมีผู้ป่วยไข้เลือดออกในพื้นที่ หลังจากได้รับรายงานภายใน 24 ชั่วโมง พ่น 1 รอบ รัศมี 100เมตรในบ้านและรอบบ้านผู้ป่วย และพ่นซ้ำอีก2ครั้ง ในวันที่ 3 และวันที่ 7


4. การประสานงาน 4.1 ศูนย์ระบาดวิทยาสำนักงานสาธารณสุขอำเภอสะเดา 4.2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในเขตพื้นที่ 4.3 องค์กรอื่นๆในชุมชน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถพัฒนาแนวทางการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
  2. สามารถควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายที่บ้านได้ครอบคลุม 90%
  3. สามารถลดอัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกจนไม่เป็นปัญหาสาธารณสุข
  4. ประชาชนในเขตรับผิดชอบมีความตระหนักและสามารถควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุลาย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2563 09:47 น.