กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการอบรมเชิงปฎิบัติการ บูรณาการสร้างความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเสี่ยงด้านสุขภาพ ปีงบประมาณ 2563 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาท่าม

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฎิบัติการ บูรณาการสร้างความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเสี่ยงด้านสุขภาพ ปีงบประมาณ 2563 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาท่าม
รหัสโครงการ 63-L8428-01-12ok'
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านนาท่าม
วันที่อนุมัติ 2 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ธันวาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 33,370.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอรณิชชา ยังช่วย
พี่เลี้ยงโครงการ รพ.สต.บ้านนาท่าม
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 69 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง ถือเป็นความรับผิดชอบของบุคคลทุกคน เพราะสุขภาพเป็นเรื่องส่วนบุคคลไม่สามารถหยิบยื่นให้กันและกันได้ การที่เราจะมีสุขภาพดีหรือไม่ดีนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆประการและหนึ่งในนั้นคือพฤติกรรมสุขภาพ ซึ่งหมายถึงการกระทำของบุคคลที่มีผลต่อสุขภาพโดยแสดงออกให้เห็นได้ในลักษณะของการกระทำและไม่กระทำในสิ่งที่เป็นผลดีและผลเสียต่อสุขภาพ โดยการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมส่งผลต่อการเกิดโรคที่สำคัญคือ กลุ่มโรค NCDs (Non-Communicable diseases) กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การใช้ยารักษาโรคเพื่อให้หายจากการเจ็บป่วยต่างๆแต่หากมีพฤติกรรมการใช้ยาไม่เหมาะสมยาที่มีประโยชน์อาจก่อให้เกิดโทษต่อสุขภาพได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ การปฎิบัติตัวไม่เหมาะสมหรือละเลยไม่ปฎิบัติอาจส่งผลต่อสุขภาพของทั้งตัวแม่เองและทารกในครรภ์ทั้งสิ้น
องค์การอนามัยโลกได้ทำนายไว้ว่าในปี พ.ศ. 2573 ประชากรโลกจำนวน 23 ล้านคนจะเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โดยร้อยละ 85 อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา โดยสถิติข้อมูลโรคไม่ติดต่อของกองโรคไม่ติดต่อกระทรวงสาธารณสุข พบจำนวนและอัตราผู้ป่วยใน 4 โรค NCDs ต่อประชากรแสนคน 100,000 คน ปี 2556 - 2558 ดังนี้

โรค ระดับ ปี 2556 2557 2558 จำนวน อัตรา จำนวน อัตรา จำนวน อัตรา ความดันโลหิตสูง ประเทศ 1047979 1621.72 1,111,311 1,710.89 1,231,919 1,894.46 เขต12 71,465 1494.21 68,125 1,411.78 85,715 1,764.05 จังหวัดตรัง 13,132 2071.36 12,402 1,945.74 16,333 2,555.14 เบาหวาน ประเทศ 698,720 1081.25 670,664 1,032.50 802,017 1,233.35 เขต12 38,929 813.94 37,642 780.07 46,703 961.17 จังหวัดตรัง 7,080 1116.75 7,068 1,108.89 8,717 1,363.69 หัวใจขาดเลือด ประเทศ 279109 431.91 264,820 407.70 325,873 501.13 เขต12 22,037 460.76 22,025 456.43 27,309 562.03 จังหวัดตรัง 3,875 611.22 3,456 542.21 4,334 678.01 สมองขาดเลือด ประเทศ 237,039 366.81 228,836 352.30 276,523 425.24 เขต 12 16,059 335.77 15,399 319.12 19,900 409.55 จังหวัดตรัง 3,307 521.63 3,177 498.44 4,379 685.05

จากตารางจะเห็นได้ว่า มีผู้ป่วยด้วยโรค NCDs มากขึ้นทุกปีและมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นอีก
หากไม่มีการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพดีเพียงพอ ในส่วนของโรคมะเร็งองคการอนามัยโลกพบว่าในป พ.ศ. 2561 มีผูปวยมะเร็งรายใหม่จํานวน 18.1 ลานคนและมีผูเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง 9.6 ลานคน โรคมะเร็งที่พบ 5 อันดับ แรกของโลก ไดแก่ มะเร็งปอด มะเร็งเตานม มะเร็งลําไสใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งกระเพาะอาหารข้อมูลสถิติโรคมะเร็งประเทศไทยป พ.ศ. 2557ของสถาบันมะเร็งแห่งชาติพบผูปวยรายใหม่ 122,757คน เปนเพศชายจํานวน 59,662 คน และเพศหญิง 63,095 คน โรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรกในชายไทย ไดแก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งลําไสใหญ่และทวารหนัก มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็ง ต่อมน้ำเหลือง ส่วนมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรกในหญิงไทย ไดแก่ มะเร็งเตานม มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลําไสใหญ่และทวารหนัก และมะเร็งปอดที่มา แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ National Cancer Control Programme (พ.ศ. 2561 - 2565) ข้อมูลจากรายงานการวิจัยของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)ในปี พ.ศ.2555 ชี้ว่าในแต่ละปีคนไทยติดเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะมากกว่า 100,000 ราย เสียชีวิตมากกว่า 30,000 ราย ต้องอยู่ในโรงพยาบาลนานขึ้นมากกว่าหนึ่งล้านวัน และสูญเสียทางเศรษฐกิจมากกว่า 10,000 ล้านบาท ยังไม่นับรวมถึงการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผลที่เกิดจากการสั่งใช้ยาภายใต้อิทธิพลจากการส่งเสริมการขายยาและการโฆษณายาทำให้เกิดการใช้ยาโดยไม่จำเป็น การสั่งใช้ยาซ้ำซ้อน สั่งใช้ยาโดยไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่ารักษาโรคนั้นได้จริง จากการสำรวจของกรมอนามัยในปี 2560 พบการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหญิงอายุ 10-19 ปี คลอดบุตรรวมทั้งสิ้น 84,578 คน หรือเฉลี่ย 232 คนต่อวัน การคลอดซ้ำในกลุ่มอายุนี้ 9,092 คน หรือร้อยละ 10.7
ในระดับพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาท่าม ตำบลนาท่ามใต้ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง ปีงบประมาณ2562มีผลการดำเนินงานต่างๆดังนี้ ผลการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาท่าม ผลการคัดกรองโรค เป้าหมาย ( คน ) ผลงาน ( คน ) ร้อยละ ( คน ) เบาหวาน - กลุ่มปกติ - กลุ่มเสี่ยง - กลุ่มสงสัย 1329 1240 1123 97 20 93.30 90.56 7.82 1.61 ความดันโลหิตสูง - กลุ่มปกติ - กลุ่มเสี่ยง - กลุ่มสงสัย 1165 ๑,118 674 278 166 95.96 60.28 24.86 14.84

ในปีงบประมาณ 2562 มีผู้ป่วยเบาหวานความดันรายใหม่ 11ราย ( ที่มา : ฐานข้อมูลสาธารณสุขจังหวัด 43แฟ้ม)โดยกลุ่มผู้สงสัยป่วยและกลุ่มเสี่ยงต่อโรคส่วนใหญ่ก็มักจะพัฒนามาเป็นกลุ่มป่วยหากไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคที่ดีพอ

ตัวชี้วัดอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะในโรคติดเชื้อที่ระบบการหายใจช่วงบนและหลอดลมอักเสบเฉียบพลันในผู้ป่วยนอกระดับ รพ.สต.อยู่ที่ร้อยละ 9 .07( ที่มา:ฐานข้อมูลสาธารณสุขจังหวัด 43แฟ้ม) ซึ่งยังไม่เกินเกณฑ์ที่ ร้อยละ 20 แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ป่วยมักมีการติดเชื้อไวรัสและมักจะร้องขอยาปฏิชีวนะซึ่งมีความเชื่อว่าถ้าได้กินยาแก้อักเสบ(ยาปฏิชีวนะ)จะทำให้หายจากโรคที่เป็นทำให้เกิดการใช้ยาไม่สมเหตุผลขึ้นตามมา อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี ( Teenage pregnancy ) ปีงบประมาณ2562 จำนวน6 ราย คิดเป็น 75.94ต่อพันประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี ( เกณฑ์ที่38 ต่อพันประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี )
ภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ ( Hct ‹ 33 % ) จำนวน 6 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.18 ( เกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 18) จะเห็นได้ว่าการทำงานเพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีในแต่ละงานนั้นจำเป็นอย่างมากที่จะต้องสร้างองค์ความรู้เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีและสร้างโอกาสสำหรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมให้กับประชาชนในทุกกลุ่มโดยเน้นการเสริมสร้างองค์ความรู้เชิงปฎิบัติการแก่แกนนำสุขภาพในชุมชนทั้งในเรื่องของการดูแลสุขภาพแม่และเด็ก การป้องกันโรคไม่ติดต่อ การบริหารจัดการยาการแก้ไขปัญหาต่างๆนี้จึงจำเป็นต้องเน้นการสร้างความรู้และความเข้าใจเชิงรูปธรรมเพื่อให้เกิดความตระหนักและเห็นความจำเป็นของการดูแลสุขภาพทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาท่ามจึงได้จัดโครงการอบรมเชิงปฎิบัติการบูรณาการสร้างความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเสี่ยงด้านสุขภาพ ปีงบประมาณ 2563 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพแม่และเด็ก สามารถค้นหาหญิงตั้งครรภ์เพื่อเข้าสู่ระบบบริการตั้งแต่อายุครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

 

90.00 90.00
2 2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะแทรกซ็อนของโรคและมีแนวทางในการเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก่อโรค

 

90.00 90.00
3 3. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก การตรวจประเมินความเสี่ยงด้วยตนเองและเห็นความสำคัญต่อการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็ง

ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายที่มีความรู้มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก การตรวจประเมินความเสี่ยงด้วยตนเองและเห็นความสำคัญต่อการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็ง

90.00 90.00
4 4. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องการใช้ยาที่ถูกต้องเหมาะสมและช่วยเผยแพร่ความรู้เรื่องยาโดยเฉพาะการใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็น

ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายที่ความรู้เรื่องการใช้ยาที่ถูกต้องเหมาะสมและช่วยเผยแพร่ความรู้เรื่องยาโดยเฉพาะการใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็น

90.00 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพแม่และเด็ก สามารถค้นหาหญิงตั้งครรภ์เพื่อเข้าสู่ระบบบริการตั้งแต่อายุครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะแทรกซ็อนของโรคและมีแนวทางในการเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก่อโรค

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : 3. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก การตรวจประเมินความเสี่ยงด้วยตนเองและเห็นความสำคัญต่อการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็ง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : 4. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องการใช้ยาที่ถูกต้องเหมาะสมและช่วยเผยแพร่ความรู้เรื่องยาโดยเฉพาะการใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็น

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

2 ธ.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 อบรมเชิงปฎิบัติการ 33,370.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

กลุ่มประชาชนที่เข้ารับการอบรมตามโครงการ มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องสามารถดูแล สุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาล จากการเจ็บป่วยได้ในระดับหนึ่งทำให้ประชาชนมีความสุขทั้งด้านร่างกายจิตใจ และสังคม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2563 10:03 น.