กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านนา
รหัสโครงการ 63-L5184-1-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลจะนะ
วันที่อนุมัติ 6 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 260,530.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเจริญสุข คำหอมกุล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.901,100.742place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 174 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่รัฐบาลมีนโยบายสร้างนำซ่อม โดยเน้นการบริการเชิงรุกมากกว่าเชิงรับ เน้นการสร้างเสริมสุขภาพมากกว่าการรักษาพยาบาล และจัดให้บริการแก่ประชาชนครอบคลุมทุกกลุ่มวัย ตั้งแต่กลุ่มสตรีตั้งครรภ์ แม่และเด็ก วัยเรียน วัยรุ่น วัยทำงานและวัยผู้สูงอายุ รวมถึงการดูแลประชาชนตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งตาย ตั้งแต่ระดับ ครอบครัวและชุมชน ครอบคลุมทั้ง 5 มิติ คือมิติของการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน ฟื้นฟูสภาพ รักษาพยาบาลและการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งการให้การดูแลที่ครอบคลุมดังกล่าวนั้น เฉพาะเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพียงลำพังไม่สามารถให้บริการอย่างทั่วถึงได้ จึงต้องอาศัยพลังภาคีเครือข่ายที่สำคัญ ได้แก่ อสม. ซึ่งเป็นผู้ที่ให้บริการดูแลสร้างเสริมสุขภาพประชาชนในชุมชน จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาศักยภาพ ให้มีความรู้ ความสามรถและมีทักษะในการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพประชาชนได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพและครอบคลุมทุกมิติ ทุกกลุ่ม ดังนั้นการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพนอกจากการมีบุคลากรที่เพียงพอในการให้บริการ จึงจำเป็นต้องจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์เพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความครอบคลุมและมีประสิทธฺภาพในการให้บริการ โยมีเป้าหมายสูงสุด คือ ประชาชนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิติที่ดีอย่างยั่งยืน ในการนี้ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านนา ปี 2563 ขึ้น เพื่อพัฒนา ความรู้ ความสามารถและทักษะแกนนำ อสม. รวมทั้งจักซื้อครุภัณ์ทางการแพทย์เพิ่มเติมให้เพียงพอ เพื่อให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึงและครอบคลุมทุกกลุ่มวัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้แสม.มีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพประชาชนได้อย่างถูกต้อง 2.มีอุปกรณ์ เครื่องมือในการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกครอบคลุมทุกหมู่บ้าน 3.ประชาชนมีความพึงพอใจในการรับบริการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก

1.อสม.มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกแก่ประชาชน มากกว่าร้อยละ 80 2.อุปกรณ์ เครื่องมือ ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพในการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกครอบคลุมทุกหมู่บ้าน 3.ประชาชนมีความพึงพอใจในการบริการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกระดับดี มากกว่าร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
25 ก.พ. 63 1.ประชุม ปรึกษาหารือคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง 30 750.00 -
25 ก.พ. 63 2.จัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ 0 232,500.00 -
25 ก.พ. 63 3.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ อสม. เพื่อพัฒนาศักยภาพในการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกตามแผน 144 27,280.00 -
รวม 174 260,530.00 0 0.00

ขั้นเตรียมการ 1.ประชุม ปรึกษาหารือคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง 2.สำรวจ อุปกรณ์ เครื่องมือ ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ ที่ชำรุดและยังใช้งานได้ โดยเฉพาะ เครื่องวัดความดันโลหิตเครื่องเจาะน้ำตาลในเลือดและเครื่องชั่งน้ำหนักพร้อมจัดทำทะเบียนครุภัณฑ์ 3.ประเมินความรู้ความสามรถ อสม.ในการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ ในการสร้าางเสริมสุขภาพ 4.จัดทำแผนงานโครงการ 5.จัดหา/ติดต่อแประสานร้านค้าเพื่อขอแบบเสนิราคา ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ 6.จัดเตรียม อุปกรณ์ สถานที่ในการจัดอบรมโครงการฯ 7.ประชาสัมพันธ์โครงการฯ ขั้นดำเนินการ 1.จัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ ได้แก่ -เครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 30 ชุด -เครื่องเจาะน้ำตาลในเลือด จำนวน 30 ชุด -เครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน 30 ชุด 2.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ อสม.เพื่อพัฒนาศักยภาพในการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกตามแผน 3.ประเมินระดับความพึงพอใจ 4.สรุปผลการอบรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อสม.มีความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกแก่ประชาชน 2.มีอุปกรณ์ เครื่องมือ ที่ทันสมัยและมีประสิทธฺภาพในการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกครอบคลุมทุกหมู่บ้าน 3.ประชาชนมีความพึงพอใจในการรับบริการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกอยู่ในระดับดี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2563 10:13 น.