กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคนรุ่นใหม่ห่างไกลบุหรี่
รหัสโครงการ 63-L5248-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กรรมการหมู่บ้านหัวถนน
วันที่อนุมัติ 17 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2563
งบประมาณ 24,125.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชูเกียรติ คงจันทร์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 130 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนเวลาอันควรลำดับที่สองของคนไทย โดยประมาณหนึ่งในหกของชายไทยและหนึ่งในยี่สิบห้าของหญิงไทยที่เสียชีวิตมีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ ปี 2557 ผลสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชากรไทย อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าจำนวนผู้สูบบุหรี่ปัจจุบัน จำนวน 11.4 ล้านคน คิดอัตราการสูบบุหรี่ 20.7%โดยแยกผู้สูบประจำ จำนวน 10.0 ล้านคน สูบเป็นครั้งคราวจำนวน 1.4ล้านคนเคยสูบ แต่เลิกแล้วจำนวน 3.7 ล้านคนอัตราการสูบบุหรี่ปัจจุบันในเยาวชนกลุ่มอายุ 15 - 18 ปี จำนวน 353,898 คน คิดเป็นอัตรา 8.3 %กลุ่มอายุ 19 - 24 ปี จำนวน 1,059,839 คน คิดอัตรา 19.8 % เด็กไทยติดบุหรี่ใหม่เพิ่มปีละ 200,000 คน ติดก่อนอายุ 18 ปี จากสถิติที่ผ่านมาพบว่าร้อยละ 70 ของเยาวชนที่ติดบุหรี่จะติดไปตลอดชีวิต ส่วนร้อยละ 30 จะเลิกได้หลังจากติดบุหรี่ไปแล้วเป็นเวลา 20 ปี (ข้อมูลรวบรวมโดย คร.ศรัณญา เบญจกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
      จากข้อมูลดังกล่าวทาง คณะกรรมการพื้นที่หมู่8 บ้านหัวถนน จึงมีแนวคิดเนื่องจาก พื้นที่หมู่ 8    บ้านหัวถนน เป็นพื้นที่ที่มีประชาชนชนที่สูบบุหรี่เป็นจำนวนมากพอสมควร เด็กและเยาวชนในพื้นที่เองไม่ทราบถึงพิษภัยและโทษของบุหรี่ จึงทำให้เกิดนักสูบหน้าใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ลามไปถึงการลองเสพยาเสพติดชนิดอื่นๆตามมาด้วย โดยปัญหายาเสพติดและบุหรี่เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจัง ทั้งนี้เพราะปัญหายาเสพติดและบุหรี่ที่มีการแพร่ระบาดในทุกพื้นที่ของชุมชนและมีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในชุมชนทำให้เด็กและเยาวชนติดยาเสพติดและบุหรี่มีมากขึ้น ดังนั้นสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องทำกิจกรรมเหล่านี้ขึ้นในพื้นที่ ให้ประชาชนและเยาวชนทราบถึงพิษภัยและโทษของบุหรี่ เพื่อลดจำนวนนักสูบทั้งที่เป็นเด็กและเยาวชนและประชาชนในพื้นที่ให้น้อยลง และไม่ทำให้ปัญหายาเสพติดลุกลามไปมากกว่านี้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. เสนอโครงการเพื่อของบประมาณต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปริก 2. ประชุมชี้แจงการดำเนินโครงการฯ กับคณะกรรมการหมู่บ้าน และประชาชนในพื้นที่ 3. เชิญชวนและประชาสัมพันธ์ประชาชน (โดยเน้นเด็กและเยาวชนในพื้นที่ที่สูบบุหรี่ )ให้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้      4. จัดอบรมตามแผนงานโครงการที่กำหนดไว้ โดยเชิญวิทยากรที่มีความรู้ความชำนาญในด้านนี้มาให้การบรรยายกับผู้เข้าร่วมอบรม ๕. สรุปและประเมินผลโครงการ รายงานผลต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปริก

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนได้ความรู้เรื่องโทษและพิษภัยของยาเสพติด 2.เด็กและเยาวชนตระหนักถึงโทษและพิษภัยของยาเสพติดและบุหรี่
    1. ประชาชนที่สูบบุหรี่ทราบและสามารถเข้าร่วมคลินิก ลด ละเลิก บุหรี่ ในสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2563 10:46 น.