กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพกลุ่มนวดไทยและผู้สนใจ ด้านการดูแลแม่หลังคลอดและผู้ป่วยอัมพฤต/อัมพาต ด้วยวิถีภูมิปัญญาไทย
รหัสโครงการ 63-L5169-2-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มนวดแผนไทยตำบลทุ่งลาน
วันที่อนุมัติ 29 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 44,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประจวบ เพชรโภคา ประธานกลุ่มนวดแผนไทยตำบลทุ่งลาน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2563 30 ก.ย. 2563 44,400.00
รวมงบประมาณ 44,400.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสภาวการณ์ด้านสุขภาพของประชาชนตำบลทุ่งลาน มักประสบปัญหาการเจ็บป่วยโดยโรคเรื้อรังบ่อย โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็ง ไขมันในหลอดเลือดหัวใจ อัมพฤกษ์/อัมพาต เป็นต้น อันเกิดจากการรับประทานเชิงเดี่ยว และพืชอาหารที่ไม่ถูกกับธาตุทำให้เกิดการกินอาหารไม่ต้านทานโรค และขาดการดูแลสุขภาพตนเองด้วยวิถีทางภูมิปัญญาไทยที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วย และเกิด โรคต่าง ๆเกิดขึ้นตามมามากมาย ทำให้ครัวเรือนต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเป็นจำนวนมากซึ่งโรคส่วนใหญ่มักจะเกิดกับผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มที่ร่างกายอ่อนแอดังนั้นพฤติกรรมการก่อโรคส่วนใหญ่เกิดจาก พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เป็นพืชสมุนไพรอาหารและสมุนไพรที่มีฤทธิ์ทางยาของประชาชนตำบลทุ่งลาน น้อยมากและปัจจุบันมีภาวะเจ็บป่วยด้วยโรค อัมพฤกษ์/อัมพาต จำนวนมาก และเพิ่มมากขึ้นทุกปี ด้านการดูแลมารดาหลังคลอด พบว่ากลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ได้รับการดูแลหลังคลอดแบบปัจจุบันเป็นส่วนใหญ่ร้อยละ 91 (ข้อมูล30กันยายน2563) ไม่เคยได้รับการดูแลแบบดั้งเดิม ซึ่งการดูแลแบบดั้งเดิมนี้ยังประโยชน์ ช่วยลดภาวะการเกิดโรคมะเร็งมดลูกและเต้านมลดการอักเสบต่าง ๆ บำรุงผิวพรรณมารดาโดยใช้องค์ความรู้การทับหม้อเกลือหน้าท้อง การเข้ากระโจมอบสมุนไพรส่งเสริมป้องกันโรค และการใช้ยาขับน้ำคาวปลา ดังนั้นเพื่อเพิ่ม อัตราการดูแลมารดาหลังคลอดด้วยวิถีภูมิปัญญาไทยดั้งเดิม การดูแลผู้ป่วยโรค อัมพฤกษ์/อัมพาตดังกล่าวข้างต้นตลอดจนการใช้พืชสมุนไพรอาหารและสมุนไพรเป็นยาลดอัตราการเจ็บป่วยดังกล่าว และส่งเสริมการดูแลมารดาหลังคอดด้วยวิถีไทยดังเดิมที่เป็นประโยชน์ลดโรค จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพกลุ่มนวดแผนไทยและผู้สนใจด้านการดูแลแม่หลังคลอดและผู้ป่วยอัมพฤกษ์/อัมพาตด้วยวิถีภูมิปัญญาไทย ตำบลทุ่งลาน ปีงบประมาณ 2563ขึ้นมาเพื่อดำเนินการในพื้นที่ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพเพิ่มขีดความสามารถของกลุ่มนวดไทยและผู้สนใจในการดูแลมารดาหลังคลอดและการดูแลผู้ป่วย อัมพฤกษ์/อัมพาตด้วยวิถีภูมิปัญญาไทย แก่กลุ่มเป้าหมาย

ผู้ผ่านการอบรมความรู้มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลมารดาหลังคลอดและ  การดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์/อัมพาต ด้วยวิถีภูมิปัญญา เพิ่มขึ้น

100.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริมค่านิยม การดูแลมารดาหลังคลอด การดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์/อัมพาต ด้วยวิถีภูมิปัญญาไทย สมุนไพรในครัวเรือน

ร้อยละ ครัวเรือน การดูแลมารดาหลังคลอด  และการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์/อัมพาต ด้วยวิถีภูมิปัญญาไทย สมุนไพรในครัวเรือนไม่น้อยกว่าร้อยละ30

100.00 30.00
3 เพื่อส่งเสริมกลุ่มนวดไทยและผู้สนใจที่ผ่านการอบรมความรู้ในการดูแลมารดาหลังคลอด และ การดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์/อัมพาต ด้วยวิถีภูมิปัญญาไทยและเป็นแกนนำในการกระตุ้นให้ครัวเรือนตระหนักหันมาใช้วิถีภูมิปัญญาไทย สมุนไพร

ร้อยละ ครัวเรือนเข้าถึงการดูแลมารดาหลังคลอด  การดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์/อัมพาต ด้วยวิถีภูมิปัญญาไทยและการใช้สมุนไพรเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ30

100.00 30.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
30 มี.ค. 63 - 3 เม.ย. 63 ให้ความรู้และสาธิตวิธีการดูแลมารดาหลังคลอด และ การดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์/อัมพาต ด้วยวิถีภูมิปัญญาไทย 0 44,400.00 44,400.00
5 เม.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชน/องค์กร ต้นแบบการนำวิถีภูมิปัญญาไทย 0 0.00 0.00
รวม 0 44,400.00 2 44,400.00
  1. ประชุมชี้แจงรายละเอียดผู้เกี่ยวข้อง
  2. คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายหมอนวดไทย/ผู้สนใจ ตำบลทุ่งลานจำนวน 30 คน
    3.จัดกิจกรรมให้ความรู้และสาธิตการดูแลมารดาหลังคลอด การดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์และอัมพาต ด้วยวิถีภูมิปัญญาไทย แก่กลุ่มเป้าหมาย 4.แลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชน/องค์กร ต้นแบบการนำวิถีภูมิปัญญาไทย มาใช้ในการดูแลสุขภาพแม่หลังคลอด และการดูแลผู้ป่วยโรค อัมพฤกษ์/อัมพาต จำนวน 1 ครั้ง 5.ผู้ผ่านการอบรมติดตามเยี่ยมดูแลมารดาหลังคลอด /ดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์/อัมพาต ในเขตรับผิดชอบหรือตามที่ได้รับมอบหมาย CASE ให้ดูแล 6.สรุปและประเมินผลการดำเนินงานโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มนวดไทย และผู้สนใจ ที่ได้รับความรู้ สามารถนำไปใช้ดูแลมารดาหลังคลอด / ดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์/อัมพาต ตลอดจนใช้พืชสมุนไพรอาหารและสมุนไพรเป็นยาด้วยวิถีภูมิปัญญาไทย ที่ถูกต้อง ในการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค 2.ผู้ผ่านการอบรมความรู้ มีความสามารถในการดูแลมารดาหลังคลอดดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์/อัมพาต ตลอดจนใช้พืชสมุนไพรอาหารและสมุนไพรเป็นยาด้วยวิถีภูมิปัญญาไทย ที่ถูกต้อง ในการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค และเป็นแกนนำชักชวนให้มีการใช้วิถีภูมิปัญญาไทย/ สมุนไพรในครัวเรือน 3. เกิดค่านิยมอย่างต่อเนื่องในการดูแลสุขภาพด้วยการใช้สมุนไพรเป็นอาหารและยา ในการส่งเสริมสุขภาพ 4.ครัวเรือนมีความตระหนักหันมาใช้วิถีภูมิปัญญาไทยดั้งเดิม ดูแลมารดาหลังคลอดดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์/อัมพาตตลอดจนใช้พืชสมุนไพรอาหารและสมุนไพรเป็นยามากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2563 10:54 น.