กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ พลังชุมชน จัดการขยะสู่หมู่บ้านสุขภาวะ
รหัสโครงการ 60-L3336-2-8
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มพลังชุมชนจัดการสิ่งแวดล้อมบ้านกล้วยเภา
วันที่อนุมัติ 28 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมคิด ทองศรี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.279,100.318place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ขยะมูลฝอย ขยะหรือของเสีย แบ่งเป็น มูลฝอยธรรมดาทั่วไป ได้แก่ มูลฝอยสด เศษอาหาร กระดาษ โฟม พลาสติก ขวด แก้ว โลหะ ฯลฯ และของเสียอันตราย ได้แก่ มูลฝอยติดเชื้อจากโรงพยาบาล กากสารเคมี สารเคมีกำจัดแมลง กากน้ำมัน หลอดฟลุออกเรสเซนต์ แบตเตอรี่ใช้แล้ว แหล่งกำเนิดของเสียที่สำคัญ ได้แก่ ชุมชน โรงงานอุตสาหกรรมและพื้นที่เกษตรกรรม ปัญหาสิ่งแวดล้อมเนื่องจากขยะ ทุกวันนี้คนไทยกว่า 60 ล้านคน สามารถสร้างขยะได้มากถึง 14 ล้านตันต่อปี แต่ความสามารถในการจัดเก็บขยะกลับมีไม่ถึง 70% ของขยะที่เกิดขึ้น จึงทำให้เกิดปริมาณมูลฝอยตกค้าง ตามสถานที่ต่าง ๆ หรือมีการนำไปกำจัดโดยวิธีกองบนพื้นซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม คือ 1.อากาศเสีย เกิดจากการเผามูลฝอยกลางแจ้งทำให้เกิดควันและสารมลพิษทางอากาศ 2.น้ำเสีย เกิดจากการกองมูลฝอยที่ตกค้างบนพื้นเมื่อฝนตกจะเกิดน้้ำเสีย ซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำ ทำให้เกิดภาวะมลพิษทางน้ำ 3.แหล่งพาหะนำโรค จากมูลฝอยตกค้างบนพื้นจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของหนูและแมลงวัน ซึ่งเป็นพาหะนำโรคติดต่อทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน 4.เหตุรำคาญและความไม่น่าดู จากการเก็บขยะมูลฝอยไม่หมด ทำให้กลิ่นเหม็นรบกวน ระยะเวลาที่ขยะแต่ละชนิดย่อยสลายตามธรรมชาติ เศษกระดาษ ระยะเวลาย่อยสลาย 2-5เดือน เปลือกส้ม ระยะเวลาย่อยสลาย 6 เดือน ถ้วยกระดาษเคลือบระยะเวลาย่อยสลาย 5ปี ก้นกรองบุหรี่ระยะเวลาย่อยสลาย 12ปี รองเท้าหนัง ระยะเวลาย่อยสลาย25-40ปี กระป๋องอะลูมิเนียม ระยะเวลาย่อยสลาย80-100 ปี โฟม ระยะวลาย่อยสลายไม่ย่อยสลาย ควรหลีกเลี่ยงการใช้ ปัญหาสิ่งแวดล้อมเนื่องจากของเสียอันตราย ของเสียอันตรายหมายถึง ของเสียที่มีส่วนประกอบหรือเจือปนด้วยวัตถุอันตราย ซึ่งตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ระบุว่า 10 ประเภท ได้แก่ วัตถุระเบิดได้ วัตถุไวไฟ วัตถุออกซิไดซ์และวัตถุเปอร์ออกไซด์ วัตถุมีพิษ วัตถุที่ทำให้เกิดโรค วัตถุกัมมันตรังสี วัตถุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม วัตถุกัดกร่อน วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองและวัตถุอย่างอื่นไม่ว่าจะเป็นเคมีภัณฑ์ หรือสิ่งอื่นใดอาจทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อม ปัญหามลพิษจากของเสียอันตราย ที่สำคัญซึ่งกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมมีดังนี้ 1.ของเสียอันตรายจากภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ สารเคมี เศษวัตถุดิบ เศษผลิตภัณฑ์ น้ำเสีย อากาศเสีย 2.ของเสียอันตรายจากสถานพยาบาล ได้แก่ มูลฝอยติดเชื้อ เศษชิ้นส่วนอวัยวะต่าง ๆ เศษเนื้อเยื่อ สารกัมมันตรังสี ซากสัตว์ทดลองและสิ่งขับถ่ายหรือของเหลวจากร่างกายผู้ป่วย 3.ของเสียอันตรายจากบ้านเรือน เมื่อหมดอายุการใช้งานแล้ว ได้แก่ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่รถยนต์ น้ำยาทำความสะอาดเครื่องสุขภัณฑ์ หลอดฟลูออเรสเซนต์ สารเคมี กำจัดแมลง 4.ของเสียอันตรายจากภาคเกษตรกรรม ได้แก่ ภาชนะบรรจุสารเคมี ประเภทสารเคมี กำจัดศัตรูพืช การแก้ปัญหาขยะมูลฝอย 1.ก่อนจะทิ้งขยะ เราจะสามารถลดปริมาณขยะและนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ได้ มีแนวคิดอยูู่ 7R คือ -REFUSE การปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงสิ่งของหรือบรรจุภัณฑ์ที่จะสร้างปัญหาขยะรวมทั้งเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เช่น กล่อมโฟม หรือขยะมีพิษอื่น ๆ -REEFILL การเลือกใช้สินค้าชนิดเติมซึ่งใช้บรรจุภัณฑ์น้อยชิ้นกว่า ขยะก็น้อยกว่าด้วย -RETURN การเลือกใช้สินค้าที่สามารถส่งคืนบรรจุภัณฑ์กลับสู่ผู้ผลิตได้ เช่น ขวดเครื่องดื่มต่างๆ -REPAIR การซ่อมแซมเครื่องใช้ให้สามาถใช้ประโยชน์ได้ต่อไป ไม่ให้กลายเป็นขยะ -REUSE การนำบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ เช่น ใช้ถุงผ้าไปช็อปปิ้งแทนถุงก๊อบแก๊บ -RECYCLE การแยกขยะที่ยังใช้ประโยชน์ได้ให้ง่ายต่อการจัดเก็บและส่งแปรรูป เช่น บรรจุภัณฑ์ พลาสติก แก้ว กระป๋องเครื่องดื่มต่าง ๆ -REDUCE การลดการบริโภคและหาทางเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ 2.ทิ้งขยะในที่ที่จัดไว้ให้ 3.ควรมีการคัดแยกขยะและแยกทิ้งลงในถังรอง กลุ่มพลังชุมชนจัดการสิ่งแวดล้อมบ้านกล้วยเภา จึงจึงทำโครงการพลังชุมชน จัดการขยะสู่หมู่บ้านสุขภาวะโดยมีจุดประสงค์ เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านกล้วยเภา มีความรู้เกี่ยวกับขยะประเภทต่าง ๆ ปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะ วิธีการลดปริมาณขยะ การคัดแยก การนำกลับมาใช้ใหม่ การกำจัดขยะอย่างถูกวิธี รวมทั้งขยะในชุมชนมีปริมาณลดลง จากการที่ประชาชนนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติคัดแยกขยะจากต้นทาง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนบ้านกล้วยเภา มีความรู้เกี่ยวกับขยะประเภทต่าง ๆ ตลอดจนทราบถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะ

ประชาชนบ้านกล้วยเภา มีความรู้เกี่ยวกับขยะประเภทต่าง ๆ ตลอดจนทราบถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะเพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการอบรมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

2 เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการลดปริมาณขยะ วิธีการคัดแยก การนำกลับมาใช้ใหม่

ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการลดปริมาณขยะ วิธีการคัดแยก การนำกลับมาใช้ใหม่ เพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

3 เพื่อให้ชุมชนบริหารจัดการขยะด้วยตนเอง

1.มีจุดคัดแยกขยะของชุมชน 1 จุด 2.มีจุดปลอดขยะในหมู่บ้าน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดทำโครงการเพื่อเสนอของบประมาณ 2.ประชุมคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนบ้านกล้วยเภา 3.จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนด้านการจัดการขยะ การทำปุ๋ยหมักธรรมชาติจากเศษขยะ 4.ประเมินผลกิจกรรม 5.สรุปและประเมินผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนในชุมชนบ้านกล้วยเภา มีความรู้เกี่ยวกับขยะประเภทต่าง ๆ ตลอดจนทราบถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะ 2.ประชาชนในชุมชนบ้านกล้วยเภา มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการลดปริมาณขยะ วิธีการคัดแยก การนำกลับมาใช้ใหม่ 3.ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการกำจัดขยะประเภทต่าง ๆ อย่างถูกวิธี 4.ประชาชนในหมู่บ้านเป้าหมายเรียนรู้ในการบริหารจัดการตนเองในการคัดแยกขยะ 5.ขยะในชุมชนมีปริมาณลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2560 14:33 น.