กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมสร้างแกนนำการจัดการขยะมูลฝอย
รหัสโครงการ 63-L3013-01-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 5 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 มีนาคม 2563 - 27 มีนาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 27 เมษายน 2563
งบประมาณ 32,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะรอสดี เงาะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลกอเดร์ การีนา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบานา อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 24 มี.ค. 2563 27 มี.ค. 2563 32,500.00
รวมงบประมาณ 32,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหามูลฝอยนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น และการพัฒนาทางเทคโนโลยี ทำให้มีปริมาณมูลฝอยเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมูลฝอยที่เกิดขึ้น จากการอุปโภค บริโภคของประชากร อีกทั้งมูลฝอยที่ถูกผลิตในระยะหลังๆ จะมีส่วนประกอบของวัสดุที่กำจัดได้ยากมากขึ้น ในขณะที่ความสามารถในการจัดการมูลฝอยในแต่ละท้องถิ่นมีอย่างจำกัด ก่อให้เกิดปัญหามลพิษตามมา ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อมนานับประการ จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนและจำเป็นที่ท้องถิ่นต้องเร่งดำเนินการจัดการปัญหาเหล่านี้ ซึ่งจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย โดยเริ่มต้นจากประชาชนในท้องถิ่นให้มีการสร้างอุปนิสัยในการลดปริมาณขยะของตนเอง เช่น ส่งเสริมการนำกลับมาใช้ใหม่ การทำปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์และของขายได้ การจัดการภาชนะรองรับของตนเองและถนนปลอดถังขยะ เป็นต้น ดังนั้น ความสำเร็จของการจัดการมูลฝอย จึงขึ้นอยู่กับความพร้อมขององค์กรและท้องถิ่น ทั้งในแง่ของความพร้อมด้านวิชาการ และด้านบุคลากร ซึ่งบุคลากรที่จะทำหน้าที่เป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยโดยชุมชนจะต้องมีความรู้ด้านการจัดการขยะและจำเป็นต้องเรียนรู้หลักการหรือเทคนิคต่างๆ เกี่ยวกับวิธีการถ่ายทอดอย่างถึงแก่นแท้ มีความเข้าใจกระบวนการถ่ายทอดที่เป็นศิลป์ ความต้องการด้านอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดของผู้ฟัง การสร้างบรรยากาศให้ชวนฟังและติดตาม หากสามารถทำได้ตามที่รู้และที่เข้าใจ หรือสามารถผูกทั้งศาสตร์และศิลป์เข้าด้วยกันได้อย่างเหมาะสม ก็จะส่งผลให้ทุกฝ่ายในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการมูลฝอยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการเผยแพร่ความรู้การจัดการขยะมูลฝอยแก่ชุมชน

 

0.00
2 เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและเทคนิคการเป็นวิทยากรอย่างมืออาชีพ

 

0.00
3 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการมูลฝอยและสิ่งแวดล้อม

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 80 32,500.00 2 32,500.00
24 - 26 มี.ค. 63 กิจกรรมสร้างแกนในการจัดการมูลฝอย ปีงบประมาณ 2563 40 32,500.00 32,500.00
27 มี.ค. 63 กิจกรรมต่อยอดการสร้างแกนนำในการจัดการขยะมูลฝอย 40 0.00 0.00
  1. ขั้นเตรียมการ
    • จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ
    • ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    • ประชาสัมพันธ์โครงการ

2.ขั้นดำเนินการ

        - จัดกิจกรรมอบรมวิทยากรการจัดการมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด

  • จัดกิจกรรมฝึกปฏิบัติการเป็นวิทยากร ณ สถานที่จริง

3.ขั้นประเมินผล

        - รายงานผลการดำเนินงาน

        - สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการทำงาน

  2. ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และเฝ้าระวังความเสี่ยงจากการทำงาน

  3. ผู้เข้าร่วมอบรมมีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ ส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2563 00:00 น.