กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการประชุมปฏิบัติการ การดูแลขาและเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน ประจำปี 2563
รหัสโครงการ 63-L5248-2-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุ หมู่ที่ 1
วันที่อนุมัติ 20 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มีนาคม 2563 - 15 เมษายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2563
งบประมาณ 29,190.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ดต.อาทิตย์ สุวรรณรัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 5 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวาน เป็นโรค ไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่สำคัญก่อให้เกิดการเสียชีวิตก่อนวัย สูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา และ ทุพลภาพ สถิติ ของกระทรวงสาธารณสุข รายงานว่าระหว่าง ปี พ.ศ. 2555 ถึง พ.ศ. 2558 ความรุนแรงของโรคไม่ติดต่อที่เป็น สาเหตุการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ในช่วง อายุ 30 - 69 ปี จำนวนสี่ โรคสำคัญคือ โรคหลอดเลือดสมอง, โรคหัวใจขาดเลือด, โรคเบาหวาน และโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้องรัง นอกจากนี้ อัตราการตาย จาก โรคเบาหวาน จาก 13.2 ต่อ ประชากร แสนคนก็เพิ่มขึ้น เป็น 17.8 ต่อ ประชากรแสนคน (กระทรวงสาธารณสุข 2560) ปี พ.ศ. 2558 ( คศ. 2015) สำนักระบาดวิทยา รายงาน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เข้ารับบริการในสถานพยาบาลของรัฐ ยกเว้น กรุงเทพมหานคร สรุปดังนี้ ผู้ป่วยสะสม รวม 1,219,161 ราย  ความชุก 1863.69 ต่อประชากร แสนคน รวมผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่ขึ้นทะเบียน อัตราอุบัติการณ์การเกิดโรค (incidence rate) 602.03 ต่อประชากร แสนคน ผู้เสียชีวิต 12,074  อัตราตาย 18.45 ต่อประชากร แสนคน ซึ่งก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายที่รัฐบาลต้องรับผิดชอบสูง  (กระทรวงสาธารณสุข, สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี 2558) ผู้ป่วยโรคเบาหวาน สามารถมีชีวิตยืนยาวได้หากสามารถควบคุมความรุนแรง ของโรค และลดโอกาสของการเกิดผลแทรกซ้อน ด้วยการควบคุมอาหาร และการดูแล สุขภาพ ไม่ปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเป็นเวลานาน เพราะระดับน้ำตาลที่สูง จะมีผลต่อเส้นเลือดที่นำสารอาหารไปอวัยวะในร่างกายก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานต่าง ๆ อันได้แก่ โรคแทรกซ้อนชนิดที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดเล็ก (Microvascular complications) เส้นเลือดขนาดใหญ่ (Macrovascular complications) และเส้นประสาท (ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช 2557)
ผลแทรกซ้อนของโรคเบาหวานที่เกิดบ่อย คือ เกิดบาดแผล ที่เท้า จนนำไปสู่การตัดขา เนื่องจากบาดแผลของผู้ป่วยเบาหวานจะหายช้า มีอาการชา จากการทำลายของเส้นประสาท นอกจากจะมีผลทางกาย ของผู้ป่วย ยังมีผลทางจิตใจ สังคม เศรษฐกิจ และครอบครัว จำนวนผู้ป่วย โรคเบาหวาน ในการรับผิดชอบ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบล (รพ สต) หัวถนน  รพ สต. ควนเสม็ด  ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา  เพิ่มขึ้นทุกปี 133 คน ปี 2558 เป็น 164  ปี 2562 (องค์การบริหารส่วนตำบล ตำบลปริก 2562) ซึ่งอาจเกิดได้จากจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น การตรวจหาผู้เป็นโรคแต่เนิ่นๆ  จำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น มีผลต่อการใช้ ทรัพยากรสุขภาพที่สูงขึ้น  จึงมีความจำเป็น บุคลากรทางการแพทย์ต้องเพิ่มศักยภาพการดุแลตนเอง ของผู้ป่วยและญาติให้เพิ่มมากขึ้นด้วย การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ใช้เวลาหนึ่งวัน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าประชุม มีความรู้เกี่ยวกับ ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน โดยเน้น การเปลี่ยนแปลงของขาและเท้า การสังเกตและทดสอบความผิดปกติ การดูแลเท้าและขา  การจดบันทึก  การรายงานความผิดปกติ และการส่งต่อ เพื่อการดูแลโดยบุคลากรทางการแพทย์เมื่อมีข้อบ่งชี้
ผู้เข้าร่วมประชุมได้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน  ผู้ดูแลผู้ป่วย  อาสาสมัครสาธารณะสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และ ผู้สนใจ รวม 30 คน
ข้อมูลที่มีอยู่บน อินเตอร์เน็ต ของหน่วยงาน ทางสาธารณสุข และ การแพทย์ เช่น ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช และภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู มหาวิทยาลัยมหิดล จะเลือกมาใช้ในการอบรมเพื่อให้ผู้รับการอบรมเพิ่มศักยภาพของการหาข้อมูลที่เชื่อถือได้ในการดูแลตนเอง วิทยากร อย่างน้อย สองท่าน คืออาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ ผู้เชี่ยวชาญการดูแลเท้า นักบาทานามัย (podiatrist) ผ่านการอบรมจากประเทศเยอรมัน มีความรู้และประสบการณ์ ในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน และมีภาวะแทรกซ้อนที่เท้าและขา นานกว่า ๒๐ ปี บรรณานุกรม กระทรวงสาธารณสุข, สำนักโรคไม่ติดต่อ. ข้อมูลโรคไม่ติดต่อ, 2560. Access http://www.thaincd.com/2016/mission/documents.php?tid=32&gid=1-020.
กระทรวงสาธารณสุข, สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี, แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี, 2558. Access www.searo.who.int › thailand › areas › national-ncd-prevention- and-control-plan-2017-2021-tha.pdf. ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช.  คู่มือการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน,  2557. กรุงเทพฯ: มหาวิยาลัยมหิดล
องค์การบริหารส่วนตำบล ตำบลปริก. จำนวนผู้ป่วยเบาหวาน ในบางหมู่บ้าน, 2562. personal communication.

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ (กรอกแบบให้ละเอียด)

ประมาณ เวลาหลังทราบผลการสมัคร ของโครงการ กิจกรรม หนึ่งเดือนหลังทราบผลการสมัคร ทำ Posters เพื่อประชาสัมพันธ์การประชุม ๑ ๑/๒ เดือนหลังทราบผลการสมัคร ประชุม ผู้จัดการประชุมเพื่อตกลงร่วมกันถึงการประชุม
สองเดือนหลังทราบผลการสมัคร จัดทำ pamphlets เพื่อเชิญกลุ่มเป้าหมาย เข้าร่วมประชุม สองเดือนหลังทราบผลการสมัคร จัดซื้ออุปกรณ์ เครื่องใช้ในการประชุม สามเดือนหลังทราบผลการสมัคร จัดการประชุม สามเดือนหลังทราบผลการสมัคร ประเมินผลการประชุม สี่เดือนหลังทราบผลการสมัคร สรุป และเขียนรายงานการประชุม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

• เพื่อให้ผู้เข้าประชุม มีความรู้เกี่ยวกับ ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน โดยเน้น การเปลี่ยนแปลงของขาและเท้า • สามารถ การสังเกตและทดสอบความผิดปกติ การดูแลเท้าและขา
• สามารถดูแลเท้า ที่มีความผิดปกติ เบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง • สามารถ จดบันทึก  และรายงานความผิดปกติ และการส่งต่อ เพื่อการดูแลโดยบุคลากรทางการแพทย์เมื่อมีข้อบ่งชี้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2563 11:49 น.