โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน |
รหัสโครงการ | 63-L4119-3-1 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนิคม |
วันที่อนุมัติ | 8 กรกฎาคม 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 8,700.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางรอกาเยาะ กอตา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลธารโต อำเภอธารโต จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.167,101.187place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 94 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันเด็กไทยประสบปัญหาเรื่องรูปร่างที่ไม่สมส่วน ทั้งผอม เตี้ย อ้วน และสติปัญญาไม่ทัดเทียมกับประเทศเพื่อนบ้านบางประเทศ ซึ่งเกิดจากปัญหาโภชนาการที่ไม่ถูกต้อง รับประทานอาหารไม่ครบถ้วน ไม่กินผักผลไม้ เน้นแตขนมกรุบกรอบหากปล่อยทิ้งไว้เชื่อว่าจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการเรียนของเด็กเอง ดังนั้นระบบการพัฒนาและระบบกลไกเพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัย ต้องการให้เด็กไทยมีโภชนาการที่ดี ด้วยการกินอาหารถูกหลักโภชนาการครบ 5 หมู่ ลดขนมกรุบกรอบ และหันมาออกกำลังกาย
อาหารเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อคนเรา โดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชนที่กำลังอยู่ในช่วงการเจริญเติบโต เพราะมันเป็นตัวช่วยพัฒนาสิ่งต่างๆ ในร่างกายของเด็กได้เป็นอย่างดี แต่ในปัจจุบันหลายครัวเรือนกลับมองข้ามเรื่องแบบนี้ จึงส่งผลให้เด็กไทยส่วนใหญ่ อ้วน เตี้ย ไม่สมส่วน นั้นส่งผลไปถึงการพัฒนาสมองของอนาคตของชาติต่อไปอีกด้วย
ทุกคนอยากมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย ซึ่งการกินอาหารถูกต้องเหมาะสม และพอเพียงจะทำให้โภชนาการดี และนำไปสู่การมีคุณภาพดี ในทางตรงกันข้ามหากกินอาหารไม่มีประโยชน์ ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหาร หรือถ้ากินอาหารมากเกินไปก็จะทำให้เป็นโรคอ้วน หรือโภชนาการเกิน "โภชนาการ" จึงเป็นเรื่องของการกิน "อาหาร" ที่ร่างกายเรานำ "สารอาหาร" จากอาหารไปใช้ประโยชน์และการดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่างๆ ในวงจรชีวิต มนุษย์ทุกเพศ ทุกวัยทั้งเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุโดยเฉพาะในวัยเด็กก่อนวัยเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นัยรากฐานของการพัฒนาการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุด เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการรอบด้าน อาหารและโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กก่อนวัยเรียน ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ได้แก่ ภาวะการณ์เจริญเติบโตไม่สมวัย จากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงดูด้วนนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้องและการประเมินผลการเฝ้าระวังทางโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน (0-6ปี) ในปีการศึกษาก่อนจะพบว่าเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนิคม สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลธารโต มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ 8 คน จากเด็กทั้งหมด 31 คน คิดเป็นร้อยละ 25.8 น้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์ 4 คน คิดเป็นร้อยละ 16.12 และในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล้กบ้านนิคม สังกัดองคืการบริหารส่วนตำบลธารโต ได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง มีการเจริญเติมโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวันเรียนขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเป็นการให้ความรู้ด้านโภชนาการทั้งผู้ปกครอง เด็ก และครูก่อนวัยเรียน ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน ร้อยละ 80 |
0.00 | |
2 | เพื่อส่งเสริมให้เด็กก่อนวัยเรียนมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองที่เจริญเติบโตสมวัย ร้อยละ 80 ของเด็กก่อนวัยเรียนมีพัฒนาการทางร่ายกายและสมองเติบโตสมวัย |
0.00 | |
3 | เพื่อเฝ้าระวังและติดตามพฤติกรรมในกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียนที่เสี่ยงต่อการมีาวะทุพโภชนาการ ร้อยละ 80 ของเด็กก่อนวัยเรียนได้รับการติดตามภาวะเสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ |
0.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียน
- เสนอโครงการต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลธารโต เพื่อพิจารณาอนุมัติ
- ประสานผู้ที่เกี่ยวข้อง
- ดำเนินการตามโครงการ
- จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในเรื่องการส่งเสริมภาวะโภชนาการและการเลี้ยงดูที่ถูกต้อง
- ติดตามชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็ก พร้อมแปลผลโดยใช้การฟแสดงเกณฑ์อ้างอิง การเจริญเติบโตสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน
- ติดตามเด็กก่อนวัยเรียนที่มีปัญหาทุพโภชนาการพร้อมให้ความรู้ด้านโภชนาการแก่ผู้ปกครอง
- สรุป/ประเมินภาวะโภชนาการและรายงานผล
- ผู้ปกครอง ครู มีความรู้ความเข้าใจ้านโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน
- เด็กก่อนวัยเรียนมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเติบโตสมวัย
- เด็กก่อนวัยเรียนที่เสี่ยงต่อการมีทุพโภชนาการ ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2563 14:57 น.