กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน บอกลาโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 60-L3335-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกทราย
วันที่อนุมัติ 20 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 24,270.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุภัทร์แย้มทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอนทราย อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.244,100.321place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 85 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพสังคมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้คนไทยเจ็บป่วยและตายด้วยโรคติดต่อและไม่ติดต่อ ที่มีสาเหตุมาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งมีอัตราป่วยต่อแสนประชากรดังนี้ โรคมะเร็งทุกชนิด ๑๑๙.๑๐ โรคความดันโลหิตสูง ๗๐๘.๗๔ โรคหัวใจและหลอดเลือด ๙๐๑.๓๑ และสำหรับอัตราการตายต่อแสนประชากรมีดังนี้ โรคมะเร็งทุกชนิด ๘๕.๐๔ โรคความดันโลหิตสูง ๓.๖๔ และโรคหัวใจและหลอดเลือด ๕๕.๒๙ (ข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๕๐) ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงร่วมที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ การขาดการออกกำลังกายที่ถูกต้อง การรับประทานอาหารที่มันจัด เค็มจัด หวานจัดรวมทั้งผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอ ความเครียด การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา เป็นต้น และผลการสำรวจของกรมอนามัยในปี ๒๕๕๐ พบว่าคนไทยเพียง ๕ ล้านคนเท่านั้น ที่มีการออกกำลังกายเพียงพอที่จะช่วยป้องกันโรคได้ สำหรับการรับประทานอาหารที่ถูกต้องนั้น จากการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทยอายุมากกว่า ๑๕ ปี โดยการตรวจร่างกายครั้งที่ ๓ ของภาคโภชนาวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลและภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชนคณะแพทย์ศาสตร์ รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โดยเก็บจากประชากรกลุ่มศึกษา ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน ๓๙,๒๙๐ คน พบว่ากลุ่มศึกษามีความถี่เฉลี่ยการบริโภคผักและผลไม้เท่ากับ ๕.๙๗ และ ๔.๕๖ วันต่อสัปดาห์ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าประชากรไทยส่วนใหญ่บริโภคผักและผลไม้ไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มผู้ป่วย โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกระดับ รวมทั้งประชาชนอย่างจริงจัง เพื่อให้ผู้ป่วยได้มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ ๓ - ๕ วันๆ ละอย่างน้อย ๓๐ นาที ร่วมกับการรับประทานผักและผลไม้สด อย่างน้อยครึ่งกิโลกรัมขึ้นไป หรือกินผักครึ่งหนึ่งอย่างอื่นครึ่งหนึ่ง และลด ละ เลิกอาหารมันจัด เค็มจัด และหวานจัด ซึ่งจะช่วยลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้ร้อยละ ๒๐ – ๓๐
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกทราย มุ่งให้ความสำคัญด้าน “การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง” เพื่อช่วยลดอัตราการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถปฏิบัติตนในการดูแลตนเองอย่างถูกต้อง ไม่มีภาวะแทรกซ้อนสามารถ ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างเป็นปกติสุข

ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนลดลง ร้อยละ 60

2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคุมภาวะน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย, และลดระดับความดันโลหิต

ผู้เข้าร่วมโครงการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคุมภาวะน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย, และลดระดับความดันโลหิต ได้ร้อยละ 80

3 เพื่อลดความรุนแรงของโรคและป้องกันมิให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย

ผู้ป่วยใหม่ ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ร้อยละ 90

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. รวบรวมข้อมูลประชากรกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบ 2. เลือกกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 3. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ 4. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ วิทยากร สถานที่ ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ 5. จับคู่บัดดี้ เพื่อจะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน เป็นที่ปรึกษาให้แก่กัน
6. นัดติดตามประเมินความรู้หลังการอบรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงสามารถปฏิบัติตนในการดูแลตนเองอย่างถูกต้อง สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างปกติสุข ๒. กลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้เป็นอย่างดี ๓. ลดอัตราการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2560 15:09 น.