กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมการป้องกันและระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่เกิดจากมูลฝอยแก่ผู้ปฏิบัติงานเก็บขนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
รหัสโครงการ 63-L3013-01-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 5 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 เมษายน 2563 - 10 เมษายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 10 พฤษภาคม 2563
งบประมาณ 22,720.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะรอสดี เงาะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลกอเดร์ การีนา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบานา อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 9 เม.ย. 2563 10 เม.ย. 2563 22,720.00
รวมงบประมาณ 22,720.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

องค์การบริหารส่วนตำบลบานามีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 21,128 คน แยกเป็นชาย 10,408 คนหญิง 10,720 คน มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 8,900 ครัวเรือน มีประชากรแฝง ประมาณ 15,000 คน ส่งผลให้มีปริมาณขยะมูลฝอย ประมาณ 35 ตันต่อวัน องค์การบริหารส่วนตำบลบานา มีภารกิจด้านการรักษาความสะอาด การเก็บขนและรวบรวมขยะมูลฝอย แล้วส่งไปกำจัดยังบ่อฝังกลบขยะมูลฝอยตำบลหนองแรต อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี นอกจากภารกิจด้านการรักษาความสะอาดในพื้นที่แล้วมีภารกิจดูดสิ่งปฏิกูลและสิ่งโสโครก การปฏิบัติงานดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม อันเป็นผลมาจากเชื้อโรคต่างๆ ที่เกิดจากขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และสิ่งโสโครก สามารถแทรกซึมเข้าสู่ร่างกาย เสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ และพนักงานส่วนใหญ่ไม่เห็นความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพ ทำให้เกิดโรคและอาการเจ็บป่วยอยู่เสมอ ส่งผลต่อสุขภาพอนามัยและประสิทธิภาพการทำงาน กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมจึงได้จัดโครงการเพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการทำงาน และตรวจสุขภาพผู้ปฏิบัติ เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันภาวะเสี่ยงจากการปฏิบัติงาน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สามารถป้องกันอันตรายที่เกิดจากมูลฝอยติดเชื้อได้

 

0.00
2 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการทำงาน

 

0.00
3 เพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงและเฝ้าระวังป้องกันโรคสำหรับผู้ปฏิบัติงานเก็บขนขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล สิ่งโสโครก

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 22,720.00 1 22,720.00
9 - 10 เม.ย. 63 อบรมป้องกันและระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่เกิดจาก มูลฝอยแก่ผู้ปฏิบัติงานเก็บขนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล 50 22,720.00 22,720.00
  1. ขั้นเตรียมการ

    • จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ
    • ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    • ประชาสัมพันธ์โครงการ
  2. ขั้นดำเนินการ

    • จัดกิจกรรมอบรมการป้องกันและระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่เกิดจากมูลฝอย
    • กิจกรรมตรวจสุขภาพโดยทีมแพทย์จากโรงพยาบาลปัตตานี
    • พิธีมอบประกาศนียบัตร
  3. ขั้นประเมินผล

    • รายงานผลการดำเนินงาน
    • สรุปผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการทำงาน

  2. ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และเฝ้าระวังความเสี่ยงจากการทำงาน

  3. ผู้เข้าร่วมอบรมมีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ ส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2563 00:00 น.