กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ หมู่ที่ 4 บ้านตะเคียนเภา ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L5248-3-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุ หมู่ที่ 4
วันที่อนุมัติ 20 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2563
งบประมาณ 32,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประเสริฐ ชูเชิด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Ageing Society) ตั้งแต่ ปี 2548 คือ มีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ10 และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2563 โดยมีแนวโน้มผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นจาก 10.3 ล้านคน (ร้อยละ 16.2) ในปี 2558 เป็น 20.5 ล้านคน (ร้อยละ 32.1) ในปี 2583 เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีผลกระทบอย่างกว้างขวาง ทั้งในระดับมหภาค ได้แก่ รายได้ต่อหัวประชากร การลงทุนงบประมาณของรัฐบาล และการคลังผลิตภาพแรงงานและการจ้างงาน ส่วนในระดับจุลภาคได้แก่ ผลต่อตลาดผลิตภัณฑ์และการบริการด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านสุขภาพและด้านการเงิน อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรดังกล่าว ทำให้อัตราส่วนภาระพึ่งพิง หรือภาระโดยรวมที่ประชากรวัยทำงานจะต้องเลี้ยงดูประชากรวัยเด็กและวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยที่ยังมิได้คำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดู ซึ่งสูงขึ้นตามอายุ ขณะที่อัตราส่วนภาระพึ่งพิงของประชากรวัยสูงอายุนั้นเพิ่มขึ้นอาจจะนำไปสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจสังคมรวมถึงปัญหาในด้านสุขภาพของผู้สูงอายุด้วย เนื่องจากผู้สูงอายุเป็นวัยบั้นปลายของชีวิตเป็นวัยที่ต้องพึ่งพาบุตรหลานและพึ่งพาตนเองได้น้อยลง เพราะมีภาวะด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไปมีความเสื่อมของร่างกายและเจ็บป่วยได้ง่าย ปัญหาด้านสุขภาพที่พบได้บ่อย ๆ ในผู้สูงอายุได้แก่ เกิดภาวะกระดูกหักง่าย สายตาไม่ดี หูตึง ฟันไม่ดี เป็นลมบ่อย เรอบ่อย ท้องผูก เบาหวาน หลงลืมบ่อย หัวใจและหลอดเลือด รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและสังคม       การที่จำนวนและสัดส่วนประชากรสูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สืบเนื่องมาจากการพัฒนาด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ ทำให้อัตราการตายลดลง ผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น    แต่ผู้สูงอายุยังคงได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย เกิดภาวะทุพพลภาพในที่สุด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอย่างไม่มีความสุข ดังนั้น ทางอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปริก ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับผู้สูงอายุจึงได้จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ปี 2563 ขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูและส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมและเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างทักษะในการดูแลสุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุด้วยตนเอง

ผู้สูงอายุหมู่ที่ 4 เข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ 100

0.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีปฏิสัมพันธ์ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์

 

0.00
3 เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุติดบ้าน

 

0.00
4 เพื่อตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ

 

0.00
5 5 เพื่อให้การดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุมีความต่อเนื่องและยั่งยืน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 4.1 สมาชิกชมรมผู้สูงายุร่วมกันจัดทำแผนการดำเนินงานโครงการ 4.2 จัดประชุมผู้เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงแผนการดำเนินโครงการ 4.3 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ และขอสนับสนุนงบประมาณ 4.4 ดำเนินกิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุทุกเดือน   4.4.1 ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุทุกเดือน   4.4.2 อบรมให้ความรู้และนันทนาการทุกเดือน   4.4.3 กิจกรรมออกเยี่ยมและช่วยเหลือผู้สูงอายุ 4.5 ดำเนินงานตามแผนจนเสร็จสิ้นโครงการ   4.6 สรุปผลการดำเนินงานโครงการ และรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุและผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีทักษะการดูแลสุขภาพร่างกาย และสามารถนำไปใช้ใน    ชีวิตประจำวันได้ดียิ่งขึ้น 2 ผู้สูงอายุมีความเข้าใจ สามัคคี ปรองดองซึ่งกันและกัน
  2. ผู้สูงอายุติดบ้านมีปฏิสัมพันธ์ มีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่า
  3. ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงไม่ป่วยด้วยโรคหรือได้รับอุบัติเหตุที่เกิดจากการปฏิบัติตนที่ไม่ถูกต้อง
  4. ผู้สูงอายุมีการปรับตัวได้ดี สนใจเข้ากลุ่มร่วมกิจกรรมในชมรมอย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2563 11:25 น.