กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปิ่นโตเพื่อสุขภาพ
รหัสโครงการ 63 – L1500 -3-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลบ้านควน
วันที่อนุมัติ 21 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุปาณี ดำจุติ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.529,99.636place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2563 30 ก.ย. 2563 20,000.00
รวมงบประมาณ 20,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดูแลสุขภาพและป้องกันไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยในทุกช่วงวัยของชีวิต นับตั้งแต่จากครรภ์มารดาจนก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลของคนไทย รวมทั้งลดภาระด้านรักษาพยาบาลลงได้ในระยะยาว คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุด้านสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงหลังจากอายุ 60 ปี เป็นผลรวมของการดำรงชีวิต ที่ถูกต้อง เหมาะสมอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เยาว์วัย ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่ามีหลายปัจจัยที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนเรา ได้แก่ การอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ปราศจากมลพิษทางอากาศ ทางน้ำ การออกกำลังกายเหมาะสมแก่วัย การมีจิตใจแจ่มใส และการได้กินอาหารถูกหลักโภชนาการ แต่ปัจจุบันแบบแผนการกินอาหารได้เปลี่ยนไปเป็นการบริโภคอาหารตามวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งเป็นอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูงมาก จากรายงานการศึกษาวิจัยจำนวนมากได้แสดงถึงผลเสียของการรับประทานอาหารดังกล่าวต่อการเกิดโรคเรื้อรังทางโภชนาการที่สำคัญ คือ โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไขมันในหลอดเลือด ตลอดจนโรคมะเร็งอวัยวะต่างๆ ซึ่งกลุ่มโรคเหล่านี้เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยและตายระดับต้นๆ ของประเทศไทย
      จากการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบ้านควน ซึ่งมีความใกล้ชิดกับผู้สูงอายุในชุมชนเป็นอย่างดี พบว่า กลุ่มผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีรสจัด เช่น หวานจัด มันจัด และเผ็ดจัด เป็นเวลานานๆ ส่งผลทำให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพตามมา ดังนั้นจึงจัดทำโครงการปิ่นโตเพื่อสุขภาพขึ้น เพื่อให้ประชาชนในตำบลบ้านควนได้ตระหนักถึงการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ ปราศจากสารสังเคราะห์ต่างๆ ลดอาหารที่มีรสจัดทุกชนิด ส่งเสริมให้ประชาชนปลูกผักและรับประทานอาหารพื้นบ้าน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้ประชาชนในตำบลบ้านควนได้ตระหนักและหันมาดูแลสุขภาพของตนเองและผู้สูงอายุ

ประชาชนในตำบลบ้านควนสามารถดูแลสุขภาพของตนเองและผู้สูงอายุได้ ร้อยละ 80

0.00
2 2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในตำบลบ้านควนปลูกผักไว้บริโภคในครัวเรือน

ประชาชนในตำบลบ้านควนมีการปลูกผักไว้บริโภคในครัวเรือน ร้อยละ 80

0.00
3 3 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในตำบลบ้านควนรู้ถึงหลักบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ

ประชาชนในตำบลบ้านควนมีความรู้ถึงหลักบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการอย่างถูกต้อง ร้อยละ 80

0.00
4 4 เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนในตำบลบ้านควนหันมาบริโภคอาหารพื้นบ้านที่มีในท้องถิ่น

ประชาชนในตำบลบ้านควนมีการบริโภคอาหารพื้นบ้านที่มีในท้องถิ่นมากขึ้น ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ       1. เสนอโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ       2. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง       3. ประชาสัมพันธ์โครงการ       4. จัดเตรียมสถานที่ วิทยากร และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ขั้นดำเนินการ           1. ลงทะเบียนผู้เข้าโครงการประกวดปิ่นโตเพื่อสุขภาพ           2. มอบคู่มือการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ           3. อบรมให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ           4. ประกวดปิ่นโตเพื่อสุขภาพ
          5. ประกาศผลรางวัลปิ่นโตเพื่อสุขภาพ           6. มอบเกียรติบัตรให้แก่ผู้ชนะการประกวด         7. กิจกรรมนันทนาการผู้สูงอายุ ขั้นสรุปผล       สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในตำบลบ้านควนได้ตระหนักและหันมาดูแลสุขภาพของตนเองและผู้สูงอายุมากขึ้น
  2. ประชาชนในตำบลบ้านควนปลูกผักไว้บริโภคในครัวเรือนมากขึ้น
  3. ประชาชนในตำบลบ้านควนมีความรู้เกี่ยวกับหลักการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ
  4. ประชาชนในตำบลบ้านควนหันมาบริโภคอาหารพื้นบ้านที่มีในท้องถิ่น
  5. ประชาชนในตำบลบ้านควนมีสุขภาพดีเนื่องจากบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2563 13:31 น.