กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและป้องกันโรคไข้เลือดออก ตำบลตาเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63 - L4128 - 1 - 08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกม.18
วันที่อนุมัติ 7 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 30 เมษายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 14,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมัสลิน พลรัตน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกม.18
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตาเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.853,101.099place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 5 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิต และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ตลอดจนสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ถึงแม้ว่าทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกัน และควบคุมโรค และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐ และเอกชนมาโดยตลอดก็ตาม พบว่าปัจจุบันปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก และยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา จากข้อมูลสถานการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออก ตำบาลตาเนาะแมเราะ อำเถอเบตง จังหวัดยะลา ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ,๒๕๕๙ , ๒๕๖๐,๒๕๖๑ และ๒๕๖๒ พบว่ามีผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน ๒๒, ๘, ๖, ๑ และ ๑ รายตามลำดับ คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ ๓๔๐.๔๕, ๒๑.๙๐ และ ๖๕.๗๑ ,๔๗.๔๖ และ ๕๐.๒๕ ต่อแสนประชากร และจากการดำเนินงาน พบว่า ประชาชนมีพฤติกรรมในการ ป้องกัน ควบคุมโรคดังกล่าวไม่ถูกต้อง และขาดความต่อเนื่อง โดยจะเห็นได้ว่าอัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม – ตุลาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียน และชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิษฐานได้ว่าการแพร่เชื้อ และการกระจายโรคจะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญ และถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้น และชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ ปัจจุบันในตำบลตาเนาะแมเราะ พบว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก ยังมีผู้ป่วย ซึ่งจำเป็นต้องทำการควบคุมป้องกัน และรณรงค์เพื่อให้สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกกลับอยู่ในสภาวะที่ไม่รุนแรง และเพื่อเป็นการป้องกันอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านกม.๑๘ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อควบคุม และป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าและทันท่วงทีเมื่อเกิดโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชน และแกนนำชุมชนมีความรู้ ทักษะในการป้องกันควบคุมโรคแก่ตนเอง และกลุ่มบ้านที่รับผิดชอบ

 

0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก

 

0.00
3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถสังเกตอาการโรคไข้เลือดออกได้ถูกต้อง

 

0.00
4 เพื่อควบคุม และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

 

0.00
5 เพื่อส่งเสริมบทบาท ให้ ผู้นำชุมชน และผู้เกี่ยวข้อง สามารถค้นหา เฝ้าระวังโรค ไข้เลือดออกในพื้นที่รับผิดชอบของตนเองได้รวดเร็วทันทีทันใด

 

0.00
6 เพื่อให้ ผู้นำชุมชน และผู้เกี่ยวข้อง มีส่วนในร่วมกิจกรรมควบคุมป้องกันโรค ไข้เลือดออก

 

0.00
7 เพื่อให้ประชาชนตระหนัก และควบคุมป้องกันโรค ในบ้านเรือนของตนเอง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ผู้เกี่ยวข้อง และผู้นำชุมชนร่วมประชุมขออนุมัติเห็นชอบดำเนินโครงการ ๒. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการ ๓. จัดการอบรมการบรรยาย และปฏิบัติในหัวข้อต่างๆเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก ๔. ทางชีวภาพ ส่งเสริมให้ปลูกพืชไล่ยุง เช่น ตะไคร้หอม
๕. กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ทางกายภาพ ในบ้านเรือน โรงเรียน สถานที่ราชการ ๖. สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ในชุมชนลดลง ๒. ผู้นำชุมชน และผู้เกี่ยวข้องสามารถควบคุมและป้องกันโรคไข้ไข้เลือดออกในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๓. ไม่มีอัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2563 14:07 น.