กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก ตำบลตาเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63 - L4128 - 1 - 09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้าน กม.7
วันที่อนุมัติ 7 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 10,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอยู่ดีน หมาดวิล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตาเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.853,101.099place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานสุรา , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ในสตรีไทยมะเร็งที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากที่สุดคือมะเร็งเต้านม มีอุบัติการณ์การเกิดโรค ๒๘.๕ คน ต่อประชากร ๑๐๐,๐๐๐ คน หรือ ๑๒,๖๑๓ คน ต่อปี (Cancer in Thailand Vol.VIII, ๒๐๑๐ – ๒๐๑๒) รองลงมาคือมะเร็งปากมดลูก จากรายงานของสำนักงานวิจัยมะเร็งนานาชาติพบว่า ในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ปีละ ๖,๑๙๒ ราย เสียชีวิต ๓,๑๖๖ ราย หรือประมาณร้อยละ ๕๐ ถ้าคิดคำนวณแล้วจะมีสตรีไทยเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกวันละเกือบ ๙ ราย สถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาพบแพทย์ เมื่อระยะของโรคมะเร็งนั้นได้เข้าสู่ในระยะลุกลามแล้ว การรักษาจึงเป็นไปได้ยาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ก่อให้เกิดปัญหาด้านสังคมและครอบครัวตามมาอย่างมากมาย แต่จะสามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรก ร้อยละ ๓๐ – ๔๐ สามารถป้องกันได้ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยง และหากได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งตั้งแต่ระยะแรก จะสามารถป้องกันและได้รับการรักษาได้ทันท่วงที ดังนั้นถ้าสามารถกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าว พร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค, อัตราการป่วยและอัตราการตายจากโรคมะเร็งลดลง จากข้อมูลดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้าน กม.๗ มีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐ – ๖๐ ปี พบว่ากลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ปี ๒๕๕๘ – ๒๕๖๒ ร้อยละ ๒๘.๓๑ จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่า กลุ่มคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ยังไม่เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจะเป็นกลุ่มที่ยากต่อการติดตามเข้ารับบริการ พร้อมทั้งกลุ่มเป้าหมายและ อสม. ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก ดังนั้นการดำเนินการที่ดีที่สุด คือ การป้องกันไม่ให้เกิดโรค โดยการให้ความรู้การสร้างความตระหนัก ตลอดจนการกระตุ้น ให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ในประชากรกลุ่มเสี่ยง และประชากรทั่วไปอย่างต่อเนื่อง จนนำไปสู่การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก เพื่อลดอัตราป่วย และตาย ด้วยโรคดังกล่าว ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้าน กม.๗ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก ในปีงบประมาณ ๒๕๖๓ ขึ้น เพื่อติดตามการตรวจสุขภาพอย่างต่อเนื่องของผู้รับบริการ โดยเน้นการตรวจ Pap Smear เชิงรุกค้นหาเซลล์มะเร็งได้ในระยะเริ่มแรก รวมถึงตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้น เพื่อการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคด้วยซึ่งจะเป็นแนวทางในการสกัดโรคก่อนลุกลาม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชากรสตรีกลุมเปาหมายไดรับการตรวจคัดกรองมะเร็งเตานมตามมาตรฐาน อย่างมีคุณภาพ

 

0.00
2 เพื่อให้ประชากรสตรีกลุมเปาหมายไดรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามมาตรฐาน อย่างมีคุณภาพ

 

0.00
3 เพื่อค้นหาสตรีที่มีความผิดปกติของเซลล์มะเร็งที่ปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก

 

0.00
4 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างถูกวิธี

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ ๑. ประชุม อสม.และกำหนดกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบ
๒. วิเคราะห์ปัญหาที่พบและจัดทำแผนการดำเนินงาน
๓. เขียนแผน/โครงการ เพื่อเสนออนุมัติ
๔. ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๕. ประชาสัมพันธ์โครงการภายในชุมชน
๖. ดำเนินงานตามโครงการ
กิจกรรมดำเนินการ ๑. จัดทำทะเบียนรายชื่อสตรีกลุ่มเป้าหมาย ๒. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแก่อาสาสมัครสาธารณสุข     - ให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก     - สอนทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง     - ตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap Smear
๓. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ เช่น หอกระจายข่าว ป้ายประชาสัมพันธ์ ๔. อสม. ให้ความรู้/สอนทักษะการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองแก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย ๕. จัดคลินิกให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ๖. แจ้งผลการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแก่ผู้รับบริการ ๗. ติดตามและส่งต่อ กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจคัดกรอง พบมีความผิดปกติเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย และได้รับการรักษาตามมาตรฐานและต่อเนื่อง ๘. ประเมินผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชากรสตรีกลุุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐ – ๗๐ ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมร้อยละ ๘๐ 2.ประชากรสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐ – ๖๐ ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อยละ ๒๐ (สะสม ๕ ปี ปี ๒๕๖๓ – ๒๕๖๗) 3.ผูู้ป่วยมะเร็ง ๕ อันดับแรก ได้รับการรักษาภายในระยะเวลาที่กําหนด ร้อยละ ๘๐ ๑๐.๔. สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างถูกวิธี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2563 14:29 น.